บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ October 5, 2023

ระบบไฟฟ้าในบ้าน เทคนิคการซ่อมที่คุณควรรู้

ระบบไฟฟ้าในบ้าน เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรใส่ใจ เพราะถ้าให้พูดถึงเรื่องการซ่อมแซมบ้านส่วนใหญ่แล้วเรามักจะนึกไปถึงโครงสร้าง ผนัง พื้น หรือระบบสุขาภิบาล แต่มีสิ่งหนึ่งที่คนจะไม่ค่อยนึกถึงกันก็คือระบบไฟฟ้าภายในบ้านนั่นเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเรื่องระบบไฟฟ้าทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและวงจรไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เนื่องจากเมื่อเราใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าไปเป็นเวลานานๆย่อมที่จะเกิดการชำรุดเสียหาย ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ การขาดความรู้ ความเข้าใจ ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือแม้กระทั่งเกิดจากสภาพการใช้งานของตัวไฟฟ้าเอง แต่เมื่อไหร่ที่มีความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว เราก็ควรที่จะต้องเร่งดำเนินการแก้ไขก่อนที่จะส่งผลเสียหรืออันตรายผู้ใช้หรือต่อทรัพย์สินภายในบ้าน เช่น การเกิดไฟฟ้าลัดวงจร การเกิดอัคคีภัย เป็นต้น

ดังนั้นเพื่อให้เจ้าของบ้านได้ทราบถึงวิธีการปฎิบัติซ่อมแซมบ้านที่ถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนั้นยังสามารถนำไปใช้ในการช่วยเหลือผู้อื่นได้ เราจึงมีแนวทางในการตรวจสอบและซ่อมแซมเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าดังนี้


1.กรณีที่พบสายไฟขาดหรือมีรอยฉีกขาด ควรทำการซ่อมแซมและแก้ไขบ้านด้วยการตัดและต่อสายไฟใหม่ แต่ถ้าพบกว่าสายไฟมีสภาพที่ค่อนข้างเก่ามีอายุการใช้งานมาหลายปีแล้วก็ให้ทำการเปลี่ยนสายไฟใหม่แต่ต้องต่อให้ถูกวิธีและตรวจสอบแน่นหนา เพราะการใช้สายไฟเก่าเป็นอันตรายมาก เสี่ยงต่อการเกิดสายไฟช๊อต หรือเส้นทองแดงที่อยู่ภายในมีการฉีกขาดได้

กรณีที่พบสายไฟขาดหรือมีรอยฉีกขาด


2.กรณีที่หลอดไฟไม่ติดหรือดับ สาเหตุอาจจะมาจากหลอดขาด ก็ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าทดสอบแล้วหลอดไม่ได้ขาดก็ให้ลองตรวจสอบที่สวิทช์ไฟว่าเสีย สายขาด หรือมีการลัดวงจรเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้าพิจารณาดูแล้วว่าไม่ได้เกิดจากปัญหาเหล่านี้ ก็ให้ทำการเปลี่ยนหรือเช็ควงจรและไล่สายใหม่อีกครั้ง

กรณีที่หลอดไฟไม่ติดหรือดับ


3.กรณีปลั๊กหรือเต้ารับ ไม่มีไฟ อาจจะเกิดจากสายข้างในขาด, เกิดจากการลัดวงจร ถ้าตรวจสอบพบก็ให้ต่อวงจรใหม่ให้เรียบร้อย แต่ถ้าเช็คดูแล้วว่าไม่ได้เกิดจากสายไฟขาดก็ควรไปดูที่คัทเอ้าท์ และฟิวส์ที่แผงควบคุม เพราะอาจจะเป็นที่ฟิวส์ขาด หรือถ้าใช้เป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ก็ให้ลองสับสวิทช์ดูใหม่

กรณีปลั๊กหรือเต้ารับ ไม่มีไฟ


4.กรณีที่ไฟฟ้าภายในบ้านดับบ่อย สาเหตุมาจากแผงควบคุมไฟฟ้าตัดไฟ ลองตรวจสอบดูว่าขนาดของฟิวส์มีขนาดเล็กเกินไปหรือไม่ก็ควรเปลี่ยนให้มีขนาดที่เหมาะสมกับการใช้งานภายในบ้านหรือสถานที่ แต่ถ้าขนาดฟิวส์ที่ใส่อยู่เหมาะสมดีแล้ว ให้ลองไปตรวจสอบดูอุปกรณ์อื่นๆ เช่น เต้ารับ สวิทช์ไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กำลังเสียบใช้งานอยู่ภายในบ้าน อาจมีความผิดปกติเกิดขึ้นเช่นมีการลัดวงจร ให้รีบทำการแก้ไขโดยเร่งด่วนและถ้าพบว่ามีการใช้กระแสไฟเกินต้องแจ้งไปที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อที่จะได้ให้เจ้าหน้าที่มาทำการแก้ไขในลำดับต่อไป

กรณีที่ไฟฟ้าภายในบ้านดับบ่อย


5.กรณีที่พบว่ามีเสียงดังผิดปกติที่บริเวณสวิทช์ไฟ หรือที่แผงควบคุมไฟฟ้า ซึ่งน่าจะมาจากหน้าสัมผัส (Contact)ของอุปกรณ์นั้นมีความร้อนสูงเกิดขึ้น หรือมีสิ่งแปลกปลอมที่บริเวณหน้าสัมผันนั้นให้รีบทำการแก้ไขโดยเร็วที่สุด

กรณีที่พบว่ามีเสียงดังผิดปกติที่บริเวณสวิทช์ไฟ หรือที่แผงควบคุมไฟฟ้า


6.บางครั้งเราอาจจะได้ยินเสียงช็อตเบา ๆ ออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ให้ลองไปตรวจสอบดูที่บัลลาสต์ว่าหลวมหรือไม่ และหากว่ามีหลอดไฟติดๆดับๆอาจจะเป็นที่สตาร์ทเตอร์เกิดการเสื่อมสภาพ ให้ทำการเปลี่ยนใหม่ แต่ถ้าเป็นที่บริเวณขั้วหลอดดำก็ควรที่จะเปลี่ยนหลอดใหม่เช่นเดียวกัน

บางครั้งเราอาจจะได้ยินเสียงช็อตเบา ๆ ออกมาจากหลอดฟลูออเรสเซนต์


7.ในช่วงของการปฎิบัติงาน เพื่อความไม่ประมาท ควรดำเนินการสวมถุงมือด้วยทุกครั้ง หรือต้องตัดวงจรที่แหล่งจ่ายไฟออกเสียก่อน พร้อมทั้งเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับการทำงานประเภทนั้นๆ เช่น การใช้ไขควงที่ไว้สำหรับตรวจสอบกระแสไฟฟ้าเช็คไฟไปตรวจดูที่บริเวณที่จะทำการแก้ไขนั้นว่ามีไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ด้วยหรือเปล่า ถ้าพบว่ายังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ ให้หยุดทำงานโดยทันทีแล้วตรวจสอบดูว่าเกิดไฟฟ้ารั่วจากจุดไหน เพราะอุบัติเหตุร้ายแรงจะไม่เกิดขึ้นหากเราไม่ประมาท

ในช่วงของการปฎิบัติงาน


8.ควรมีความเข้าใจในตัวเองก่อนว่า เราไม่ใช่ผู้ชำนาญการหรือเรียนจบมาทางด้านการซ่อมแซมแก้ไขเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าโดยตรง ฉะนั้นอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดเราก็ไม่สามารถที่จะดำเนินการแก้ไขเองได้ จึงไม่ควรเสี่ยงเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินการเองเพราะอาจเกิดความเสียหายขึ้นได้ ทางที่ดีก็ควรเรียกช่างที่มีความเชี่ยวชาญให้เข้ามาดูแลแก้ไขแทนจะดีกว่า

ควรมีความเข้าใจในตัวเองก่อนว่า


9.ในการแก้ไขอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า ควรทำแบบระมัดระวังและควรตรวจสอบอย่างละเอียดให้ดี รวมทั้งไม่ทำการซ่อมแซมตามขั้นตอนที่ได้ศึกษาหรือมีความรู้ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

ในการแก้ไขอุปกรณ์และวงจรไฟฟ้า


การดูแลรักษาบ้านไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอยู่ที่ว่าเจ้าของบ้านมีความใส่ใจและหมั่นตรวจสอบบ้านมากน้อยแค่ไหน เพราะถ้าเราคอยดูแลบ้านอยู่ตลอดเวลา ก็จะช่วยป้องกันเหตุการณ์ร้ายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเรื่องของระบบไฟฟ้าถือว่าเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นมาก จะเห็นได้จากข่าวเวลาที่เกิดอัคคีภัยส่วนใหญ่มักเกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรอันเนื่องมาจากการใช้สายไฟที่เก่า เสื่อมสภาพ ถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาสนใจบ้าน


ข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการเดินสายไฟแบบฝังผนัง และแบบลอย

การตัดสินใจเดินสายไฟในบ้านหรืออาคารประเภทนี้มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือการเดินไฟแบบฝังผนังและการเดินไฟแบบเดินลอย การเลือกเดินไฟที่ดีมีคุณภาพและตรงโจทย์กับการออกแบบที่สวยงามจะช่วยให้คุณได้ทั้งความปลอดภัยและทัศนียภาพที่สวยงามของบ้านหรือภายในห้อง การเดินสายไฟแบบเลื้อยแนบผนังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากในการจัดเก็บสายไฟ โดยมีวิธีตีกิ๊บและร้อยท่อเป็นแบบหลัก ๆ วิธีตีกิ๊บจะเห็นเส้นสายไฟขนาดใหญ่แนบติดผนัง ส่วนวิธีร้อยสายจะผ่านท่อ PVC หรือท่อเหล็กแบบยึดผนัง มีความเหมาะสมกับการออกแบบบ้านในสไตล์ Loft Industrial Style เป็นอย่างมาก

การเดินสายไฟแบบฝังผนัง เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านทั่วไปและอาคารสถานที่ต่าง ๆ โดยการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟที่ฝังไว้ในผนังและฝ้าเพดาน ทำให้ไม่มีสายไฟและท่อสายไฟที่เห็นได้บนผนังบ้าน การเดินสายไฟแบบฝังผนังมีความสวยงามและมีมาตรฐานคุณภาพที่ทนทานในการใช้งานยาวนาน ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่วไหล และเหมาะสำหรับบ้านที่ใช้ผนังเบา เนื่องจากมีขั้นตอนติดตั้งที่ไม่ยุ่งยาก และมีโครงที่ทำให้เดินสายไฟได้ง่าย และหากบ้านของคุณเป็นผนังก่ออิฐ การซ่อนสายไฟในผนังอิฐเป็นเรื่องยุ่งยาก แนะนำให้วางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดีและใช้ช่างผู้ชำนาญ และต้องเช็กงานและตรวจตราอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง


วิธีการดูแลบ้าน และตรวจเช็คสภาพของบ้าน รวมถึงระบบไฟ

การดูแลบ้านเปรียบเสมือนการดูแลรักษาร่างกายของคนมนุษย์ ซึ่งเจ้าของบ้านควรตรวจสอบทุกซอกทุกมุมของบ้านอยู่เสมอ เช่น สายไฟในบ้านจุดไหนที่ชำรุด, หลังคารั่ว, ท่อระบายน้ำมีสภาพตัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยได้น้อยลง รวมถึงการตรวจสอบโครงสร้างของพื้นหรือผนังเพื่อหารอยร้าวเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลบ้าน เมื่อพบรอยร้าวขนาดใหญ่ควรแจ้งช่างหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบโครงสร้างในทันที

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญ และควรจะเป็นสิ่งแรกที่เริ่มตรวจสอบนี่คือเรื่องของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน วิธีตรวจเช็คระบบไฟด้วยตัวเอง ควรเริ่มตรวจสอบเบรกเกอร์ และระบบตัดไฟอัตโนมัติ รวมถึงระบบไฟ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายภาคหน้า และเพื่อความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้าในบ้าน ควรตรวจสอบหลอดไฟให้แน่ใจว่าทุกดวงพร้อมใช้งาน และตรวจสอบสายไฟในบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว นอกจากนี้ควรติดตั้งสวิทช์ไฟที่อยู่นอกบ้านพร้อมกับตัวกั้นน้ำป้องกันเวลาฝนตก และหากพบว่ามีไฟรั่วให้เรียกช่างมาดูแลซ่อมแซมโดยเร็ว


สำหรับระบบไฟฟ้าภายในตัวบ้านนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนมาก หาเจ้าของบ้านไม่มีความรู้มากพอควรจะเริ่มจ้างทีมช่างที่ประสบการณ์หรือมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องของระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการตรวจเช็คระบบไฟฟ้าภายในบ้าน รวมถึงการเลือกใช้วัสดุในการเดินสายไฟ สำหรับบ้านใหม่ที่มีแพลนกำลังจะก่อสร้างหรือต่อเติม การติดตั้งสายไฟแบบฝังผนังถือว่าเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และด้วยนวัตกรรมที่ทันสมัยในปัจจุบันนี้ก็สามารถติดตั้งและติดตั้งระบบซ่อมบำรุงซึ่งสามารถทำได้ง่ายดายด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ระบบเหล่านี้ควรจะต้องมีการตรวจเช็คอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของระบบความปลอดภัยการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ไปจนถึงการตรวจเช็คสภาพบ้านโดยรวม เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีปัญหาที่จะมารบกวนผู้อยู่อาศัย

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon