บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 29, 2023
หน้าฝน ดูแลบ้านยังไม่ให้พัง กับ 7 เคล็ดลับดูแลบ้านช่วงหน้าฝน
หน้าฝน อย่างที่ทราบกันว่าช่วงนี้เป็นช่วงที่พายุพัดโหมกระหน่ำเข้าประเทศไทย จนทำให้มีฝนตกหนักเกือบทุกวันจนหลายคนหัวเสียว่าตากผ้าอย่างไรก็ไม่แห้งเสียที และไม่ใช่แค่เพียงเรื่องผ้าเท่านั้นยังรวมถึงไปถึงผลกระทบที่เกิดจากบ้าน อาทิเช่น เรื่องรอยรั่วซึม เฟอร์นิเจอร์ชำรุด และคราบตะไคร่จับจนขัดไม่ออกนำมาสู่ความไม่ปลอดภัยของสมาชิกในบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเราปล่อยไว้แบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ “บ้านพัง” อย่างแน่นอนค่ะ
เพราะกว่าที่เราจะเก็บเงินก้อนเพื่อมาดาวน์บ้านสักหลัง และต้องทนสู้ผ่อนมาอีกไม่ต่ำกว่า 10 ปี เราย่อมต้องการให้บ้านใหม่และดูดีอยู่เสมอ เพื่อเวลาที่เพื่อนมาเที่ยวบ้านจะได้อวดบ้านได้อย่างภาคภูมิใจ แต่เมื่อเข้าหน้าฝนการที่จะดูแลปัดกวาดเช็ดถูเท่านั้น คงไม่เพียงพอ ดังนั้นวันนี้เราจึงมีเคล็ดลับการดูแลซ่อมแซมบ้านไม่ให้โทรมไปก่อนวันอันควรมาฝากกัน
1.สังเกตจุดเสี่ยงที่จะเกิดรอยร้าว
เป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านหลายหลังมักจะมองข้ามพวกรอยแตกร้าวที่อยู่รอบๆบ้าน เพราะคิดว่าเพียงแค่ทาสีทับก็น่าจะทำให้รอยพวกนี้หายไป แต่ความเป็นจริงแล้วการเข้าหน้าฝนในช่วงเวลาแบบนี้ การตรวจดูรอยรั่วซึม แตกร้าวภายในบ้านเป็นสิ่งที่คนมีบ้านทุกคนจะต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหลังคา ฝ้า ผนัง และรอยต่อของวัสดุต่างๆ หากพบปัญหาเหล่านี้ ก็ควรต้องรีบจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเร่งด่วน เพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นปัญหาที่ใหญ่มโหฬารตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
2.หมั่นขยันทำความสะอาดพื้น
ในช่วงหน้าฝนเช่นนี้ควรสำรวจประตูหน้าต่างว่าปิดสนิทเรียบร้อยทุกบานก่อนออกจากบ้านแล้วหรือยัง เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในบ้าน แต่กรณีที่ปิดไม่ทันจนน้ำสาดเข้ามาในบ้านแล้วก็ควรต้องรีบเช็ดน้ำที่เจิ่งนองให้แห้งในทันที รวมไปถึงพื้นที่ด้านนอกบ้านด้วย ยิ่งต้องหมั่นขยันขัด เนื่องจากเศษคราบดินทั้งหลายอาจจะส่งผลต่อพื้นที่บ้านด้านนอกไม่สวยงาม หากยิ่งปล่อยไว้ให้น้ำท่วมขังเป็นเวลานานจนเกิดตะไคร่จับอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทำให้ลื่นล้มได้ง่าย และอีกอย่างยิ่งปล่อยคราบเหล่านั้นไว้นานๆก็จะยิ่งติดแน่น ขัดออกยากมากขึ้น
3.ตัดกิ่งไม้ใหญ่หรือริดใบไม้ที่แห้ง
กรณีที่บ้านใครมีปลูกต้นไม้ต้นใหญ่ๆไว้รอบบ้าน อย่าลืมหาโอกาสตัดกิ่งไม้ออกเสียบ้างเพราะเมื่อเข้าสู่หน้าฝนแล้วลมจะพัดเอาเศษใบไม้ให้ร่วงเกลื่อนกลาดไปทั่วบริเวณบ้าน และที่สำคัญอาจจะมีกิ่งไม้หักโค่นลงมาทำอันตรายต่อคนในบ้านได้อีกด้วย
4.เคลียร์รางน้ำฝนให้สะอาด
อย่างที่กล่าวไว้แล้วว่าในช่วงฤดูฝนลมพายุมักจะหอบเอาใบไม้ กิ่งไม้ มากองรวมกัน ส่งผลให้ไปอุดตันขวางทางระบายน้ำของรางน้ำฝน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาทำให้น้ำไหลย้อนเข้าสู่ตัวบ้าน วิธีป้องกันง่ายๆก็คือต้องพยายามกวาดพวกสิ่งกีดขวางทุกอย่างในรางน้ำฝนออกมาอย่างสม่ำเสมอเท่านั้นเอง
5.ล้างท่อระบายน้ำบ่อยๆ
