+6687 678 6606 [email protected]

รอยร้าว ของบันไดปูน กับ เทคนิคซ่อมง่าย  ๆ ที่คุณก็ทำได้

รอยร้าว ของบันไดปูน เป็นอีกหนึ่งปัญหาหนักอกของเจ้าของบ้านอีกอย่างที่ไม่ค่อยอยากพบเจอเสียเท่าไหร่นัก แต่ก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากละเลยมองข้าม อาจจะเกิดปัญกาได้ในภายหลัง ถ้าเราหมั่นตรวจสอบเป็นประจำ เราก็จะสามารถที่จะซ่อมแซมเองในเบื้องต้นได้ โดยที่ไม่ต้องจ้างช่างมาซ่อมแซมให้เสียเวลาและเงินทอง ฉะนั้นเราลองมาดูวิธีการจัดการซ่อมรอยแตกร้าวของบันไดปูนกันดีกว่าค่ะ

รอยร้าว

ขั้นแรกเราจะต้องดูก่อนว่าสาเหตุของการแตกร้าวที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสาเหตุอะไร โดยส่วนมากสาเหตุหลักที่ทำให้บันไดปูนแตกร้าว มักจะเกิดจากการใช้งานมาเป็นระยะเวลานาน เพราะบันไดคือส่วนสำคัญของบ้านที่คนในครอบครัวจะต้องมีการผ่านเดินขึ้น เดินลงอยู่ทุกวัน หรือบางครั้งอาจเกิดจากตั้งแต่ที่เริ่มมีการก่อสร้างคือส่วนผสมของปูนไม่เหมาะสม ปูนที่ฉาบมีลักษณะที่บางเกินไป, ปูนแห้งเร็วกว่าปกติเพราะไม่ได้ทำการบ่มไว้ก่อนเพื่อให้มีความแข็งแรง, เกิดจากปัญหาโครงสร้างภายใน, เกิดจากปัจจัยภายนอกเช่นมีการตอกเสาเข็มหรือกระแทกแรงๆรอบๆบ้าน เป็นต้นส่วนวิธีการซ่อมแซมรอยแตกร้าวของบันไดปูน เมื่อเราได้ประเมินถึงรอยร้าวของบันไดปูนที่เกิดขึ้นแล้ว ว่าไม่รุนแรงมาก สามารถที่จะดำเนินการซ่อมเองได้ เราก็สามารถเริ่มได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

คุณอาจสนใจบทความที่เกี่ยวข้อง อ่านต่อ แบบบันได สวย ๆ ปรับลุคให้บ้านใหม่ด้วย 3 บันไดสุดแนวอินดี้


  1. สำรวจจุดที่เกิดการแตกร้าว และทำเครื่องหมายไว้ เพื่อที่เวลามาซ่อมแซมเราจะได้รู้ว่าต้องซ่อมจุดไหนบ้าง เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลามาหารอยแตกร้าวอีก และจะได้ซ่อมแซมได้ตรงกับจุดที่เกิดปัญหาจริงๆ
  2. สกัดตรงบริเวณที่เกิดรอยแตกร้าว เพื่อขยายให้มีขนาดกว้างขึ้นประมาณครึ่งนิ้ว เผื่อไว้ให้เราสามารถใส่ปูนซ่อมเข้าไปได้ลึกและมากขึ้นจะได้เพิ่มความแข็งแรงมากกว่าเดิม
  3. ใช้แปรงปัดทำความสะอาดพวกเศษปูนและเศษฝุ่นออกให้หมดหรือถ้าไม่สามารถเอาออกได้หมดก็พยายามให้ออกได้มากที่สุด แล้วล้างซ้ำด้วยน้ำไปอีกที พอล้างจนรู้สึกว่าสะอาดดีแล้วก็ราดน้ำให้เนื้อปูนดูดซับน้ำเข้าไปจนชุ่ม จะได้เป็นการช่วยให้สามารถยึดเกาะกับปูนซ่อมได้ดีมากยิ่งขึ้น
  4. ควรเลือกปูนซีเมนต์ที่เป็นชนิดซ่อมแซมโครงสร้างแบบไม่หดตัว มาใช้ในการซ่อมแซมสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายวัสดุก่อสร้างทั่วไป การที่แนะนำให้เลือกปูนซีเมนต์พิเศษชนิดนี้ก็เพราะคุณสมบัติในการแทรกซึมเข้าไปข้างในรอยแตกของโครงสร้างได้ดีเยี่ยม มีความแข็งแรง เวลาที่แห้งก็ไม่หดตัว ทำให้สามารถที่จะรองรับน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการที่จะไปใช้ในการซ่อมแซมบริเวณที่ต้องมีการรับน้ำหนักมากๆอย่างเช่นบันไดที่ต้องรับน้ำหนักทุกวัน
  5. ผสมปูนซีเมนต์ซ่อมแซมโครงสร้างเข้ากับน้ำให้เกิดความหนืดข้นไม่เหลวจนเกินไป แล้วนำเกรียงฉาบตักแล้วปาดฉาบเข้าไปตรงที่เกิดรอยแตก พยายามตักปูนให้เข้าไปได้มากที่สุด และกดไว้ไม่ให้เนื้อปูนไหลออกมา ยิ่งเข้าไปลึกมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลให้เกิดความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น เมื่อใส่ปูนเข้าไปแล้วก็ให้ทำการฉาบให้เรียบปิดทับรองอีกทีหนึ่ง
  6. หลังจากเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว ก็ทิ้งให้แห้งสนิทเสียก่อน แล้วจึงทาสีทับเพื่อเพิ่มความสวยงามหรือจะปูกระเบื้องหรือพรมทับก็ได้แล้วแต่ความชอบ บางบ้านอาจจะใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนสีบันไดบ้านใหม่ เพื่อให้ดูบันไดใหม่ทั้งหมดเลยก็ได้

รอยร้าว

ในความเป็นจริงแล้วงานซ่อมแซมเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นเกินไปนัก เพียงแต่ว่าเจ้าของบ้านเองก็ต้องหมั่นใส่ใจ สำรวจรอบๆบ้านอยู่เสมอ เพราะบางครั้งเกิดรอยแตกร้าวเพียงเล็กน้อยเราก็สามารถซ่อมแซมเองได้ แต่บางบ้านมักปล่อยให้เป็นระยะเวลานาน จนรอยพวกนี้เกิดการลุกลามยากเกินกว่าที่จะซ่อมแซมได้ สุดท้ายก็ต้องเรียกช่างให้เข้ามาดูแล ทำให้เสียทั้งเวลา ที่สำคัญเสียเงินทอง อย่างเช่น บันไดปูนแตกร้าว เราก็สามารถที่จะซ่อมเองได้ ไม่ยุ่งยาก ลองทำตามวิธีที่เราแนะนำมาในข้างต้น คุณก็จะได้บันไดบ้านที่มีสภาพพร้อมใช้งานกลับมาได้เหมือนเดิมแล้วค่ะ

คุณอาจสนใจบทความนี้ อ่านต่อเลย บันไดบ้าน บริหารพื้นที่ใต้บันไดอย่างไร ให้เกิดประโยชน์