Table of Contents

บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ September 21, 2023

อยากสร้างบ้าน คงเป็นความฝันของใครหลาย ๆ คน แต่การที่จะสร้างบ้านสักหลังให้ถูกใจในคราวเดียวคงเป็นเรื่องที่ยากมาก ๆ เพราะพออยู่ไปสักพักก็จะต้องมีความคิดที่จะปรับปรุงตรงนี้นิด ตรงนั้นหน่อย เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ กว่าจะลงตัวก็เกือบจะครึ่งชีวิต เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ เพราะเมื่อเราอาศัยไปนาน ๆ ความต้องการหรือประโยชน์การใช้งานก็จะค่อย ๆ ปรับไป ฉะนั้นถ้าเรารู้ไว้ก่อนว่าพื้นฐานที่บ้านต้องมีคืออะไร วิธีคำนวณงบก่อสร้างบ้านเป็นอย่างไร ก็จะช่วยให้คุณลดปัญหาต่าง ๆ ไปได้บ้าง


1.อยากสร้างบ้าน อย่าลืมนึกถึงปลั๊กไฟหน้าบ้าน

หลายบ้านมักจะนึกถึงแค่การติดตั้งปลั๊กไฟภายในพื้นที่ของตัวบ้านเท่านั้น แต่ลืมไปว่าบางทีเราก็อาจจะต้องใช้ไฟที่ด้านนอกตัวบ้านเช่น ข้างบ้าน โรงจอดรถ การติดตั้งปลั๊กไฟไว้ก็จะช่วยให้เราไม่ต้องลากสายไปมาวุ่นวาย ทั้งนี้การติดปลั๊กไฟควรติดในตำแหน่งที่เหมาะสมและควรมีฝาครอบกันสาด กันน้ำเข้าด้วย

อยากสร้างบ้าน อย่าลืมนึกถึงปลั๊กไฟหน้าบ้าน


2.ห้องเก็บของ

ห้องนี้อาจดูเหมือนไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงมีความจำเป็นมาก เพราะหากเราไม่มีห้องไว้เก็บของสักห้อง สิ่งของก็จะกองรกทั่วบ้านไปหมด ทำให้บ้านดูไม่เป็นระเบียบ

ห้องเก็บของ


3.ห้องน้ำนอกบ้านสำหรับคน อยากสร้างบ้าน

บางครั้งบ้านของเราก็อาจจะมีแขกมาเยี่ยมบ้านทั้งคนสนิทและไม่สนิท แล้วกรณีที่แขกจะขอเข้าห้องน้ำ การจะให้ใช้ห้องน้ำภายในบ้านอาจไม่สะดวกเท่าไหร่นัก การมีห้องน้ำไว้นอกบ้านจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ไปได้บ้าง

ห้องน้ำนอกบ้านสำหรับคน อยากสร้างบ้าน


4.รางน้ำฝน

เป็นส่วนสำคัญอีกอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อฝนตกหากไม่มีรางน้ำฝนมารองรับน้ำฝนจะเปียกแฉะไปทั่วบ้าน หรือใครที่จะสร้างบ้าน 3 ชั้นสิ่งนี้ก็เป็นสิ่งสำคัญและอย่าลึมศึกษากฎหมายที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน 3 ชั้นด้วย

รางน้ำฝน


5.อยากสร้างบ้าน ต้องเตรียมแทงก์เก็บน้ำ

อย่าลืมว่าบางพื้นที่น้ำประปาไหลอ่อนอาจจะขึ้นอยู่กับแรงดันน้ำ ฉะนั้นแล้วในบ้านเราจึงควรมีน้ำเก็บสำรองไว้ใช้ให้เพียงพออย่างน้อยประมาณ 3 วัน หากเกิดกรณีฉุกเฉินการรอหน่วยราชการเข้ามาช่วยเหลืออาจไม่ทันการณ์

อยากสร้างบ้าน ต้องเตรียมแทงก์เก็บน้ำ


6.ไฟใต้หลังคา

เป็นบริเวณพื้นที่ที่เราไม่ค่อยได้ใช้ประโยชน์เท่าไหร่นัก นอกเสียจากเมื่อต้องการขึ้นไปซ่อมแซมหลังคา หากไม่มีไฟใต้หลังคาก็จะทำงานได้ลำบากดังนั้นการติดไฟไว้ตามจุดต่าง ๆ ให้พอมีแสงสว่างบ้างก็ยังดี

ไฟใต้หลังคา


7.อยากสร้างบ้าน อย่าลืมพัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ

ภายในห้องน้ำทั่วไปมักจะไม่ใหญ่มาก แถมยังเป็นห้องที่จะถูกออกแบบให้มีความมิดชิดเป็นพิเศษ ซึ่งในพื้นที่แคบลักษณะนี้อากาศย่อมถ่ายเทไม่สะดวกหากต้องทำธุระในห้องนาน ๆ จะเกิดร้อนและอึดอัด การติดพัดลมดูดอากาศจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ไปได้

อยากสร้างบ้าน อย่าลืมพัดลมดูดอากาศในห้องน้ำ


8.สต็อบวาวล์ทุกจุดที่มีก๊อก

กรณีที่เกี่ยวกับระบบท่อ เช่น น้ำประปาแตก ท่อรั่ว หากติดตั้งตัวสต็อบวาวล์เอาไว้ คุณก็จะสามารถเลือกปิดจุดที่เกิดปัญหาได้เฉพาะ ไม่จำเป็นที่จะต้องไปปิดวาวล์น้ำทั้งบ้านแล้วรอจนกว่าช่างประปาจะมา

สต็อบวาวล์ทุกจุดที่มีก๊อก


9.อยากสร้างบ้าน สิ่งสำคัญคือจุดล้างมือ

บ้านไทยสมัยโบราณมักมีบ่อพักล้างเท้าก่อนขึ้นบ้าน แต่บ้านยุคใหม่เริ่มไม่ค่อยมีให้เห็นอาจจะด้วยพื้นที่ที่ไม่เอื้ออำนวย ก็จะใช้เป็นการวางผ้าเช็ดเท้าไว้แทน ส่วนจุดล้างมือควรติดตั้งไว้บริเวณสวนทำเป็นอ่างเล็ก ๆ ช่วยอำนวยความสะดวกได้แถมตกแต่งให้เก๋หน่อยก็จะกลายเป็นส่วนตกแต่งสวนไปในตัว

อยากสร้างบ้าน สิ่งสำคัญคือจุดล้างมือ


10.ไม้ยืนต้นให้ร่มเงา

ควรเริ่มปลูกต้นไม้ตั้งแต่ช่วงเริ่มก่อสร้างบ้าน เพราะกว่าต้นไม้จะเติบโตต้องใช้ระยะเวลา ยิ่งถ้าคุณปลูกไว ก็จะได้ผลไว ก่อนปลูกก็ควรดูทิศทางแสงแดดด้วยจะได้ช่วยบังแดดให้กับตัวบ้านไปในตัว นอกจากนั้นแล้วต้นไม้จะช่วยให้บ้านเย็นทำให้บรรยากาศรอบบ้านดูสดชื่น และยังลดการใช้พลังงานได้อีกด้วย

ไม้ยืนต้นให้ร่มเงา


11.ระบบสายไฟ

ก่อนที่จะเริ่มสร้างบ้านควรวางแผนไว้ก่อนตั้งแต่เริ่มออกแบบบ้าน ไม่ว่าจะเป็นสายอากาศทีวี สายลำโพง สายอินเตอร์เน็ต เพราะถ้าคุณไม่วางสายไฟให้ดีนอกจากบ้านจะดูไม่เป็นระเบียบแล้ว อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ กรณีที่เกิดสายไฟชำรุด ทางที่ดีเลือกวิธีการใส่ท่อก็จะช่วยให้ดูเป็นระเบียบสวยงามขึ้น

ระบบสายไฟ


12.ช่องแสง ช่องระบายอากาศในห้องน้ำ

ปัญหาความอับชื้นกับห้องน้ำเป็นของคู่กันมักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ดังนั้นห้องที่ดีจึงควรมีช่องระบายอากาศ และช่องทางที่แสงสามารถส่องเข้าถึง จะได้ช่วยให้ห้องน้ำแห้งไวขึ้น ไม่อับชื้นเกิดเชื้อราอีกด้วย

ช่องแสง ช่องระบายอากาศในห้องน้ำ


13.ห้องซักรีด

หากคุณแม่บ้านมีห้องซักรีดแยกออกมาไว้ซักห้อง ก็คงจะอำนวยความสะดวกสบายได้เป็นอย่างดี แต่อย่าลืมออกแบบจุดที่จะติดตั้งก๊อกหรือจุดท่อน้ำทิ้งไว้ด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมานั่งต่อเติมหรือเจาะผนังทีหลัง

ห้องซักรีด


14.ที่ตากผ้ารองรับฝน

ถ้าบ้านของคุณมีเนื้อที่เพียงพอ ก็ควรเว้นพื้นที่ไว้สำหรับตากผ้า อาจให้อยู่ในตำแหน่งที่อยู่ติดกับห้องซักรีด ด้วยการเลือกใช้หลังคาที่เป็นชนิดโปร่งแสง จะช่วยให้แสงส่องเข้ามาได้โดยตรงและยังช่วยกันฝนได้อีกด้วย เวลาที่ฝนตกก็ไม่ต้องรีบวิ่งไปเก็บผ้า

ที่ตากผ้ารองรับฝน


15.ออกแบบให้รองรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ

อย่าลืมว่าการเจ็บป่วยเป็นเรื่องปกติที่แทบทุกบ้านจะต้องพบเจอ การก่อสร้างบ้านจึงควรคำนึงถึงอนาคตไว้ด้วย กรณีที่บ้านเป็นสองชั้นก็ควรทำห้องนอนที่ชั้นล่างเผื่อไว้ ส่วนเส้นทางที่จะเข้าบ้านก็มีทางลาดเพื่อรองรับรถเข็น ห้องน้ำเพื่ออำนวยความสะดวก

ออกแบบให้รองรับผู้ป่วย ผู้สูงอายุ


ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่อยากสร้างบ้าน 3 ชั้นพร้อมการคำนวณงบ

สำหรับใครที่อยากสร้างบ้านเอง การสร้างบ้านเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความระมัดระวังในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้บ้านนั้นมีความปลอดภัย สวยงาม และเหมาะสมกับความต้องการของผู้ที่จะใช้สถานที่ในการอยู่อาศัย ในหัวข้อถัดไปจะเป็นพื้นฐานที่ควรรู้สำหรับผู้ที่อยากสร้างบ้าน โดยเฉพาะเมื่อมีความต้องการสร้างบ้านที่มีความสูงเกิน 10 เมตรและเป็นบ้าน 3 ชั้น พร้อมกับวิธีการคำนวณงบก่อสร้างบ้านให้เหมาะสมเพื่อให้คุณเข้าใจและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยด้วย


กฎหมายและข้อกำหนดในการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร

หากคุณอยากสร้างบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตร ต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันปัญหาทางกฎหมายและรักษาคุณภาพของบ้านในอนาคต โดยมีกฎหมายที่ต้องรู้ก่อนสร้างบ้าน 3 ชั้นและข้อกำหนดดังนี้

  • การเว้นระยะห่างจากถนนสาธารณะขึ้นอยู่กับความสูงของบ้าน โดยต้องเว้นระยะไม่ต่ำกว่า 6 เมตรจากศูนย์กลางถนนสำหรับบ้านที่สูงเกิน 10 เมตร และเว้นระยะไม่ต่ำกว่า 3 เมตรสำหรับบ้านที่สูงไม่เกิน 10 เมตร
  • การกันและการเปิดกันต้องมีความสูงและความกว้างที่กำหนด และผนังทึบกันต้องมีความสูง 0.50 เมตร และสามารถสร้างติดชิดกับเขตแปลงที่ดินเดียวกันได้เมื่อได้รับอนุญาตและเซ็นต์ยินยอมจากที่ดินข้างเคียง
  • การเว้นระยะว่างของอาคารต้องมีการเว้นระยะว่างโดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตรสำหรับอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร และไม่น้อยกว่า 2 เมตรหรือต้องมีการกั้นด้วยผนังทึบความสูง 1 เมตรสำหรับอาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร
  • ต้องมีพื้นที่ว่างที่ปราศจากหลังคาอย่างน้อย 30%
  • บ้านที่มีความสูงเกิน 2 ชั้นและพื้นที่ใช้สอยเกิน 150 ตารางเมตรต้องมีการคำนวณและลายเซ็นโดยสถาปนิกและวิศวกร รวมถึงใบควบคุมงานจากทั้งสองฝ่าย
  • ต้องมีพื้นที่สำหรับการทำช่องทางเดินอย่างน้อย 1 เมตร
  • ห้องนอนจะต้องมีความกว้างด้านแคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.5 เมตร และพื้นที่จะต้องมีไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร
  • ต้องมีความสูงจากพื้นไปจนถึงเพดานภายในตัวบ้านไม่น้อยกว่า 2.6 เมตร
  • การทำบันไดของบ้านต้องมีบันไดกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร สูงไม่เกิน 3 เมตร ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 เซนติเมตร และลูกนอนต้องกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
  • ต้องมีพื้นที่ห้องน้ำและห้องส้วมไม่ต่ำกว่า 0.9 ตารางเมตรในแต่ละห้อง และหากห้องส้วมหรือห้องอาบน้ำมีการใช้งานร่วมกัน ต้องมีพื้นที่ของบ้านไม่ต่ำกว่า 1.5 ตารางเมตร
  • ต้องติดตั้งระบบเตือนอัคคีภัยและเครื่องดับเพลิงตามแบบที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างบ้าน
  • ต้องมีระยะห่างระหว่างประตูหน้าต่างของบ้านกับรั้วอย่างน้อย 3 เมตร

