บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 29, 2023
ระบายความร้อน ให้บ้านเก่า กับ 5 เคล็บลับคลายร้อนให้บ้าน เย็นราวกับบ้านใหม่
ระบายความร้อน คงเป็นสิ่งที่ใคร ๆ ต้องการมากที่เวลามีบ้าน อย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว่าภูมิอากาศของบ้านเราจะมีลัษณะร้อนจนถึงร้อนที่สุด บางวันก็อาจจะมีฝนนอกฤดูกาลมาพอให้ชุ่มฉ่ำกันบ้าง ส่งผลให้โครงการบ้านจัดสรรยุคใหม่ๆในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่จะออกแบบโดยคำนึงถึงเรื่องการป้องกันความร้อนเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ทั้งเรื่องของหลังคา ผนังของตัวบ้าน หรือกระจกตัดแสงเพื่อช่วยลดความร้อน แต่ถ้าหากเป็นบ้านเก่าๆที่สร้างขึ้นมานานแล้ว ซึ่งแน่นอนว่าย่อมไม่ได้สร้างสิ่งป้องกันความร้อนไว้เลย ดังนั้น เราเลยจะมาแนะนำวิธีการซ่อมแซมดูแลบ้านที่จะช่วยให้บ้านเก่าเย็นได้ไม่แพ้บ้านรุ่นใหม่ๆค่ะ
1.ทำความเย็นให้กับหลังคา
ถ้าจะให้จัดอันดับส่วนประกอบของบ้านที่โดนแสงแดดเต็มๆตลอดทั้งวันนับตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกคงหนีไม่พ้นส่วนที่เป็น “หลังคา” ดังนั้นจึงเป็นส่วนแรกที่ควรเริ่มปรับปรุงก่อน เพราะหากว่าเราทำหลังคาให้เย็นขึ้นได้ก็จะช่วยลดอุณหภูมิในบ้านเช่นกัน โดยมีวิธีการแก้ไขคือ
- ยกหลังคาบ้านใหม่ กรณีที่เจ้าของบ้านมีงบประมาณมากหน่อย อาจเลือกใช้วิธีเปลี่ยนหลังคาบ้านใหม่ด้วยการใช้เป็นสีขาวหรือสีอ่อนเพื่อจะได้ช่วยสะท้อนความร้อน หรือทำเป็นหลังคา 2 ชั้น พร้อมเสริมด้วยวัสดุกันร้อนต่างๆเสริมเข้าไป ซึ่งวิธีนี้นอกจากจะช่วยให้หลังคาเย็นลงได้ยังถือโอกาสได้ตรวจสอบซ่อมแซมหลังคาหากพบรอยรั่วซึมไปในตัวอีกด้วย
- เสริมวัสดุกันความร้อน แต่หากว่าเจ้าของบ้านมีงบประมาณไม่มากพอ ก็ใช้วิธีเสริมวัสดุกันความร้อนใต้หลังคาเพียงอย่างเดียวก็ได้ ซึ่งในปัจจุบันมีวัสดุหลากหลายรูปแบบที่จะนำมาเสริมช่วยป้องกันความร้อนบริเวณหลังคาได้ อย่างเช่น พวกฉนวนกันความร้อน, ฉนวนป้องกันและกักเก็บความเย็น, โฟมชนิดพิเศษที่ผลิตขึ้นมากันความร้อน ฯลฯ โดยถ้าเจ้าของบ้านพอมีทักษะทางช่างก็สามารถนำวัสดุเหล่านี้ไปติดตั้งบริเวณใต้หลังคาด้วยการเปิดฝ้าที่อยู่บริเวณต้องการปูออก แล้วเริ่มปูซึ่งจะปูทั้งหมดหรือปูบางส่วนก็ได้ แต่ถ้าไม่มีความชำนาญก็ควรจ้างช่างมาปลูกจะดีกว่า ทั้งนี้ก่อนจะเลือกใช้วิธีนี้ต้องตรวจสอบก่อนว่าโครงสร้างของฝ้ามีความแข็งแรงมากพอที่จะรองรับพวกวัสดุกันความร้อนหรือไม่
- ติดตั้งหัวฉีด Sprinker บนหลังคา หรือพ่นน้ำบนหลังคาวิธีการนี้ใช้หลักการความคิดขั้นพื้นฐานง่ายๆ คือ “ถ้าหลังคาร้อน บ้านก็ร้อน” ฉะนั้นการทำให้หลังคาเย็นด้วยการฉีดน้ำ ก็จะสามารถทำให้บ้านเย็นขึ้นได้ ซึ่งวิธีการแบบนี้เรามักจะเห็นตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือร้านอาหารบางร้านที่นำหลักการนี้มาใช้เพื่อลดความร้อน อย่างไรก็ดีสามารถนำหลักการนี้มาใช้ประยุกต์กับบ้านด้วยก็ได้ โดยเจ้าของบ้านที่พอมีทักษะทางการช่าง อาจจะเดินสายน้ำทำทุกอย่างเองได้ แต่ถ้าเจ้าของบ้านท่านใดไม่มีทักษะก็คงต้องจ้างช่างมาดำเนินการให้ เพราะวิธีการนี้จะมีข้อควรระวังหลายอย่างทั้งเรื่องระบบต่างๆให้เปิดปิดน้ำได้สะดวก ปลอดภัย ไม่มีปัญหากับระบบไฟฟ้า รวมถึงต้องตรวจสอบด้วยว่าหลังคาสามารถรับน้ำหนักได้ ไม่ก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมในภายหลัง
2.ทำผนังบ้านให้เย็น
