บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ July 28, 2023
3 วิธี แต่งบ้าน ช่วยให้บ้านคุณเย็นขึ้นได้แบบยั่งยืนในราคาประหยัด
แต่งบ้าน ต้องลำบากใจกับแสงแดดในเมืองไทย เพราะไม่ว่าจะในฤดูไหนก็ตาม ก็ยังมีรังสีความร้อนแผ่ออกมากวนใจเราเสมอๆ ถึงแม้จะมีวิธีแก้ไขมากมายนับไม่ถ้วน แต่ก็มีไม่กี่วิธีที่นิยมใช้กัน วันนี้เราเลยคัดสรรมาเสนอ 3 วิธีที่จะช่วยให้บ้านของคุณเย็นขึ้นด้วยการเลือกวัสดุตกแต่งต่อเติมบ้าน แถมยังเป็นเคล็บลับระบายความร้อนให้บ้านที่สามารถแก้ได้แบบยั่งยืนและประหยัดเงินได้ดีมากๆ รับรองว่าถูกอกถูกใจแน่นอน
1.แต่งบ้าน ด้วยการติดฟิล์มกรองแสง
การติดฟิล์มกรองแสงไว้ที่บ้าน สามารถป้องกันความร้อนที่มาจากแสงแดดบริเวณกระจกได้ดี ซึ่งจะทำให้บ้านเย็นขึ้น ชนิดของฟิล์มที่นิยมก็จะมี ฟิล์มใส, ฟิล์มปรอท,ฟิล์มดำ หรือฟิล์มนิรภัย รับรองว่าติดครั้งเพียงแค่ครั้งเดียวสามารถใช้ได้ได้ยาวๆ ส่วนใหญ่มักจะนิยมติดที่บริเวณที่โดนแสงแดดตลอด ซึ่งก็แล้วแต่การเลือกใช้งาน โดยสามารถเลือกได้ตามความเหมาะสม
2. แต่งบ้าน ด้วยการติดม่านกันยูวี
ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวไกลของนวัตกรรมผลิตผ้า ที่ได้ผลิตผ้ากันยูวีออกมา ผ้าชนิดนี้ทำมาจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์ ซึ่งจะเป็นผ้าที่คงสภาพได้ดี มีความยืดหยุ่น ไม่ยับง่าย สามารถถ่ายเทอากาศได้ดี ทั้งยังทนความร้อน ปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนาการผลิตและออกแบบมาให้มีลายที่สวยงามที่สวยงามมากขึ้น และดีไซน์ที่เหมาะสมตามยุคสมัย ซึ่งผ้าม่านกันยูวีสามารถกันรังสียูวีได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ โดยไม่ต้องกลัวว่าความร้อนจะไปทำลายเล้นใยสังเคราะห์จากผ้าม่าน เพราะเส้นใยพอลิเอสเตอร์จะเคลือบด้วยสารที่ช่วยป้องกันแสงแดดและรังสียูวี ให้อุปกรณ์ในบ้านปลอดภัยจากการถูกทำลายจากแสงแดด และยังช่วยให้บ้านเย็นขึ้นอีกด้วย แต่ที่สำคัญอย่าลืมศึกษาข้อควรรู้ก่อนแต่งบ้านให้ดีก่อนว่าคุณต้องการเลือกใช้วัสดุผ้าม่านแบบไหน เพื่อที่จะได้ออกมาสวยงาม ถูกใจ ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียเงินเปลี่ยนใหม่ในภายหลัง
3. แต่งบ้าน โดยปลูกต้นไม้รักษาความเย็น
วิธีธรรมชาติที่จะช่วยให้บ้านคุณเย็นขึ้น เพิ่มทัศนียภาพให้สวยงามเหมาะแก่การพักผ่อน และยังช่วยเพิ่มอากาศที่บริสุทธิ์ให้รอบบ้านได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีร่มเงาของต้นไม้ที่ช่วยป้องกันความร้อนจากแสงแดดได้ดีอีกด้วย ถือว่าเป็นตัวช่วยคลายร้อนได้ดีมากๆ
ไอเดียแต่งบ้านให้สวย พร้อมคลายร้อนได้ตลอดทั้งปี