นอกจากจะเคลียร์รางน้ำฝนแล้ว ท่อระบายน้ำเองก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะทั้งใบไม้ กิ่งไม้ เศษขยะ และสิ่งแปลกปลอมต่างๆมากมายที่จะเป็นปัจจัยทำให้ท่อตันได้ง่ายๆ จึงควรหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมออยู่เป็นประจำ
6.ย้ายเฟอร์นิเจอร์ที่ตั้งอยู่นอกบ้าน
ถึงแม้ว่าเฟอร์นิเจอร์ที่เป็นส่วนเอาท์ดอร์มักจะถูกออกแบบให้ทนน้ำ ทนแดด มากแค่ไหน แต่ถ้าต้องตากแดด ตากฝน ทุกวัน เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ย่อมไม่สามารถต้านทานพร้อมเสื่อมสภาพได้อย่างแน่นอน สำหรับวิธีการป้องกันง่ายๆก็คือ ควรย้ายเฟอร์นิเจอร์เข้ามาหลบอยู่มุมที่มีร่มหรือที่มุมโดนฝนสาดน้อยที่สุด แต่ถ้าหากว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จริงๆก็ควรหาผ้าใบมาคลุมไว้ชั่วคราวก่อนก็ได้
7.ทาสีบ้านให้ใหม่
ถ้าคุณมั่นใจว่าตอนสร้างบ้านมีการเลือกใช้สีทาบ้านที่อยู่ในคุณภาพที่ดีอยู่แล้ว ก็มองข้ามในข้อนี้ไปได้เลย แต่ถ้าบ้านไหนสีทาบ้านไม่มีคุณภาพก็จะเริ่มหลุดร่อนหรือสีซีด ฉะนั้นการทาสีบ้านใหม่อย่างสม่ำเสมอด้วยสีรุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติในการป้องกันผนังบ้านไม่ให้เก่าเร็ว หรือบ้านอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างเก่าแล้วยิ่งสมควรทาสีใหม่เพื่อป้องกันเชื้อราที่มีต้นเหตุมาจากความชื้น โดยเฉพาะส่วนที่ทำจากไม้ยิ่งเป็นส่วนที่ต้องเอาใจใส่ดูแลเป็นพิเศษอีกด้วย
ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าบ้านจะโทรมหรือพังเร็วขึ้นอยู่กับตัวเจ้าของบ้านเองว่าจะดูแลรักษาบ้านอย่างไร ลองสังเกตง่ายๆว่าบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน เริ่มต้นก่อสร้างและเสร็จพร้อมๆกัน แต่พอระยะเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งจะเห็นความแตกต่างของบ้านทั้ง 2 หลังได้อย่างชัดเจน บ้านหลังหนึ่งอาจจะดูใหม่อยู่เสมอย่อมแสดงถึงการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดีของเจ้าของบ้าน แต่บ้านอีกหลังสภาพค่อนข้างเสื่อมโทรม สีหลุดร่อน ก็แสดงออกถึงความไม่เอาใจใส่เท่าที่ควรจึงตีความหมายได้ว่าบ้านจะใหม่หรือเก่าก็ขึ้นอยู่กับความเอาใจใส่เจ้าของบ้านเพียงอย่างเดียวค่ะ
เทคนิคการตรวจเช็ค และการซ่อมหลังคา
การซ่อมหลังคาเป็นเรื่องที่น่าหวังว่าจะเริ่มต้นจากไหนดี เพราะหลังคาเป็นส่วนสำคัญที่สุดของบ้านที่ช่วยปกป้องพื้นที่ภายในจากสภาพอากาศภายนอก และเป็นส่วนที่สำคัญของความงามของบ้าน แต่หลังคาที่ใช้งานมานานกว่า 10 ปีจะเสื่อมสภาพและมีปัญหาจากการก่อสร้างไม่คุณภาพ การใช้วัสดุที่ไม่มีมาตรฐานบนหลังคาบ้านอาจส่งผลให้เกิดปัญหารั่วซึมได้ง่ายขึ้น แนะนำให้เจ้าของบ้านตรวจสอบหลังคาบ้านอย่างสม่ำเสมอ และรีบดำเนินการซ่อมแซมทันทีเมื่อพบปัญหา เพราะหากปล่อยไว้จะทำให้ปัญหาเพิ่มขึ้นและยากต่อการซ่อมแซม โดยขั้นตอนการตรวจเช็คหลังคาบ้าน รายการซ่อมแซมเบื้องต้นจะสามารถทำได้ดังนี้
1. หาสาเหตุของหลังคารั่ว
การแตกร้าวของกระเบื้องหลังคาเกิดจากการชนของวัตถุบางอย่าง เช่น ลูกเห็บหรือกิ่งไม้ ทำให้กระเบื้องมีรอยแตกและเกิดรู อาจทำให้น้ำฝนเข้ามาซึมผ่านกระเบื้องแตก นอกจากนี้ยังมีเศษฝุ่นผงจากภายนอกลอยเข้ามาสู่ตัวบ้านปูนที่ใช้สำหรับยึดครอบกระเบื้อง สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ อุปกรณ์บนหลังคาเสื่อมสภาพหรือโดนสัตว์กัดทำลาย การติดตั้งไม่ถูกวิธี และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ไม่ได้มาตรฐาน ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาในระยะยาว
