บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 27, 2023

แบบกระเบื้องปูพื้น สำหรับคนที่วางแผนก่อสร้างบ้านใหม่หลายคนคงจะมีข้อสงสัยว่าจะต้องเลือกอย่างไร บางคนก็มักเชื่อตามที่ช่างก่อสร้างแนะนำซึ่งบ้างครั้งก็ไม่สามารถตอบโจทย์ตามความต้องการได้ การเลือกกระเบื้อง ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องปูพื้น หรือกระเบื้องปูผนัง ต้องเลือกแบบไหนถึงจะเหมาะกับการใช้งาน เพราะถ้าพิจารณาดูแล้วกระเบื้องต่าง ๆ ก็เหมือนกันไปหมด ประโยชน์ใช้สอยก็จะคล้ายกัน ซึ่งจะมีวิธีสังเกตอย่างไร วันนี้เราจะพาคุณไปไขข้อข้องใจในการเลือกกระเบื้องกันค่ะ นอกจากนี้ ยังมีเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับวิธีเลือกกระเบื้องห้องน้ำอย่างไรให้พื้นที่ห้องน้ำดูกว้างขึ้น และ 5 ไอเดียการเลือกกระเบื้องห้องน้ำหลากสไตล์ สำหรับห้องที่ต้องใช้งานกระเบื้องเป็นหลักมาฝากกันด้วย ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย


เลือกตามความหนาของกระเบื้อง

วิธีสังเกตว่าเป็นกระเบื้องแบบไหนสามารถดูได้ง่ายๆที่ความหนา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ  แบบแผ่นบาง และแบบแผ่นหนา


กระเบื้องแผ่นบาง

แบบกระเบื้องปูพื้น

จะมีความหนาแค่ประมาณ 6 มิลลิเมตร ปกติแล้วกระเบื้องทั่ว ๆ ไปจะเป็นกระเบื้องที่มีการเคลือบสี, ลวดลาย หรือร่องลายที่บริเวณผิวด้านหน้า เพื่อความสวยงามและทำให้เห็นลวดลายของกระเบื้องชัดขึ้น ซึ่งเราก็สามารถแบ่งกระเบื้องแผ่นบางเป็น 2 ประเภท คือ


1. กระเบื้องกรุงผนัง (Wall Tile)

แบบกระเบื้องปูพื้น

จะเป็นเนื้อแบบ Earthen Ware ซึ่งจะเป็นกระเบื้องที่มีเนื้อละเอียด แต่ก็ยังคงมีความพรุนตัวและการดูดซึมน้ำสูง โดยปกติสีของเนื้อกระเบื้องอาจจะเป็นสีขาวหรือสีแดง แล้วนำมาเคลือบผิวหน้าทั้งแบบเรียบมันและเรียบ แต่กระเบื้องชนิดนี้จะมีความแข็งแกร่งและรับน้ำหนักได้น้อยกว่ากระเบื้องประเภทอื่นจึงทำให้ไม่สามารถใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นหรือใช้ติดตั้งภายนอกอาคารได้ ส่วนมากจะนำไปใช้ปูผนังมากกว่า


2. กระเบื้องปูพื้น (Floor Tile)

แบบกระเบื้องปูพื้น

จะเป็นเนื้อแบบ Stone Ware จัดว่าเป็นกระเบื้องที่มีเนื้อแข็งแกร่งและทึบแสง โดยทั่วไปจึงมักมีสีน้ำตาล แต่บางครั้งอาจจะมีเนื้อสีขาวด้วยก็ได้ ซึ่งกระเบื้องชนิดนี้จะมีทั้งเคลือบที่ผิวหน้าทั้งแบบด้าน แบบมัน และแบบผิวสัมผัสหยาบ และมีความแกร่งมากกว่ากระเบื้องกรุผนังและรับน้ำหนักได้ดีกว่า จึงสามารถนำมาใช้ได้กับทั้งงานพื้นและงานผนัง