การแต่งบ้านให้สวยและคลายร้อนได้ตลอดทั้งปีเป็นเรื่องสำคัญมากในการอยู่อาศัยในบ้าน เนื่องจากมีผลต่อความสุขภาพและความเป็นอยู่ของผู้อยู่อาศัย ปัจจุบันนี้ก็มีไอเดียหลายอย่างที่สามารถใช้เพื่อแต่งบ้านให้สวยงามและช่วยลดความร้อนภายในบ้านได้ เช่น การเลือกใช้ผ้าม่าน การเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีสีเข้มและผิวไม้เพื่อช่วยดูดความร้อน การติดตั้งกระจกตัดแสง และการเสริมวัสดุกันร้อนในหลังคา นอกจากนี้ยังมีวิธีการตกแต่งบ้านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มความสวยงามและความสบายตา ทั้งการเลือกสีทาผนังและการปลูกพืชในบ้าน มาดูกันว่าหากคุณอยากให้บ้านเย็นสบายและดูสวยงามขึ้น มีปัจจัยใดที่จะสามารถช่วยส่งเสริมได้บ้าง
ข้อควรรู้ก่อนแต่งบ้านเพื่อคลายความร้อน
การตกแต่งบ้านสวยไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดและต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในปรับเปลี่ยนใหม่ทีหลัง ดังนั้น ข้อควรรู้ก่อนแต่งบ้านเป็นอีกสิ่งที่ต้องระมัดระวังเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในภายหลังได้ มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนตกแต่งบ้านมีอะไรบ้าง
1. การเลือกสีทาบ้าน
การเลือกสีทาห้องต้องคิดถึงบรรยากาศของห้องและเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ด้วย หากไม่แน่ใจควรใช้สีพื้นธรรมดาแบบเบสิกที่สามารถใช้งานได้นานๆ และเลือกใช้สีหลักเพียงสีเดียว ไม่ควรเกิน 3 สี โดยนำสีอื่นมาเพื่อประกอบควบคุมโทนห้อง
2. แสงไฟภายในบ้าน
การเพิ่มแสงสว่างในบ้านเป็นสิ่งสำคัญ แต่การใช้หลอดไฟที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้ได้แสงไฟไม่เพียงพอหรือแสงกระจายไม่ทั่วถึง การใช้หลอดไฟมากเกินไปจะทำให้เพดานห้องไม่สวยงาม สิ้นเปลืองพลังงานและค่าไฟ ในขณะที่การใช้ไฟสว่างเกินไปอาจทำให้แสบตาและบรรยากาศไม่เหมาะสมสำหรับการพักผ่อนภายในบ้าน
3. การเลือกผ้าม่าน
การติดตั้งผ้าม่านเป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งบ้านและช่วยป้องกันแสงแดดและความร้อน การเลือกผ้าม่านควรพิถีพิถันในการวัดความยาวและพิจารณาประเภทหน้าต่าง เพื่อเลือกซื้อผ้าม่านที่เหมาะสมอย่างถูกต้อง เช่น ม่านทึบแสง ม่านโปร่ง ม่านปรับแสงแบบแนวตั้ง หรือม่านปรับแสงแบบแนวนอน
4. เฟอร์นิเจอร์
การตกแต่งห้องควรวัดขนาดของห้องและพื้นที่วางเฟอร์นิเจอร์ไว้ให้ดี สามารถเขียนแบบห้องเพื่อเห็นภาพการใช้งานก่อนได้ และต้องวัดขนาดของประตู บันได ที่จะต้องเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์เข้ามาด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาไม่สามารถนำเฟอร์นิเจอร์เข้าไปจัดวางในห้องได้
วิธีลดความร้อนในบ้านเก่า: เคล็บลับในการปรับปรุงบ้านเพื่อเพิ่มความเย็นและความสวยงาม