2. ตรวจสอบสภาพความเสียหายของหลังคาที่รั่ว
การรั่วซึมของหลังคาอาจทำให้เกิดคราบสีน้ำตาลบนฝ้าและเสียงเมื่อน้ำไหลหรือหยดกระทบฝ้า ถ้าไม่ดำเนินการซ่อมแซมทันทีอาจทำให้ฝ้าพวกนี้บวมและทะลุลงมาได้ เนื่องจากฝ้ามักจะทำมาจากแผ่นยิปซั่มที่ไม่ทนกับน้ำเท่าที่ควรและ เมื่อมีน้ำรั่วซึมในบ้าน ควรจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญมาตรวจและซ่อมแซมหลังคา โดยอาจจะเปลี่ยนวัสดุอุปกรณ์ที่ชำรุดเสียหายและทาสีปิดทับบริเวณคราบน้ำได้เพื่อป้องกันความเสียหายของทรัพย์สินในบ้าน
วิธีป้องกัน และวิธีแก้ไขปัญหาหลังคารั่วซึม
การป้องกันหลังคารั่วซึมสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การติดตั้งหลังคาและการเลือกใช้วัสดุที่ทนต่ออากาศชื้น เพื่อป้องกันปัญหาน้ำรั่วซึมจากหลังคาที่ติดตั้งไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาดในบางจุด การซ่อมแซมและติดตั้งต้องทำให้ถูกวิธีเพื่อป้องกันการลดประสิทธิภาพของวัสดุ วัสดุที่ใช้ต้องเหมาะกับการใช้งาน เช่น วัสดุมุงหลังคาบางชนิดเหมาะกับหลังคาที่มีความลาดชันน้อย หรือบางชนิดก็เหมาะกับหลังคาที่มีความชันมาก การติดตั้งหลังคาเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึมต้องติดตั้งแบบถูกวิธี และใช้วัสดุที่เหมาะสมกับช่วงหน้าฝน นอกจากนี้ก็จะมีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเลือกใช้วัสดุ รวมถึงการติดตั้งโครงสร้างหลังคาตั้งแต่เริ่มต้น
การติดตั้งหลังคาที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักที่จะนำมาสู่หายนะของหลังคา ควรตรวจสอบและระวังให้ดีเมื่อติดตั้ง ไม่ควรละเลยการติดตั้งเด็ดขาดหรือใช้ช่างที่ไม่มีคุณภาพ สำหรับการติดตั้งหลังคาโดยไม่คำนึงถึงชนิดและความลาดชันของหลังคาเป็นสาเหตุที่ทำให้หลังคารั่วได้ ความลาดชันแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือความลาดชันน้อย, ความลาดชันปานกลาง, และความลาดชันมาก แต่ละประเภทจะเหมาะกับชนิดของหลังคาที่ต่างกัน การตรวจสอบโครงสร้างหลังคาควรทำตั้งแต่การติดตั้งหรือสร้างบ้าน เพื่อป้องกันปัญหา หากมีปัญหาก็ควรแจ้งเจ้าของโครงการหรือเปลี่ยนวัสดุหลังคาใหม่ แต่ต้องพิจารณาความเหมาะสมด้วย
ช่วงนี้เป็นช่วงฝนตกหนักเข้าประเทศไทย มีผลกระทบต่อบ้านและสมาชิกในบ้าน เช่น รอยรั่วซึม เฟอร์นิเจอร์ชำรุด และคราบตะไคร่จับจนขัดไม่ออก จึงต้องดูแลรักษาบ้านให้ปลอดภัย โดยเฉพาะบ้านที่มีพายุเข้า สิ่งที่ควรตรวจสอบก่อนจะเริ่มเข้าหน้าฝนนั่นคือเรื่องของหลังคา ไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คสภาพกระเบื้องหลังคา หรือในกรณีที่เป็นกระเบื้องยางก็สามารถตรวจสอบรอยฉีกขาด ชิ้นกระเบื้องที่มีความเสียหายซึ่งอาจจะเกิดจากความร้อน ปัจจัยหลักของปัญหาน้ำรั่วซึมนั้นส่วนมากจะมาจากการวางโครงสร้างหลังคาที่ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดระหว่างการติดตั้งโครงสร้างหลังคา รวมถึงการเลือกใช้วัสดุที่ไม่ตรงกับสภาพแวดล้อมโดยรวมของบ้าน โดยสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาเรื้อรังอย่างน้ำรั่วซึม และส่งผลเสียหายไปจนถึงฝ้าเพดาน และผนังบ้านได้นั่นเอง
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon