+6687 678 6606 [email protected]

ชักโครกรั่ว ทำยังไงดี มาดูเทคนิคการแก้ปัญหาน้ำรั่วในชักโครกแบบปุ่มกดกัน

ชักโครกรั่ว รั่วเราจะแก้ปัญหาอย่าไรดี ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักชักโครกกันก่อน ในปัจจุบันนี้เราจะพบว่าชักโครกหรือโถสุขภัณฑ์ที่วางขายอยู่ตามร้านทั่วไปจะมีให้เลือกอยู่หลายรูปแบบ รวมทั้งตำแหน่งปุ่มหรือก้านกดชำระที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละแบบจะมีข้อแตกต่างคือ ถ้าเป็นเป็นแบบกดชำระทางด้านข้างอุปกรณ์ภายในถังพักน้ำก็จะมีลูกลอยกลมๆ แต่หากว่าเป็นปุ่มกดชำระล้างด้านบนฝาถังพักน้ำจะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกอยู่ภายใน ดังนั้นเมื่อเกิดปัญหาน้ำไหลในชักโครกไม่หยุด ชักโครกแบบที่เป็นปุ่มกดอยู่ด้านบนดูแล้วน่าจะแก้ไขปัญหาได้ยุ่งยากกว่า แต่ในความเป็นจริงแล้วการแก้ไขปัญหานั้นง่ายมาก เราสามารถทำเองได้โดยไม่ต้องง้อช่างเลยค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกอ่านได้เลย เทคนิคดูแลซ่อมบำรุงบ้านให้ใหม่ตลอดเวลา

ชักโครกรั่ว

สำหรับชักโครกที่มีปุ่มกดด้านบนถังพักน้ำ ส่วนใหญ่จะมีให้เลือกทั้งแบบปุ่มกดเดียว และแบบสองปุ่มกด โดยอุปกรณ์ที่อยู่ภายในถังพักน้ำจะประกอบไปด้วย 2 หลัก คือ ชุดน้ำเข้า (Inlet Set) เป็นชุดอุปกรณ์ที่อยู่ทางด้านข้าง (ด้านใดด้านหนึ่ง) ซึ่งจะมีลูกลอยในตัว หน้าที่ของมันก็คือช่วยควบคุมปริมาณหรือระดับน้ำในถังพักน้ำให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมพอดี ไม่ให้สูงเกินระดับที่จะส่งผลทำให้น้ำไหลเข้าไปในโถสุขภัณฑ์ และชุดน้ำออก (Outlet Set) คือชุดอุปกรณ์ที่นำมาต่อกับปุ่มกดชำระด้านบนโดยตรง ซึ่งส่วนนี้จะทำหน้าที่ในการปล่อยน้ำให้ชำระล้างเวลาที่เรากดปุ่ม เมื่อเกิดปัญหา “น้ำไหลในโถชักโครกแบบปุ่มกดด้านบนไม่หยุด” สามารถเกิดขึ้นได้ในหลายสาเหตุ เช่น อุปกรณ์ชำรุด ทำงานผิดปกติ หรือ เกิดคราบตะกรันหรือเศษวัสดุไปอุดตัน เป็นต้น ซึ่งจุดที่เรามักพบว่าเกิดการรั่วซึม (อัตราการเกิดค่อนข้างยาก) คือชุดน้ำออก โดยเฉพาะบริเวณแหวนยาง (หรือแผ่นยาง) เปิดปิดของชุดน้ำออก ส่วนนี้จะทำหน้าที่ปิดช่องน้ำไหล โดยปกตแล้วมันจะต้องปิดแนบสนิทน้ำจะไม่สามารถรั่วออกไปได้หากยังไม่มีการกดชำระ แต่หากมีคราบตะกรันหรือเศษวัสดุไปอุดตัน หรือแหวนยางเสื่อมสภาพ จะส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างแหวนยางและช่องปล่อยน้ำ น้ำจึงไหลเข้าสู่โถชักโครกอยู่ตลอดเวลา หากเกิดกรณีนี้ขึ้นสามารถตรวจสอบและแก้ไขได้เองในเบื้องต้น ด้วยการปิดวาว์ลน้ำดีของโถชักโครกที่จะส่งเข้ามาเก็บในถังพักน้ำไว้ก่อน โดยการเปิดฝาถังพักน้ำยกขึ้นมาตรงๆ

  • กรณีที่เป็นโถชักโครกแบบปุ่มกดเดียว : ลองสังเกตสภาพแผ่นยางว่าเป็นอย่างไร หากเจอว่ามีเศษอะไรติดค้างอยู่ให้เอาออกแล้วทำความสะอาด ถ้าเสื่อมสภาพก็ให้แก้ไขด้วยการเปลี่ยนแผ่นยางใหม่
  • กรณีที่เป็นโถชักโครกแบบสองปุ่มกด : ให้ลองเอามือบิดตัวกระบอกของชุดน้ำออก โดยบิดทวนเข็มนาฬิกาให้แกนข้างในหลุดออกจากล็อคแล้วดึงชุดอุปกรณ์นี้ออกมา (เวลาจะบิดกลับคืนก็ให้บิดตามเข็มนาฬิกาให้เข้าล็อค) รวมทั้งสังเกตที่ตัวแหวนยางด้วยว่าเสื่อมสภาพแล้วหรือยัง หากพบว่าเสื่อมสภาพก็ควรเปลี่ยนแหวนยางใหม่ ทั้งนี้หากใส่กลับเข้าไปแล้วแต่น้ำยังไหลไม่หยุด ก็มีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากอุปกรณ์ส่วนอื่นที่เกิดการชำรุด

คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกอ่านได้เลย 3 ปัญหาใหญ่ที่ทำให้ส้วมตันหรือกดชักโครกไม่ลง

ชักโครกรั่ว

อีกจุดหนึ่งที่มักพบว่าเกิดการรั่วซึม ที่ควรต้องตรวจสอบก็คือ

1.ชุดน้ำเข้าทำหน้าที่ผิดปกติหรือมีอุปกรณ์ชำรุด

ชุดน้ำเข้าทำหน้าที่ผิดปกติหรือมีอุปกรณ์ชำรุดเช่น อุปกรณ์หรือแกนที่ควบคุมการไหลเข้าของน้ำเกิดค้าง อาจมีสาเหตุจากเศษวัสดุเศษสิ่งของไปกดแกนค้างไว้หรืออุปกรณ์ชำรุดจนทำให้ระดับน้ำในถังพักสูงขึ้นจนเกิดเอ่อล้นและไหลเข้าไปในช่องน้ำล้ม แล้วผ่านเข้าไปในโถชักโครก สามารถแก้ไขได้ด้วยการนำสิ่งที่ติดค้างออก หากอุปกรณ์ชำรุดก็เปลี่ยนชุดใหม่ทดแทน ซึ่งส่วนมากทางร้านจะขายทั้งชุด เช่น ชุดปุ่มกดและก้านกด ชุดน้ำเข้า และชุดน้ำออก เป็นต้น


2.ระดับลูกลอย

ตรวจว่ามีลักษณะอยู่สูงหรือต่ำกว่าปกติหรือไม่ หากลูกลอยสูงกว่าปกติ คือยู่สูงกว่าระดับน้ำล้นในโถกักเก็บน้ำ แสดงว่ามีน็อตบางตัวหลวมหรือคลายตัว ให้แก้ไขด้วยการปรับลูกลอยให้ต่ำลงแล้วทำการขันน็อตให้แน่น หรือหากลูกลอยลดระดับต่ำลงผิดปกติลักษณะจมอยู่ในน้ำ ให้ถอดลูกลอยออกมาดูว่าเกิดรอยรั่วหรือการแตกร้าวหรือไม่ เพราะอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้ำซึมเข้าไปในลูกลอย จนน้ำไหลออกมาทางรูน้ำล้นลงโถสุขภัณฑ์ตลอดเวลา วิธีแก้ไขก็ขัดสกรูเอาลูกลอยออกแล้วเปลี่ยนอันใหม่เข้าไปแทน


3.ลูกกบถูกเปิดง้างทิ้งไว้หรือไม่

เพราะอาจมีวัตถุบางอย่างติดค้างทำให้ปิดได้ไม่สนิทจนน้ำไหลทิ้ง แก้ไขด้วยการเอาวัตถุนั้นออกหรือเช็ดทำความสะอาด หากไม่มีวัตถุผิดสังเกตอย่างที่ว่า ก็ให้ดูว่าโซ่หรือเชือกที่ดึงเพื่อเปิดปิดน้ำนั้นตึงจนเกินไปจนทำให้ลูกกบเปิดค้างไว้หรือไม่ ควรแก้ไขปรับสายให้พอดี ไม่ให้ตึงหรือหย่อนมากจนเกินไป


4.ลูกกบชำรุดหรือฉีกขาด

ควรทำการเปลี่ยนใหม่ทันที สำหรับลูกกบใหม่ลองนำมาวางปิดรูปล่อยน้ำก่อนว่าสามารถปิดรูปล่อยน้ำได้สนิทดีหรือไม่ จึงค่อยยึดเข้ากับโซ่หรือเชือกดึง

ชักโครกรั่ว

จากปัญญหาน้ำรั่วหากลองแก้ไขเองแล้ว อาการน้ำรั่วไหลลงโถชักโครกยังไม่หยุด แนะนำว่าควรเรียกช่างผู้ชำนาญของแต่ละผลิตภัณฑ์เข้ามาตรวจสอบและแก้ไข อีกทั้งวัสดุภายในถังพักน้ำ ทำมาจากหลากหลายวัสดุอายุการใช้งานและความทนทานจึงไม่เท่ากัน เจ้าของบ้านควรหมั่นตรวจสอบสภาพและหมั่นทำความสะอาดคราบสกปรกที่ติดค้างภายในถังพักน้ำอย่างน้อย 3 เดือนต่อหนึ่งครั้ง เพื่อลดปัญหาการรั่วซึมของน้ำค่ะ