กระเบื้องแผ่นหนา

จะมีความหนาแค่ประมาณ 10 มิลลิเมตร เนื้อกระเบื้องจะเป็นเนื้อแบบพอร์ซเลน ทำให้เนื้อแน่นละเอียดและมีสีขาว มีความแกร่งสูง สามารถรับน้ำหนักได้มาก ทนต่อการขัดสีได้ดี จึงนิยมนำไปใช้เป็นกระเบื้องปูพื้นหรือใช้ภายนอกอาคาร แต่ข้อเสียของกระเบื้องแผ่นหนาก็คือราคาอาจจะสูงกว่ากระเบื้องแผ่นบาง โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ


1. กระเบื้องแผ่นหน้าแบบเคลือบผิวหน้า

แบบกระเบื้องปูพื้น

โดยทั่วไปจะเรียกว่า Glazed Porcelain Tile ข้อเสียของกระเบื้องลักษณะนี้คือหากถูกกระเทาะหรือเกิดการสึกกร่อนที่ผิวหน้าไปจนถึงเนื้อกระเบื้อง ก็จะสังเกตเห็นได้ว่าเป็นคนละสีกัน ทำให้ต้องดูแลระวังรักษาเป็นพิเศษ


2. กระเบื้องแผ่นหนาแบบเป็นเนื้อเดียวกันทั้งแผ่น

แบบกระเบื้องปูพื้น

หรือที่เรียกกันว่ากระเบื้องแกรนิตโตเป็นกระเบื้องชนิดพิเศษ คือสามารถทำผิวสัมผัสได้หลากหลาย เมื่อถูกกระเทาะหรือเกิดการสึกกร่อนก็จะไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของสีกระเบื้องเท่าไหร่นัก ส่วนมากจึงนิยมนำไปทำเป็นเคาน์เตอร์ต่างๆ เช่น ในห้องครัว, ห้องน้ำ


คุณสมบัติของกระเบื้อง

แบบกระเบื้องปูพื้น

การเลือกกระเบื้องเพื่อนำไปใช้งานไม่ได้พิจารณาแค่คุณสมบัติของกระเบื้องแต่ละประเภทเท่านั้น อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นส่วนสำคัญเช่นกัน ซึ่งเป็นข้อที่ห้ามลืมเป็นเด็ดขาดนั่นก็คือ “ค่าการกันลื่น” เพราะมีความจำเป็นอย่างมากเนื่องจากเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของคนอยู่อาศัยภายในบ้าน เพราะถ้าไม่ดูค่ากันลื่นในการเลือกกระเบื้องไปใช้งาน ย่อมส่งผลเสียมากกว่าผลดีอย่างแน่นอน

โดยค่าการกันลื่นจะมีตั้งแต่ R9 ถึง R13 ตาม DIN51130 (the Methods) เป็นการทดสอบที่เรียกว่า “Ramp Test” ซึ่งเป็นการทดสอบในห้องทดลองที่พื้นปูด้วยกระเบื้อง ว่ามีความลาดชันหรือพื้นเอียงในระดับองศาต่างๆ ที่จะทำให้คนเดินไปเดินมาบนพื้นกระเบื้องนั้นๆจะเกิดการลื่นไถล หกล้ม ในระดับที่เท่าไหร่ สามารถแบ่งลักษณะการใช้คร่าวๆ ได้ ดังนี้

  • ค่า R9 เป็นค่าที่ถือว่าต่ำสุดที่สามารถรับได้สำหรับกระเบื้องปูพื้นทั่วไป สามารถใช้ในพื้นที่สาธารณะโซนแห้งหรือพื้นทั่วไปในบริเวณบ้าน
  • กระเบื้องที่มีค่า R10 เหมาะที่จะใช้กับบริเวณที่ต้องเปียกน้ำ เช่น โรงรถ ห้องน้ำ หรือจุดจอดรถที่อาจจะถูกน้ำฝนตกใส่
  • พื้นที่ภายนอกอาคาร (Outdoor Area) จะเป็นทั้งทางเข้าภายนอก บันไดนอกตัวอาคาร ที่จอดรถภายนอกอาคาร ควรใช้กระเบื้อง R10 – R11
  • กระเบื้องที่อยู่ในค่า R12 ใช้กับพื้นที่ภายนอกที่มีความลาดชัน เช่น จำพวกทางเดินสำหรับรถเข็น ทางขนของ รวมถึงบริเวณที่มีความมัน อาทิเช่นพื้นที่ต้องมีคราบมันหรือไขมันเกาะอยู่บ่อยๆ

อย่างไรก็ดี ในส่วนของการกันลื่นของกระเบื้องปูพื้นอาจจะไม่ตรงตามค่าที่ได้ระบุไว้ หากไม่ใส่ใจเรื่องการดูแลรักษาหรือดูแลรักษาไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อความสามารถในการกันลื่นของกระเบื้องนั้นๆ ฉะนั้นการบำรุงรักษาจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเช่นกัน แต่ในปัจจุบันได้มีหลายบริษัทที่ทำน้ำยาในการเคลือบผิวประเภทต่างๆ ซึ่งจะเข้ามาช่วยให้ดูแลให้กระเบื้องสามารถใช้งานได้นานมากขึ้น ทั้งนี้ก่อนที่จะใช้น้ำยาก็ควรที่จะศึกษาคู่มือการใช้งานให้ละเอียดรอบคอบก่อนที่จะนำมาใช้งานจริง เพราะบางครั้งหากเราใช้งานผิดพลาดเพียงนิดเดียวอาจจะส่งผลต่อกระเบื้องของเราด้วยก็ได้ นอกจากนั้นผิวสัมผันของกระเบื้องที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้การดูแลรักษาแตกต่างกันออกไปด้วย


สิ่งที่ควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวการปูพื้นกระเบื้อง

หลังจากที่ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับการเลือกกระเบื้องกันไปแล้ว เมื่อพูดถึงงานกระเบื้องก็ต้องนึกถึงห้องน้ำซึ่งใช้งานกระเบื้องค่อนข้างเยอะเราจึงมีวิธีเลือกกระเบื้องห้องน้ำอย่างไรให้พื้นที่ห้องน้ำดูกว้างขึ้น รวมไปถึง 5 ไอเดียการเลือกกระเบื้องห้องน้ำหลากสไตล์มาฝากกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้


วิธีเลือกกระเบื้องห้องน้ำอย่างไรให้พื้นที่ห้องน้ำดูกว้างขึ้น

สิ่งสำคัญนอกจากการเลือกค่ากันลื่นและประเภทแล้ว อีกอย่างก็คือการเลือกจากสีและลวดลายของกระเบื้องห้องน้ำ ว่าจะเลือกอย่างไรให้พื้นที่ห้องน้ำดูกว้างขึ้น

  • เลือกใช้กระเบื้องห้องน้ำสีอ่อนให้ห้องน้ำกว้างขึ้น

เทคนิคที่ช่วยให้ห้องน้ำขนาดเล็กดูกว้างขึ้นคือการใช้กระเบื้องห้องน้ำสีอ่อนบนผนังและพื้น เพื่อเพิ่มมิติให้ห้องน้ำไม่ดูอึดอัด และช่วยประหยัดไฟด้วยแสงสว่างจากภายนอก การทำความสะอาดบ่อยๆ ยังช่วยให้ห้องน้ำดูสะอาดและน่าใช้งาน

  • ชนิดหรือสีสันไม่ควรเกิน 3 รูปแบบ

ไม่ควรใช้กระเบื้องห้องน้ำที่มีลวดลายที่แตกต่างกันเกิน 3 สี 3 รูปแบบ เพราะจะทำให้การปูกระเบื้องพื้นห้องน้ำหรือกรุผนังยากขึ้นและสิ้นเปลืองงบประมาณ และยังทำให้ผู้ใช้งานสับสนกับสีสันที่มากเกินจำเป็น


5 ไอเดียการเลือกกระเบื้องห้องน้ำหลากสไตล์

การเลือกแบบกระเบื้องห้องน้ำเป็นสิ่งสำคัญในการตกแต่งบ้าน เพราะห้องน้ำเป็นห้องที่มีพื้นที่แคบ แต่ก็สามารถตกแต่งได้อย่างสวยงาม ลายกระเบื้องนอกจะช่วยทำให้ห้องน้ำดูกว้างขวางขึ้น และส่งผลต่อความสุขและความผ่อนคลายของคนในบ้าน วันนี้เราจึงนำไอเดียลายกระเบื้องห้องน้ำในรูปแบบสไตล์ต่างๆ มาฝากกันถึง 5 สไตล์


1. Colorful Mosaic

คำแนะนำในการตกแต่งห้องน้ำสไตล์ Colorful โดยแนะนำให้ใช้สีหลักเป็นสีพื้นๆ เช่นสีขาว สีครีม และเน้นไปที่สีส้ม น้ำเงิน สีเขียวคราม ฟ้าคราม โดยไม่ควรใช้สีมากเกิน 3-4 สีเพราะจะทำให้ห้องน้ำดูซับซ้อนและยังมีความไม่สบายตา และแนะนำให้เพิ่มเติมสีสันลูกเล่นด้วยการใช้กระเบื้องโมเสกทรงกลมให้กับกระเบื้องสำหรับปูห้องน้ำด้วย


2. Motif Classic

การเลือกกระเบื้องห้องน้ำแบบพิมพ์ลายที่เป็นลักษณะลายเส้นสายเชื่อมต่อกันแบบแผ่นต่อแผ่นเป็นลายที่ช่วยตอบสนองความต้องการของเจ้าของบ้านได้เป็นอย่างดี แต่ควรปูกระเบื้องห้องน้ำลายนี้แค่บางจุดเท่านั้น เพื่อไม่ให้รู้สึกลายตาเวลาใช้ห้องน้ำ


3. Contemporary Spotted Blue

คนที่ชอบความผ่อนคลายและอยากให้ห้องน้ำดูไม่เก่าหรือใหม่เกินไปควรเลือกใช้กระเบื้องห้องน้ำที่มีแนวสีเข้มและลักษณะเป็นปุ่มเล็กๆ เพื่อตกแต่งห้องน้ำให้ดูสวยและผ่อนคลาย และสามารถปูได้ทั้งพื้นและผนังเพราะกันลื่นได้ดีกว่ากระเบื้องห้องน้ำทั่วไป


4. Color Block with Dark Tone

การใช้กระเบื้องเซรามิกลายสี่เหลี่ยมจตุรัสในห้องน้ำเป็นที่นิยมมาก เพราะวัสดุและลวดลายง่ายต่อการหาซื้อ ราคาไม่แพงมาก และสามารถปูได้ทั้งพื้น ผนัง และส่วนอื่นๆ ของห้องน้ำได้อย่างลงตัว แต่ควรเลือกโทนสีเข้มอ่อนไม่เท่ากันในแต่ละส่วนไม่เกิน 2 สี เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้ห้องน้ำดูมืดขาดมิติ และควรเลือกใช้สีเข้มเพื่อลดการสกปรกและทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น


5. Luxury Marble Stone

กระเบื้องหินอ่อนแบบ Marble Stone เหมาะสำหรับใช้ในห้องน้ำเนื่องจากมีความสวยงามและหรูหรา แต่ต้องมีงบประมาณสูง และควรเลือกโทนสีขาวเป็นหลัก การดูแลรักษาก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องศึกษาวิธีให้ดีก่อนเพื่อป้องกันการหมองและความสกปรก


การเลือกพื้นกระเบื้องเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ไม่ใช่เพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ยังต้องเลือกสินค้าที่มีคุณภาพและตอบโจทย์การใช้งานของเราอย่างเหมาะสมด้วย เพื่อให้เราได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้งาน นอกจากนี้เรายังสามารถเลือกจากหลากหลายแบบที่เหมาะสมกับบ้านของเราและสไตล์การตกแต่งที่ต้องการได้อีกด้วย

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save