บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 26, 2023
รางน้ำฝน พื้นดาดฟ้า และระเบียง อุดตันทำยังไงดี ไม่ต้องห่วงเรามีวิธีแก้!
รางน้ำฝน พื้นดาดฟ้า และระเบียง เมื่อระยะเวลาผ่านไปสักพักหนึ่งจากที่เคยใช้งานได้ดี ก็จะเริ่มไม่สามารถระบายน้ำได้ดีเหมือนก่อน ซึ่งอาจเกิดปัญหาจากการอุดตัน “ ปากท่อระบายน้ำ” ทำให้รั่วซึมและส่งผลกระทบกับส่วนอื่นๆของบ้านตามมาอีกมากมาย
1.รางน้ำฝน
เริ่มจากกรณีของรางน้ำฝน สาเหตุหลักมักมาจากเศษผง ใบไม้แห้ง รวมถึงรังนก ที่ร่วงลงมาถูกสะสมในรางมาแล้วสักระยะหนึ่ง และสะสมจนมีปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดการอุดตันได้ (โดยสังเกตจาก เมื่อเวลาที่มีฝนตกแล้วน้ำไหลล้นออกมานอกรางน้ำฝน จนอาจถึงขั้นไหลย้อนกลับเข้าไปในฝ้าเพดานและรั่วซึมเข้าสู่ในบ้านได้ในที่สุด)
วิธีการแก้ไข
ด้วยการขจัดเศษสิ่งสกปรกและเศษใบไม้ที่ฝังอยู่บริเวณปากท่อระบายน้ำออก รวมทั้งลองสำรวจตรวจสอบดูว่ามีการอุดตันในท่อ ข้องอ หรือปลายท่อด้วยหรือไม่ หากพบว่ามีการอุดตันในท่อแนะนำว่าควรหาช่างมาแก้ไขให้เรียบร้อย (เช่นการใช้งูเหล็กทะลวง) เมื่อทำความสะอาดรางน้ำฝนเรียบร้อยก็มาถึงการป้องกันเศษสิ่งสกปรก เศษใบไม้ หรือรังนกไม่ให้ตกลงไปได้ด้วยการติดตั้งตะแกรงครอบบนรางน้ำฝน รวมทั้งปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ห่างจากตัวบ้านและคอยตัดแต่งกิ่งไม้ที่ยื่นไปใกล้กับผืนหลังคาช่วงที่ติดกับรางน้ำฝน เพราะอย่างที่ทราบว่าสาเหตุหลักของการอุดตันก็คือเศษใบไม้ที่ร่วงลงมาจากต้นไม้ใหญ่ ถ้าเราปลูกต้นไม้ห่างจากตัวบ้านได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยลดปัญหาได้มากขึ้น อีกทั้งยังปลอดภัยหากกรณีที่เกิดพายุลมแรงต้นไม้อาจหักโค่นลงมาทับตัวบ้านได้ ฉะนั้นจึงเท่ากับว่าเราได้ประโยชน์ 2 ต่อด้วยกันเลยคะ
2.พื้นดาดฟ้า และระเบียง
ส่วนพื้นดาดฟ้าหรือพื้นระเบียงระบายน้ำไม่ทันมีน้ำท่วมขัง เกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกันอาทิเช่น การสะสมตัวของเศษสิ่งสกปรก เศษผง หรือเศษใบไม้แห้งที่ก่อให้เกิดการอุดตัน และ พื้นหลังคาคอนกรีตเป็นแอ่งน้ำขัง เกิดจากสาเหตุก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ผสมคอนกรีตผิดสัดส่วน หรือปรับพื้นไม่ได้ระดับหากปล่อยทิ้งเอาไว้แน่นอนว่าอาจส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้เช่นกัน
วิธีการแก้ไข