วิธีการคำนวณงบก่อสร้างบ้านให้เหมาะสม

การคำนวณงบก่อสร้างบ้านเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้คุณวางแผนและปรับปรุงการก่อสร้างบ้านให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถทางการเงินของคุณ โดยวิธีคำนวณงบก่อสร้างบ้านให้ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยให้คุณมีการบริหารงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ และลดความเสี่ยงในการเกิดค่าใช้จ่ายเกินกว่าที่คุณสามารถรับได้ ซึ่งมีวิธีดังนี้

1. กำหนดความต้องการของคุณ
ในการคำนวณงบก่อสร้างบ้าน คุณควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดความต้องการของคุณให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เช่น จำนวนสมาชิกในครอบครัว  จำนวนห้องนอนที่ต้องการ และการใช้งานอื่น ๆ ที่คุณต้องการในบ้าน เพื่อให้คุณสามารถเลือกบ้านที่ตรงกับความต้องการของคุณได้ดียิ่งขึ้น

2. คำนวณจำนวนห้องและพื้นที่ใช้สอย
หลังจากกำหนดความต้องการของคุณแล้ว คุณต้องคำนวณจำนวนห้องและพื้นที่ใช้สอยในบ้าน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการสร้างบ้านที่มี 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ 1 ห้องทำงาน 1 ห้องครัวขนาดใหญ่ และ 2 ที่จอดรถ คุณต้องคำนวณพื้นที่ประมาณ 135.2 – 156 ตารางเมตร โดยคำนวณจากพื้นที่ของแต่ละห้องและบวกพื้นที่ในบ้านอื่น ๆ พร้อมกับเพิ่มพื้นที่อีกประมาณ 30-50% ของพื้นที่บ้าน

3. คำนวณต้นทุนการก่อสร้างบ้าน
สำหรับมือใหม่ที่ต้องการคำนวณต้นทุนการก่อสร้างบ้าน ควรเปรียบเทียบราคาและข้อเสนอจากบริษัทหลาย ๆ แห่ง หรือติดต่อบริษัทรับสร้างเพื่อคำนวณต้นทุนเหมาตามพื้นที่บ้านที่ต้องการก่อสร้าง โดยคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น การซื้อวัสดุก่อสร้าง ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบ้านด้วย


เมื่อคุณได้รู้เกี่ยวกับแนวทางพื้นฐาน 15 ข้อสำหรับการสร้างบ้านและศึกษากฎหมายและข้อกำหนดในการสร้างบ้าน 3 ชั้นที่มีความสูงเกิน 10 เมตรพร้อมวิธีการคำนวณงบก่อสร้างบ้านที่เหมาะสมไปแล้ว เชื่อได้เลยว่าคุณจะสามารถวางแผนการสร้างบ้านของคุณได้อย่างมั่นใจและตั้งใจเต็มที่ไปสู่ความสำเร็จและความสุขของคุณในอนาคตที่ใกล้มากขึ้นอย่างแน่นอน!

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save