บ้านทาวน์เฮ้าส์อาจจะได้เปรียบในข้อนี้เพราะผนังตัวบ้านซ้ายขวาจะติดกับเพื่อนบ้านจึงไม่ต้องผจญกับแสงแดด ยกเว้นบ้านที่อยู่หัวมุมจะมีผนังอีกฝั่งที่ต้องเจอกับแสงแดดบ้าง ส่วนบ้านเก่าที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยวก็ใช้เป็นวิธีปลูกต้นไม้ ซึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อที่และงบประมาณของเจ้าของบ้านด้วยว่าจะสามารถซื้อต้นไม้มาปลูกได้มากแค่ไหน แต่ถ้าหากมีงบประมาณมากหน่อยก็ใช้เป็นวิธีติดตั้งแผงระแนงกันแดดเสริมตามทิศทางที่แดดส่องอยู่เป็นประจำ เพื่อลดการเข้ามาของแสงแดด
3.ติดม่าน หรือ ติดต้นไม้บริเวณหน้าต่าง
หากว่าเจ้าของบ้านยังมีงบประมาณไม่มากพอ อาจจะเลือกใช้เป็นวิธีกันความร้อนแค่ตรงหน้าต่างก็ได้ ด้วยการติดผ้าม่าน 2 ชั้น หรือชั้นเดียว โดยต้องการระดับความหนาเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับความชอบ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดความร้องไปได้บ้าง แต่หากบ้านไหนที่ไม่ต้องการติดผ้าม่านเพราะกลัวเรื่องการบังทิศทางลม ก็ใช้เป็นต้นไม้หรือใช้เป็นไม้แขวนแทน เพื่อช่วยลดการเข้ามาของแสงได้ในระดับหนึ่ง
4.เลือกใช้กระจกตัดแสงเพื่อกันความร้อน
เหมาะกับคนที่มีแผนจะเปลี่ยนกระจกบานเก่าให้ทันสมัยขึ้น ก็ถือโอกาสนี้เลือกกระจกชนิดตัดแสงกันความร้อนได้เลย เพราะกระจกจะเป็นอีกช่องทางที่จะดูดความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านโดยตรง ซึ่งในปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบและหลายระดับราคา แต่ถ้ายังไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนกระจกก็ให้ใช้เป็นการติดฟิลม์กันความร้อนได้เหมือนกัน
5.ทาสีบ้านใหม่
การเลือกสีบ้านก็เป็นตัวช่วยที่ดี โดยเฉพาะเลือกสีโทนอ่อนๆเพื่อช่วยลดการอมความร้อน หรือจะเลือกเป็นสีที่มีคุณสมบัติพิเศษป้องกันความร้อน ซึ่งมีสีหลายยี่ห้อที่ผลิตออกมาให้เลือกตามความต้องการ
วิธีการที่แนะนำมานี้เป็นวิธีที่จะช่วยลดอุณหภูมิให้กับบ้านได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งถ้าหากเจ้าของบ้านยังไม่มีงบประมาณพอหรือยังไม่พร้อมที่จะดำเนินการ ดังนั้นวิธีง่ายที่สุดก็คือการหาต้นไม้มาปลูกให้รอบบ้านความร่มรื่นของต้นไม้จะช่วยในการดูดซับความร้อนของบ้านได้เป็นอย่างดี
เคล็ดลับเรื่องหลังคาให้เข้ากับตัวบ้าน และเลือกใช้วัสดุที่ทนต่ออากาศร้อน
การเลือกวัสดุมุงหลังคาเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างบ้าน เพราะช่วยเนรมิตรูปลักษณ์ภายนอกบ้านให้โดดเด่น สวยงาม แตกต่างจากบ้านอื่น ดังนั้นควรพิจารณาอย่างละเอียดเมื่อเลือกวัสดุมุงหลังคา โดยคำถามยอดฮิตคือจะใช้วัสดุมุงหลังคาแบบไหนดี โดยเรามีมาข้อมูลที่น่าสนใจแลเป็นประโยชน์มาแนะนำดังนี้เลย
1. เลือกตามความชอบส่วนตัว
รวมถึงการเลือกกระเบื้องหลังคาควรพิจารณารูปแบบและสไตล์บ้าน เช่น กระเบื้องรูปทรงข้าวหลามตัดเหมาะกับบ้านสไตล์โคโลเนียลและไทยประยุกต์ กระเบื้องลายไม้เหมาะกับบ้านสไตล์เนเชอรัล และบ้านสไตล์โมเดิร์นควรใช้กระเบื้องแผ่นเรียบ ส่วนการเลือกสีควรเหมาะสมกับสีของตัวบ้าน
2. เลือกจากชนิดของวัสดุที่ใช้มุงหลังคา
วัสดุมุงหลังคาแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กระเบื้องหลังคาที่เป็นคอนกรีตแข็งแรง กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์บางเบา กระเบื้องหลังคาเซรามิกเงางามและสามารถล้างคราบสกปรกได้ง่าย และกระเบื้องหลังคาดินเผาเหมาะกับบ้านสไตล์ย้อนยุค
3. วัดระยะความชันของหลังคาให้เหมาะสม
การเลือกวัสดุมุงหลังคาต้องคำนึงถึงความชันของหลังคา เนื่องจากวัสดุแต่ละรุ่นมีความชันขั้นต่ำที่เหมาะสมแตกต่างกันออกไป หากเลือกวัสดุที่ไม่เหมาะกับความชันของหลังคาอาจเกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้ในภายหลัง หากหลังคาบ้านสไตล์โมเดิร์นมีความชันต่ำเกินไป ควรเลือกใช้วัสดุอื่นแทน เช่น แผ่นหลังคาเหล็กรีดลอน และควรใช้มุงหลังคาที่มีความชันต่ำมากๆ พร้อมติดตั้งฉนวนกันเสียงและฉนวนกันความร้อนเพิ่มเติม เพื่อลดเสียงดังและความร้อนในบ้าน
สิ่งสำคัญสำหรับการเลือกสีบ้าน มีอะไรบ้างที่ควรรู้
สำหรับสิ่งสำคัญของการทาสีบ้านต้องมีเทคนิคในการทาสีบ้านให้เรียบเนียนและมีอายุการใช้งานได้ในระยะยาว ควรหาข้อมูลให้ดีเสียก่อนเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นและเสียเวลาแก้ไขและเสียเงินทำใหม่โดยการเลือกสีของตัวบ้านนั้นถือว่ามีองค์ประกอบสำคัญอยู่หลายอย่างด้วยกันไม่ใช่เพียงแค่ในเรื่องของความสวยงามเท่านั้น หากคุณเลือกใช้สีได้ทุกชนิดบ้านของคุณก็ยังมีคุณสมบัติทนต่ออากาศร้อน หรือทนต่ออากาศชื้น ซึ่งสีแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยปัจจัยการเลือกสีทาบ้านก็จะมีดังนี้
1. เลือกจ้างช่างทาสี ที่มีความชำนาญ
หากต้องการจ้างช่างทาสี ควรหาข้อมูลจากผู้ใช้บริการช่างเจ้าที่คุณสนใจและดูผลงานที่ผ่านมาของช่างประกอบไปด้วย และเรียกช่างมาดูสถานที่และตีราคาค่าทาสี รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น การเตรียมพื้นผิวผนัง และค่าอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบราคาและผลงานให้เหมาะสมและคุ้มค่ามากที่สุด ก่อนเริ่มงานควรตกลงร่วมกันเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานต่างๆ เช่น การทาสี, การเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์และการทำความสะอาดหลังทาสีเสร็จเรียบร้อย, วิธีการชำระเงิน, ค่ามัดจำ, การแบ่งจ่ายในแต่ละงวด และการรับประกันผลงาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง เช่น สีหลุดร่อนออกมา สีซีดจางก่อนเวลา ฯลฯ
2. คำนึงถึงคุณภาพของสี
การเลือกใช้สีคุณภาพดีและมีสารเคมีที่ปลอดภัย เช่น Low-VOC หรือ Non-VOC เป็นสิ่งสำคัญในการทาบ้าน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว เนื่องจากสาร VOCs ที่มีอยู่ในสีน้ำทาอาคารสามารถเข้าสู่ร่างกายและส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ และหากได้รับสารนี้นานๆ อาจเกิดโรคมะเร็งได้ ซึ่งสำหรับการเลือกสีทาบ้านนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ ควรจะคำนึงถึงในเรื่องของความปลอดภัย รวมถึงในเรื่องของค่าใช้จ่ายเองก็ถือว่ามีส่วนสำคัญด้วยเช่นกัน
สำหรับในปัจจุบันในเรื่องของปัญหาอากาศร้อนของประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่แก้ไขได้ยาก ซึ่งวิธีป้องกันหรือช่วยบรรเทาอากาศร้อนนั้นจะมีขั้นตอนที่สามารถทำได้เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น โดยจะเริ่มที่การเลือกหลังคา หากใช้หลังคาที่ถูกต้องและทนต่อความร้อนรวมถึงไม่ดูดซับอากาศร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน ก็จะช่วยลดอากาศร้อนภายในบ้านได้ รวมถึงการเลือกสีในการทาบ้านด้วยเช่นกัน หากเลือกสีได้ทุกชนิดรวมถึงเป็นสีที่มีคุณภาพหรือมีคุณสมบัติในเรื่องของการทนทานต่อความร้อนหรือไม่ดูดทรัพย์แสงแดดเข้าสู่ผนังบ้าน ในเรื่องนี้ก็สามารถช่วยให้ตัวบ้านนั้นมีอากาศเย็นมากกว่าปกติได้ด้วยเช่นกัน
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon