อ่างอาบน้ำ กับเทคนิคเปลี่ยนพื้นที่จากอ่างอาบน้ำเป็นพื้นที่ยืนอาบแบบง่ายๆ
อ่างอาบน้ำ สุดหรูมักเป็นจุดเด่นที่บ้านรุ่นใหม่มันชูด้วยจุดเด่นนี้ให้ดูพิเศษมากยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วงที่ใช้แรกๆก็มีความสุข อาบสนุก แต่พอใช้ไปนานๆเริ่มรู้สึกว่าทั้งเกะกะ ทำความสะอาดก็ลำบาก ใช้งานไม่สะดวก อายุมากขึ้นการจะก้าวเท้าเข้าอ่างก็ค่อนข้างติดขัด แถมกินพื้นที่ห้องน้ำไปกว่าครึ่ง หลายคนจึงต้องการที่จะเปลี่ยนจากอ่างอาบน้ำเป็นพื้นที่ยืนอาบ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงถึงตำแหน่งของท่อระบายน้ำเดิม ความลาดเอียงที่เหมาะสมของพื้นที่ และระบบกันซึม ซึ่งวันนี้เรามีขั้นตอนการรื้ออ่างน้ำออกเพื่อเปลี่ยนมาเป็นพื้นที่ยืนอาบน้ำสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู ดับกลิ่นห้องน้ำ แก้ปัญหากลิ่นไม่พึงประสงค์
1.เริ่มจากการรื้ออ่างอาบน้ำก่อน
กรณีเป็นอ่างแบบที่ฝังบนเคาน์เตอร์ ควรเริ่มต้นด้วยการรื้อเคาน์เตอร์อ่างออกเสียก่อนด้วยการสกัดเคาน์เตอร์ (ส่วนที่เป็นการก่ออิฐฉาบปูนและแต่งด้วยวัสดุตกแต่งผิว) อย่างระมัดระวัง (จะเลือกใช้เป็นเครื่องสกัดไฟฟ้าหรือจะเป็นสว่านไฟฟ้าแบบที่มีตัวกันกระแทกในการสกัด ไม่ควรใช้เป็นค้อนทุบ) เมื่อสกัดออกหมดแล้วให้รื้อวัสดุกรุผิวท็อปเคาน์เตอร์ออก (เช่น พวกหินแกรนิต, หินอ่อน และกระเบื้อง) หลังจากนั้นค่อยถอดอุปกรณ์ประกอบในห้องน้ำส่วนต่างๆออก เช่น สะดืออ่าง ก๊อก (อย่าลืมปิดวาล์วท่อน้ำในผนังเสียก่อน หากว่าไม่มีวาล์วน้ำจึงต้องปิดมิเตอร์น้ำหรือหาอะไรมาอุดกันน้ำซึมออกมา) จากนั้นจึงค่อยยกอ่างอาบน้ำออกมา ส่วนถ้าเป็นอ่างอาบน้ำแบบลอยตัวให้เริ่มจากการถอดอุปกรณ์ประกอบอ่างทั้งหมดออกให้เรียบร้อย แล้วจึงค่อยๆรื้ออ่างอาบน้ำออกมาได้
2.เคลียร์พื้นที่ รวมทั้งพิจารณาตำแหน่งของท่อระบายน้ำ
ทำการเคลียร์พื้นที่บริเวณรอบๆที่เคยทำการติดตั้งอ่างเดิมให้สะอาดเรียบร้อย หลังจากนั้นมาถึงขั้นตอนการพิจารณาตำแหน่งท่อน้ำทิ้งเดิม (ปกติท่อน้ำทิ้งของอ่างน้ำจะมีอยู่หนึ่งจุด) ว่าตรงกับตำแหน่งส่วนที่ยืนอาบน้ำหรือไม่ (ตำแหน่งที่ควรยืนอาบน้ำมักจะอยู่ที่มุมในสุดของห้องน้ำ) แต่ทว่าจุดน้ำทิ้งเดิมไม่อยู่มุมห้อง อยู่ตรงกลางส่วนอาบน้ำ หรืออยู่ในตำแหน่งที่ไม่สมควร) ฉะนั้นสามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้หลายวิธีด้วยการเรียงลำดับได้ตามนี้
- ใช้ท่อน้ำทิ้งเดิม ด้วยการเลือกว่าจะปรับความลาดเอียงของพื้นให้น้ำไหลไปตำแหน่งท่อน้ำทิ้งทั้งหมดเพื่อให้สามารถระบายน้ำได้ดี หรือจะเลือกใช้วิธีติดตั้งตู้อาบน้ำที่สามารถเชื่อมต่อท่อน้ำมาทิ้งยังจุดเดิมก็สะดวกอยู่เช่นกัน
- ย้ายตำแหน่งของท่อน้ำทิ้ง ด้วยการเจาะพื้น Coring ใส่ท่อ PVC และติดตั้งข้อต่อเพื่อพ่วง (จัมพ์) ท่อน้ำทิ้งใหม่ไปสู่ท่อน้ำทิ้งเดิมหรือท่อน้ำทิ้งอื่นๆที่อยู่ในบริเวณห้องน้ำ และหล่อคอนกรีตเพื่ออุดรูปิดท่อน้ำทิ้งเดิม ซึ่งในขั้นตอนนี้ควรต้องหาผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาตรวจสอบเหล็กเสริมพื้นคอนกรีตก่อนเพื่อที่จะได้ไม่เจาะโดนเหล็กที่จะส่งผลกระทบกับการรับน้ำหนัก และควรเลือกช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางมาดำเนินการย้ายตำแหน่งของท่อน้ำทิ้ง เพราะจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดการรั่วซึมมากกว่าหากว่าทำไม่ถูกวิธี
3.ปรับระดับพื้นที่ แบ่งแยกโซนแห้งกับโซนเปียก
เมื่อปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงเหมาะสม (อัตรส่วนอยู่ที่ 1:200) ไปยังตำแหน่งของท่อระบายนำทิ้ง (Floor Drain) จะได้ให้น้ำสามารถระบายน้ำไปยังท่อน้ำทิ้งใหม่ได้ดี ด้วยการเผื่อความหนาของกระเบื้องใหม่ที่จะนำมาปูแทน และควรนึกถึงการแยกโซนเปียกโซนแห้ง ดังนี้
- ลดระดับพื้นในส่วนโซนเปียกลงไม่ต่ำกว่า 5 ซม. ให้ต่ำกว่าโซนแห้ง
- ทำขอบกั้นขึ้นเพื่อเป็นการแบ่งกั้นพื้นที่ของโซนเปียกกับโซนแห้งอย่างชัดเจน
- ทำพื้นให้อยู่ระดับเดียว วิธีนี้จะต้องสกัดและเจาะพื้นที่เพิ่มเติม เพื่อฝังท่อระบายน้ำทิ้งกันกลิ่นแบบรางหรือแบบยาวในตำแหน่งใหม่
คุณอาจสนใจบทความนี้ คลิกดู ตกแต่งห้องน้ำ ด้วย 6 อุปกรณ์สำหรับห้องน้ำเทรนด์ใหม่
4.ปรับระบบกันซึมให้ดี ติดตั้งกระเบื้องพื้นและผนังส่วนที่เคยติดตั้งเป็นอ่างอาบน้ำเดิม
ในส่วนสุดท้ายคือการป้องกันการรั่วซึม และติดตั้งกระเบื้องพื้นผนังส่วนที่เคยเป็นตำแหน่งอ่างอาบน้ำเดิม ด้วยการเลือกกระเบื้องอย่างเหมาะสม กรณีที่มีการรื้อเคาน์เตอร์อ่างอาบน้ำออกจะเห็นผิวปูนในส่วนที่ติดกับอ่าง ดังนั้นการเลือกกระเบื้องผนังสามารถที่จะเลือกให้ใกล้เคียงกับเฉดสีเดิมหรือหากระเบื้องรุ่นเดิมได้ก็ยิ่งดี หรือจะลองตกแต่งให้มีลูกเล่นบางส่วนเพิ่มเติมสร้างความแตกต่างออกไป หรืออาจจะรื้อกระเบื้องผนังที่เคยเป็นอ่างอาบน้ำออกแล้วจึงเริ่มปูใหม่ทั้งหมด สำหรับกระเบื้องพื้นในส่วนอาบน้ำ สามารถที่จะเลือกให้เป็นเฉดสีเดิมหรือใกล้เคียงกับพื้นที่โซนแห้งก็ได้ แต่ถ้าเป็นการรื้ออ่างอาบน้ำแบบลอยตัวออก จะไม่มีผลกระทบกับส่วนของกระเบื้องผนังเสียเท่าไหร่ หรือถ้ากระทบก็แค่เพียงบางส่วนซึ่งสามารถที่จะหากระเบื้องใหม่มาเพิ่มลูกเล่นให้มีความแตกต่างและสวยงามได้
แนวทางการเปลี่ยนอ่างอาบน้ำให้เป็นพื้นที่ยืนอาบน้ำนั้น หากอยู่ในช่วงของการรีโนเวทบ้านหรือคิดปรับปรุงห้องน้ำทั้งห้อง สามารถทำได้ง่ายกว่าการมาทำต่างหาก และจะได้ถือโอกาสในการทำระบบกันซึมพื้นห้องน้ำใหม่ทั้งหมดพร้อมกันเสียทีเดียว จะได้ไม่ต้องยุ่งยากในการต้องมาทำเองภายหลัง รวมทั้งเราจะได้ห้องน้ำที่มั่นใจและใช้งานได้อีกยาวนานพร้อมกับการได้พื้นที่ห้องน้ำเพิ่มขึ้นอีกด้วยค่ะ