การระบายความร้อนถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นเมื่อมีบ้าน เรียกได้ว่าการป้องกันความร้อนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับโครงการบ้านใหม่ๆ ในปัจจุบันนี้ เพราะมักจะมีการออกแบบหลังคาหรือผนังเพื่อลดความร้อน แต่ถ้าหากเป็นบ้านเก่าๆ ที่ไม่มีการป้องกันความร้อน ขอแนะนำเคล็บลับระบายความร้อนให้บ้านที่ช่วยให้บ้านเก่าเย็นได้ ไม่แพ้บ้านรุ่นใหม่ๆ ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้
1. ทำให้หลังคาเย็น
วิธีเพิ่มความเย็นให้กับหลังคาคือการเปลี่ยนหลังคาเป็นสีขาวหรือสีอ่อนเพื่อช่วยสะท้อนความร้อน หรือเสริมวัสดุกันความร้อนใต้หลังคา โดยใช้วัสดุหลากหลายรูปแบบ เช่น ฉนวนกันความร้อน, ฉนวนป้องกันและกักเก็บความเย็น, โฟมชนิดพิเศษ หรือการติดตั้งหัวฉีด Sprinkler บนหลังคา หรือพ่นน้ำบนหลังคา เพื่อลดความร้อน แต่ต้องตรวจสอบก่อนว่าโครงสร้างของฝ้ามีความแข็งแรงมากพอที่จะรองรับพวกวัสดุกันความร้อนหรือไม่
2. ลดความร้อนของผนัง
การปลูกต้นไม้หรือติดตั้งแผงระแนงกันแดดเป็นวิธีลดการเข้ามาของแสงแดดในบ้านทาวน์เฮ้าส์ โดยบ้านที่ติดกับเพื่อนบ้านจะไม่ต้องผจญกับแสงแดด แต่บ้านที่อยู่หัวมุมก็อาจจะต้องเจอกับแสงแดดบ้าง
3. ลดแสงบริเวณหน้าต่าง
การติดผ้าม่าน 2 ชั้น ชั้นเดียว หรือใช้ต้นไม้หรือไม้แขวนแทน สามารถช่วยลดความร้อนและการเข้ามาของแสงในบ้านได้ ซึ่งเป็นวิธีลดความร้อนได้บ้างในกรณีที่เจ้าของบ้านมีงบประมาณจำกัด
4. ติดตั้งกระจกตัดแสง
การเปลี่ยนกระจกบานเก่าให้ทันสมัยโดยการเลือกกระจกชนิดตัดแสงกันความร้อนหรือติดฟิล์มกันความร้อน เป็นวิธีที่ดีในการดูดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง และมีหลากหลายรูปแบบและราคาให้เลือกสรร
5. เปลี่ยนสีผนังบ้าน
การเลือกสีบ้านโทนอ่อนช่วยลดการอมความร้อน และสีที่มีคุณสมบัติพิเศษป้องกันความร้อนเป็นตัวช่วยที่ดีในการเลือกสีบ้าน ปัจจุบันนี้ก็มีหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาให้เลือกได้ตามความต้องการ
การทำให้บ้านเย็นขึ้นและคลายร้อนแบบยั่งยืนเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากมีผลต่อความสบายในการใช้ชีวิตและประหยัดพลังงานได้อย่างมากๆ และในบทความนี้ก็ได้นำเสนอวิธีต่างๆ ที่คุณสามารถทำเพื่อช่วยให้บ้านของคุณเย็นขึ้นและคลายร้อนแบบยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นว่าการปรับปรุงบ้านเพื่อทำให้เย็นขึ้นและคลายร้อนไม่ใช่เรื่องยากเลย อย่างไรก็ตามการปรับปรุงบ้านเพื่อเย็นขึ้นและคลายร้อนไม่จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย เพียงแค่ทำตามวิธีที่ได้แนะนำไป คุณก็สามารถช่วยปรับปรุงบ้านให้เย็นขึ้นและคลายร้อนแบบยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังสามารถตกแต่งบ้านให้สวยงามได้อีกด้วย
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon