บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ December 20, 2023

น้ำท่วมบ้าน ซ่อมยังไงดี กับ 8 เทคนิคการดูแลบ้านหลังน้ำท่วม

น้ำท่วมบ้าน มักจะมาพร้อมกับฤดูฝน ตกทีไรโดยเฉพาะช่วงปีไหนที่มีพายุลูกใหญ่ๆเข้าในหลายพื้นที่มักต้องพบกับอุทกภัยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็ตั้งรับไม่ทันทำได้ดีที่สุดก็คือต้องพยายามแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าไป บางบ้านอาจจะเจอแค่น้ำท่วมเล็กน้อย แต่บางบ้านก็โชคร้ายน้ำท่วมเข้าถึงในตัวบ้านทำลายข้าวของเสียหายจนเกือบหมด ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากที่น้ำลดลงไปแล้วต่างหากเป็นเรื่องที่ควรกังวล ดังนั้นเราจึงควรรู้เทคนิคการซ่อมแซมและดูแลบ้านหลังน้ำท่วมไว้บ้าง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจริงๆเราจะได้แก้ไขได้ถูกคะ


1.ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้าน

ตรวจเช็คระบบไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้าน

อันดับแรกที่ต้องให้ความสำคัญก่อนอย่างอื่น และเป็นส่วนที่สำคัญถึงแก่ชีวิตเลยก็ว่าได้ นั่นก็คือการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าที่อยู่ภายในบ้าน ดังนั้นก่อนที่จะเข้าไปทำอะไรในบ้านควรที่จะปิดคัทเอาท์ลงเสียก่อน เพราะต้องตัดระบบไฟฟ้าทั้งบ้านเพื่อที่จะไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกไฟดูด เพราะมีความเป็นไปได้ว่าการที่ปลั๊กไฟถูกแช่น้ำเป็นเวลานานๆ อาจจะเกิดไฟรั่วขึ้นได้ และหากไม่มีความชำนาญเพียงพอแนะนำว่าการเรียกช่างไฟมาตรวจเช็คให้ดีที่สุดเพราะช่างจะมีประสบการณ์และรู้วิธีที่จะป้องกันได้เป็นอย่างดี


2.อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรตั้งทิ้งไว้

อุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรตั้งทิ้งไว้

อุปกรณ์จำพวกไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ควรตั้งทิ้งไว้จนกว่าจะแห้งสนิท พึ่งลมไว้สักพักก่อนที่จะทดสอบเพราะบางครั้งมันอาจจะยังไม่ถึงขั้นเสียก็ได้ ถึงแม้อุปกรณ์เหล่านี้จะโดนน้ำ แต่ในช่วงขณะโดนน้ำไม่มีกระแสไฟเข้าไปภายในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไฟก็ยังไม่เกิดการลัดวงจรก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้อีกครั้งแต่ถ้าไม่มั่นใจก็อย่าเพิ่งนำมาใช้จะดีกว่า


3.นำเฟอร์นิเจอร์ที่แช่น้ำนำมาเช็ดทำความสะอาดแล้วนำไปตากแดด

นำเฟอร์นิเจอร์ที่แช่น้ำนำมาเช็ดทำความสะอาดแล้วนำไปตากแดด

ขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ที่แช่น้ำนำมาเช็ดทำความสะอาดแล้วนำไปตากแดด พึ่งลมไว้ เพื่อไล่พวกความชื้นออกไปให้ได้มากที่สุด และแน่นอนอยู่แล้วว่าเฟอร์นิเจอร์บางอย่างเมื่อเจอกับความชื้นเป็นระยะเวลานานๆ อาจขึ้นเชื้อราตามมาทีหลังก็ต้องคอยดูแลทำความสะอาดกำจัดเชื้อราพวกนี้ อย่างที่ทราบว่าเชื้อราจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ แต่กรณีที่เป็นเฟอร์นิเจอร์ประเภทที่เป็นฟองน้ำ นุ่น หรือใยมะพร้าว ถ้ามีโอกาสแนะนำว่าเปลี่ยนใหม่ดีกว่า เพราะเฟอร์นิเจอร์พวกนี้มักจะเป็นตัวเพาะเชื้อโรคได้อีกด้วย


4.จัดการกับประตูไม้บวมน้ำ

จัดการกับประตูไม้บวมน้ำ

ปัญหาที่พบเจอหลังน้ำท่วมบ่อยๆอีกอย่างคือ บานประตูเอียง สาเหตุจากการโดนแช่น้ำมาเป็นเวลานานเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าน้ำหนักของประตูมันย่อมจะเกิดความไม่สมดุลกัน เนื่องจากน้ำจะท่วมขังที่เฉพาะเพียงระดับช่วงล่างของประตูเท่านั้น ส่งผลให้ช่วงล่างจะบวมน้ำมากกว่าส่วนอื่น ยกเว้นกรณีที่บางบ้านจมมิดทั้งหลัง ซึ่งถ้าหากประตูบ้านเพียงแค่เอียงไม่ได้บวมน้ำจนใช้การไม่ได้ แนะนำว่าให้หาอุปกรณ์มาช่วยค้ำยันรับแรงน้ำหนักไว้ รอจนกว่าความชื้นจะระเหยออกจนหมด ก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม


5.เปลี่ยนฝ้าเพดาน

น้ำท่วมบ้าน

ฝ้าเพดาน บางบ้านอาจจะตกแต่งบ้านให้สวยงามด้วยการใช้ฝ้าเพดานที่เป็นแผ่นปูนพลาสเตอร์เพื่อจะได้ปกปิดเพดานปูนที่ดูแล้วไม่สวย แต่หากว่าโดนน้ำแล้ว รับรองว่าเละ! อย่างแน่นอน เพราะมันจะเกิดการพุพอง บวม ในที่สุดก็จะร่วงหลงลงมาอย่างแน่นอน สาเหตุมาจากการที่แผ่นปูนพลาสเตอร์มีการอมน้ำไว้เป็นเวลานาน ก็ควรที่จะรื้อออกแล้วเปลี่ยนใหม่ให้หมด ดีกว่าปล่อยให้มันร่วงตกลงมาทำอันตรายกับคนในบ้าน และอาจจะเป็นแหล่งซ่องสุมเชื้อโรคด้วยเช่นกัน


6.ตรวจเช็คระบบทางเดินท่อ

ตรวจเช็คระบบทางเดินท่อ

ระบบทางเดินท่อ ก่อนที่จะเข้าอยู่อาศัยต้องตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อนอาจมีรอยแตกและรอยรั่วซึม แต่ถ้าหากว่าเมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วไม่พบจุดรอยรั่วอย่างชัดเจน ในเดือนแรกให้สังเกตจากค่าน้ำสิ้นเดือนก็ได้ ย่อมเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงว่าค่าน้ำมีปริมาณการใช้ที่เพิ่มมากขึ้นหรือเปล่า แต่อย่าลืมว่าต้องบวกค่าน้ำเผื่อไว้ด้วยในเดือนที่เกิดน้ำท่วม เพราะต้องใช้น้ำในปริมาณมากในการทำความสะอาด รวมทั้งแรงดันน้ำที่มาจากท่อจะส่งผลทำให้ชักโครกดันน้ำดีขึ้นมาเป็นเหตุของค่าน้ำที่เพิ่มขึ้นด้วย


7.เช็ดทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆที่มีเหล็ก

เช็ดทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆที่มีเหล็ก

รูกุญแจ บานพับ และชิ้นส่วนต่างๆที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบด้วยการเช็ดทำความสะอาด แล้วเช็ดให้แห้งสนิทอีกทีหนึ่ง เมื่อเช็ดเสร็จเรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นควรทาน้ำยาหล่อลื่น หรือทาสีใหม่เพื่อป้องกันการเกิดสนิมที่เกิดจากความชื้นเกาะอีกครั้ง แต่ถ้าพบว่าสนิมยังคงเกาะอยู่ก็ควรเปลี่ยนบานพับ หรือรูกุญแจใหม่เสียดีกว่า


8.จัดการกับสิ่งของภายในบ้าน

จัดการกับสิ่งของภายในบ้าน

นอกจากเรื่องบ้านที่เราต้องดูแลหลังจากที่น้ำท่วมแล้ว ส่วนอื่นๆที่สำคัญก็ต้องดูแลด้วยเช่น เอกสารสำคัญต่างๆหากว่าแช่น้ำเป็นเวลานานแน่นอนอยู่แล้วว่าจะเกิดการเปียกพองมาก แนะนำว่าควรปล่อยทิ้งไว้เฉยๆก่อน อย่าเพิ่งไปแตะต้องเพราะอาจทำให้เปื่อยยุ่ยได้ เมื่อเริ่มแห้งแล้วจึงค่อยแยกเอกสารออกจากกัน แต่ถ้าเอกสารเกาะติดกันแน่น ให้นำไปแช่น้ำหมาดๆอีกครั้งเพื่อให้มันคลายออกจากกันเสียก่อน แล้วค่อยๆดึงออกมาอย่างระมัดระวัง


เชื่อว่าหากใครกำลังประสบกับอุทกภัยเช่นนี้อาจจะทำใจลำบากและต้องปวดหัวกับการที่ต้องมานั่งแก้ไขปัญหา แต่ถ้าคุณมีการวางแผนที่ดี และพยายามแก้ไขบำรุงรักษาไปทีละส่วน มั่นใจได้เลยว่าคุณจะได้บ้านที่สุดสวยกลับมาอย่างแน่นอนคะ


เทคนิคการซ่อมบ้าน และการตรวจเช็คสภาพบ้านด้วยตัวเอง

การดูแลบ้านเปรียบเสมือนการดูแลรักษาร่างกายของคนมนุษย์ ซึ่งเจ้าของบ้านควรตรวจสอบสภาพทุกซอกทุกมุมของบ้านอยู่เสมอ เช่น สายไฟชำรุด, หลังคารั่ว, ท่อระบายน้ำมีสภาพตัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นหากเราละเลยการตรวจสอบเหล่านี้ และยังมีเคล็ดลับการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเองอีกด้วย นอกจากนี้การตรวจสอบโครงสร้างของพื้นหรือผนังเพื่อหารอยร้าวเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลบ้าน เมื่อพบรอยร้าวใหญ่ควรแจ้งช่างหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ แต่ถ้าเป็นรอยเล็กน้อยสามารถใช้คอนกรีตฉาบปิดได้ สำหรับบ้านไม้ควรทาสีเคลือบเพื่อรักษาเนื้อไม้ การตรวจสอบโครงสร้างอยู่เสมอจะช่วยป้องกันปัญหาได้เป็นอย่างดีด้วยเช่นกัน

และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือเรื่องของระบบไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ควรตรวจสอบหลอดไฟทุกดวงว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ และตรวจสอบสายไฟในบ้านอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว นอกจากนี้ควรติดตั้งสวิทช์ไฟที่อยู่นอกบ้านพร้อมกับตัวกั้นน้ำป้องกันเวลาฝนตกเพื่อป้องกันไฟช็อต และอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือเรื่องของการติดตั้งระบบเซฟตี้หรือเซฟทีคัทของระบบไฟฟ้า เพื่อในกรณีฉุกเฉินจะได้มีวิธีป้องกันเบื้องต้นได้อย่างรวดเร็ว และอีก 1 จุดของตัวบ้านที่ควรเริ่มตรวจสอบเป็นอันดับแรกนั่นก็คือเรื่องของหลังคาบ้าน เพื่อเป็นการป้องกันและหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำรั่วซึมเพิ่งจะส่งผลให้ในระยะยาวหากไม่มีการตรวจเช็คสภาพหลังคา โดยเฉพาะบ้านที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 5-10 ปีขึ้นไป


วิธีซ่อมบ้านเก่า และวิธีป้องกันปัญหาเรื้อรังที่อาจเกิดขึ้นกับตัวบ้าน

การซ่อมบ้านควรเริ่มจากการตรวจสอบบ้านให้ทั่วเพื่อหาจุดที่มีความเสียหายและซ่อมแซมในทันทีเพื่อป้องกันการเสียเวลาและเงินทอง โดยควรให้ความสำคัญกับจุดที่มีระดับความเร่งด่วนสูงก่อน โดยวิธีซ่อมแซมบ้านเก่านั้นควรจะเริ่มจากจุดที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย และอาจจะเป็นปัญหาหลักของบ้านในอนาคต เช่นหลังคา โครงสร้าง ไปจนถึงระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้าน และสำหรับการซ่อมแซมบ้านให้เหมาะสมกับระดับของงาน เช่น งานโครงสร้างควรให้ช่างมืออาชีพดูแล แต่งานซ่อมแซมเล็กๆ สามารถทำเองได้โดยการศึกษาข้อมูลจากผู้รู้หรือเว็บไซต์ นอกจากนี้ การแตกร้าวของผนังขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างและสภาพอากาศ แต่เราสามารถสังเกตได้และดูแลได้ตามลักษณะของการแตกร้าว โดยจะมีสาเหตุดังนี้

  • รอยแตกบนผนัง : รอยแตกบนผนังภายในและภายนอกเกิดจากการปูนฉาบที่มีส่วนผสมไม่เหมาะสม ทำให้เกิดปฎิกิริยาทางเคมีเมื่อปูนเริ่มแข็งตัว แต่ไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้าง
  • รอยแตกตามวงกบประตู : การประสานตัวของผนังปูนกับวัสดุอื่นๆ ที่รอยต่อกับวงกบไม้ สาเหตุมาจากอัตราการยืดหดตัวของวัสดุสองชนิดไม่เท่ากัน และผนังของอาคารภายนอกมีอุณภูมิสูงกว่าผนังด้านใน จึงเกิดการแตกร้าวที่เป็นรอยแตกเล็กๆ ในแนวทแยง แนวดิ่ง และแนวนอน

สำหรับปัญหาเกี่ยวกับน้ำที่อาจส่งผลเกี่ยวกับตัวบ้าน ในปัจจุบันนั้นถือว่ามีอยู่หลายปัญหาด้วยกันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความชื้น รหัสบ้านที่มีการใช้วัสดุไม้เช่นวงกบประตูหรือวงกบหน้าต่าง หรือบ้านประตูและบานหน้าต่าง ก็อาจจะพบกับปัญหาไม้บวมมีรอยแตกร้าวหลังจากที่ผ่านหน้าฝนไปด้วยเช่นกัน และสำหรับในบางกรณีเช่นฝนตกหนักจนเกิดน้ำท่วมซึ่งจะส่งผลโดยตรงเกี่ยวกับตัวบ้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของคราบน้ำ หรือปัญหาน้ำรั่วซึมเข้าในกำแพงในระหว่างที่เกิดน้ำท่วม ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะสามารถแก้ไขได้ก็ต่อเมื่อรอจนกว่าน้ำจะลดระดับลงไปจนเป็นปกติ จึงจะสามารถเข้าตรวจสอบและแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะฉะนั้นแล้วการเลือกใช้วัสดุหรือการตรวจเช็คสภาพบ้านจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save