ถ้าเกิดจากกรณีแรกสามารถใช้วิธีแก้ไขและซ่อมแซมบ้านด้วยการขจัดสิ่งสกปรกออกจากพื้นและท่อระบายน้ำออกให้หมด (วิธีเดียวกับกรณีรางน้ำฝน) หรือการเลือกใช้ตะแกรงหรือฝาครอบท่อระบายน้ำที่ไม่เหมาะสม มีขนาดของรูระบายที่กว้างมากเกินไปจนทำให้พวกเศษใบไม้ เศษผงร่วงลงไปสู่ท่อระบายน้ำได้ ดังนั้นสามารถแก้ได้ด้วยการเปลี่ยนมาใช้เป็น Roof Drain (ฝาครอบท่อชนิดหัวกะโหลก) ทดแทนการใช้ Floor Drain แบบปกติที่มีโอกาสจะเกิดการอุดตันได้ง่ายกว่า เนื่องจาก Roof Drain ถูกออกแบบมาเฉพาะใช้สำหรับระบายน้ำบนพื้นดาดฟ้าและพื้นระเบียง โดยมีลักษณะเป็นถ้วยตะแกรงทรงคว่ำที่ช่วยกรองป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกต่างๆเช่นเศษไม้ รังนก ตกลงไปในท่อระบายน้ำที่จะทำให้เกิดการอุดตันได้ ส่วนขนาดที่ควรเลือกใช้จะเป็นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 หรือ 3 นิ้ว (แต่ทั้งนี้ควรเลือกให้มีความสัมพันธ์กับขนาดท่อระบายน้ำ) แล้วติดตั้งท่อน้ำทิ้งอย่างน้อย 1 จุด ต่อพื้นที่ 30-40 ตารางเมตร นอกจากนั้นยังควรป้องกันด้วยการการปัดฝุ่นผงเศษใบไม้ทิ้งเสียบ้าง เพราะการปล่อยให้หมักหมมนอกจากจะทำให้เกิดปัญหาอุดตันแล้ว สิ่งที่ตามมาอีกอย่างก็คือใบไม้ที่มีการทับถมกันนานๆจะเกิดการเน่าเสีย สะสมจนส่งกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และเชื้อโรคได้ด้วย ดังนั้นหมั่นทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถระบายน้ำได้ดีเหมือนเดิม
แต่หากเป็นกรณีที่เกิดจากพื้นหลังคาคอนกรีตเป็นแอ่งน้ำขัง จากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน แก้ไขได้ด้วยการปรับระดับพื้นดาดฟ้าใหม่เพื่อให้น้ำสามารถระบายสู่ท่อน้ำทิ้งได้ พร้อมกับการทำระบบกันซึมตามความเหมาะสม ทั้งนี้หากมีแอ่งเล็กๆเพียงไม่กี่จุด สามารถเลือกแก้ไขเฉพาะจุดแทนการเทปรับระดับปูนทั้งผืนก็ได้ ซึ่งในกรณีนี้หากปล่อยให้พื้นดาดฟ้ามีน้ำขังไว้เป็นเวลานานๆ หากมีการแตกร้าวเกิดขึ้นน้ำจะรั่วซึมผ่านมาภายในบ้านได้ และคอนกรีตจะเริ่มอุ้มน้ำไว้จนทำให้เหล็กที่เสริมในพื้นขึ้นสนิมและดันคอนกรีตท้องพื้นจนแตกกระเทาะได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อโครงสร้างพื้นดาดฟ้า และความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยได้ ส่วนสาเหตุของปัญหาการรั่วซึมของดาดฟ้าทำให้เกิดรอยร้าว บางส่วนอาจจะมาจากสภาพอากาศที่ต้องเผชิญทั้งแดดและฝนเป็นระยะเวลานานๆ หรือรอยร้าวที่มาจากรอยต่อโครงสร้าง หรือระบบกันซึมเริ่มเสื่อมสภาพ ตลอดจนระยะของ Covering ของผิวคอนกรีตกับเหล็กเริมน้อยเกินไปตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อสร้าง
บางคนคิดว่าการระบายน้ำอาจจะเป็นแค่ส่วนประกอบเล็กๆที่ดูเหมือนไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริงแล้วมีความสำคัญมาก เพราะเรื่องเล็กๆเหล่านี้ มักจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ๆที่เจ้าของบ้านเองจะต้องมานั่งปวดหัว แก้ปัญหากันอยู่ตลอด ฉะนั้นเจ้าของบ้านจึงควรให้ความสนใจออกแบบมาเป็นอย่างดี เริ่มตั้งแต่การเลือกขนาดตำแหน่ง จำนวน รวมทั้งแต่ละประเภทของอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ และหมั่นทำความสะอาดตรวจสอบอยู่เสมอเป็นประจำ รับรองได้ว่าบ้านของคุณจะหมดปัญหาน้ำท่วมขังทั้งรางน้ำฝน พื้นระเบียง และดาดฟ้าแล้วล่ะคะ
วิธีการซ่อมและติดตั้งรางน้ำฝน
ในปัจจุบันปัญหาที่เกิดขึ้นกับรางน้ำฝนในช่วงหน้าฝนงั้นมีให้เห็นอยู่หลายปัญหา ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของน้ำไม่ระบาย ซึ่งเกิดจากนิติของกระดูกตัน โดยวิธีป้องกันปัญหาเหล่านี้จะมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน โดยจะเริ่มตั้งแต่ วิธีติดตั้งรางน้ำฝนเป็นตัวช่วยที่ดีของบ้านในช่วงฤดูฝน เพราะช่วยรวบรวมและระบายน้ำฝนจากผืนหลังคาให้ไหลไปยังจุดที่ต้องการปล่อยน้ำฝนทิ้ง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้ผนังบ้าน หน้าต่าง และประตูเกิดคราบสกปรกจากน้ำฝนได้อีกด้วย แต่ข้อเสียคือวัสดุที่นำมาติดตั้งอาจทำให้บ้านดูไม่สวยงาม ดูเทอะทะ บดบังทัศนียภาพของหลังคา ดังนั้นวันนี้เราจะมีเทคนิคการซ่อนรางน้ำฝนแบบเนียนๆ โดยเราจะมาแนะนำเคล็ดลับในการติดตั้งรางน้ำฝนให้ดูแลได้ง่าย และไม่อุดตัน โดยจะมีอยู่หลายวิธีด้วยกันดังนี้
1. ติดตั้งรางน้ำฝนไว้หลังเชิงชายของหลังคา
เชิงชายคือชิ้นไม้หรือเหล็กที่ใช้ปิดทับส่วนปลายของโครงหลังคา โดยช่างจะใช้รางน้ำมายึดติดเข้ากับเชิงชาย แต่ถ้าหากเจ้าของบ้านไม่ต้องการให้เห็นรางน้ำฝน ก็สามารถกลับเอารางน้ำฝนไปไว้หลังเชิงชายแทนได้ วิธีการนี้มักใช้กับหลังคาที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก หรือมีความชันที่ไม่สูงมาก เช่น หลังคาของโรงจอดรถ
2. ซ่อนรางน้ำฝนไว้บริเวณหลัง Parapet ของหลังคา
การก่อ Parapet เป็นการก่อกำแพงเตี้ยๆบนหลังคาเพื่อบังไม่ให้เห็นหลังคา โดยมีรางน้ำฝนเพื่อช่วยรองรับน้ำจากหลังคา และสามารถซ่อนรางน้ำฝนได้เพื่อไม่ให้ยื่นหลังคาเป็นชายคาออกมาจากแนวผนังของอาคาร ส่วนใหญ่บ้านสไตล์โมเดิร์นและบ้านแนวลอฟท์จะใช้สไตล์นี้
3. ซ่อนรางน้ำฝนไว้บริเวณผืนหลังคา
การซ่อนรางน้ำฝนไว้ระหว่างผืนหลังคาเป็นวิธีสุดท้ายในการจัดการระบบรางน้ำฝน โดยการทำรางน้ำฝนไว้ในแนวของผนังหรือเสาของอาคาร จะช่วยให้รางน้ำฝนสามารถรับน้ำจากผืนหลังคาได้เป็นอย่างดี แต่อาจมีน้ำฝนเล็กน้อยที่จะไหลลงชายคาและไม่ส่งผลต่อพื้นที่สวนด้านล่างหรือส่วนอื่นของบ้าน
เทคนิคดูแลบ้านในช่วงฤดูฝน
สำหรับในบางพื้นที่ หรือว่ามีช่วงฤดูฝนตกหนักเกือบทุกวัน ทำให้เกิดความเสียหายต่างๆ ในบ้าน เช่น รอยรั่วซึม ชำรุดเฟอร์นิเจอร์ และคราบตะไคร่จับจนขัดไม่ออก ทำให้สมาชิกในบ้านไม่ปลอดภัย จึงต้องดูแลรักษาบ้านให้ดีเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอย่างมากขึ้น เพื่อให้บ้านใหม่ของเราดูดีตลอดเวลาและไม่โทรม จึงต้องดูแลปัดกวาดเช็ดถูอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นเราจึงมีวิธีดูแลบ้านช่วงหน้าฝนไม่ให้โทรม รวมถึงยังเป็นเคล็ดลับที่ช่วยป้องกันวัสดุทั้งภายนอกและภายในของตัวบ้านเพื่อไม่ให้เจอปัญหาภายหลังหลังจากที่ผ่านฤดูฝน โดยจะมีเคล็ดลับดังนี้
- คอยสังเกตจุดที่มีรอยร้าวรอบตัวบ้าน : การตรวจดูรอยรั่วซึมและแตกร้าวภายในบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญต้องให้ความสำคัญ เพราะถ้าปล่อยไว้จะเป็นปัญหาใหญ่ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรรีบจ้างช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเร่งด่วน
- ควรตัดกิ่งไม้ใหญ่ เคลียร์ใบไม้ที่แห้งออก : เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ควรตัดกิ่งไม้ต้นใหญ่ๆรอบบ้านเพื่อป้องกันไม้หักโค่นลงมาทำอันตรายต่อคนในบ้าน และเพื่อป้องกันให้เศษใบไม้ไม่กระจายไปทั่วบริเวณบ้าน
- ทำความสะอาดรังดองน้ำฝนให้เรียบร้อย : ในช่วงฤดูฝนลมพายุ การเก็บกวาดใบไม้ กิ่งไม้ และสิ่งของอื่นๆ ในรางน้ำฝนเป็นวิธีป้องกันที่ง่ายและมีประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำไหลย้อนเข้าสู่บ้าน
สำหรับการเตรียมตัวให้พร้อมต้อนรับและผลสิ่งสำคัญที่สุดและควรดูแลเป็นอันดับแรกนั่นคือเรื่องของรางรองน้ำฝน รวมถึงควรตรวจเช็คสภาพของหลังคาให้เรียบร้อยไม่ว่าจะเป็นคานกระเบื้องหรือหลังคาแบบหนา หากพบรอยร้าวหรือมีส่วนไหนในตัวบ้านชำรุดควรจะทำการตรวจสอบและแก้ไขในทันทีเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของน้ำรั่วน้ำซึมอย่างเกิดขึ้นกลับตัวบ้าน นอกจากนี้การเคลียร์สภาพแวดล้อมรอบๆของบ้านขึ้นรถเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกันในกรณีที่มีต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณบ้านจะมีการตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องของกิ่งไม้ที่แห้งหรือมีแววว่าถูกซึ่งอาจเกิดเหตุฉุกเฉินเช่นกิ่งไม้ร่วงใส่หลังคาหรือใบไม้อาจจะปลิวสู่หลังคาซึ่งทำให้เกิดปัญหารางน้ำฝนอุดตันได้
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon