บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 29, 2023
พื้นรอบบ้านทรุด ป้องกันได้ ด้วยการปิด “โพรงใต้บ้าน” ก่อนที่พื้นรอบบ้านจะทรุด
พื้นรอบบ้านทรุด มักเกิดขึ้นกับบ้านของหลายท่านที่อยู่อาศัยมาสักระยะหนึ่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นคือ เมื่อพื้นรอบบ้านทรุดตัวต่ำกว่าระดับคานบ้าน จะส่งผลให้เกิดโพรงใต้บ้านเป็นช่องโหว่งมากขึ้น ถึงแม้จะไม่อันตรายต่อโครงสร้างแต่ก็ทำให้ดูแล้วไม่สวยงาม ทั้งยังจะเป็นช่องทางให้สัตว์ต่างๆใช้เป็นแหล่งซ่อนตัว ซึ่งวันดีคืนดีอาจโผล่ขึ้นมาก่อกวนหรือเป็นอันตรายต่อสมาชิกภายในบ้านได้ เพราะฉะนั้นถ้าบ้านใครเกิดโพรงใต้ดินลักษณะนี้ให้รีบหาวิธีซ่อมแซมบ้านโดยด่วนด้วยการปิดโพรงให้เรียบร้อยจะดีกว่าค่ะ
สำหรับขั้นตอนที่จะนำมาใช้ปิดโพรงใต้บ้าน อย่างแรกคือให้ดูแนวโน้มของการทรุดก่อน หากพื้นทรุดมานานจนเริ่มคงตัวและพิจารณาแล้วว่าไม่น่าที่จะทรุดตัวเร็วมากไปกว่านี้ (ไม่เกิน 10 ซ.ม. ใน 1 ปี) ให้ดำเนินการแก้ไขแบบถาวรด้วยหลักการง่าย คือ “ปรับระดับพื้นดินเพิ่ม” ด้วยการถมพื้นให้สูงขึ้นจนเลยโพรงใต้บ้าน แต่ถ้าหากมีวัสดุปูทับหน้าพื้นอยู่ กรณีที่วัสดุนั้นสามารถรื้อออกได้ง่าย เช่น พวกบล็อกคอนกรีต ก็ให้รื้อออกก่อนแล้วถมทรายและดินให้ได้ตามระดับที่ต้องการ บดอัดให้แน่น จากนั้นก็เตรียมพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนจะปูบล็อกกลับไปตามเดิมอีกครั้ง
ในทางกลับกัน หากพื้นเดิมเป็น ค.ส.ล (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ให้ลองดูตามความเหมาะสม เพราะถ้าพื้นค.ส.ล.ยังอยู่ในสภาพที่ดีก็ให้วางตะแกรงเหล็กแล้วเทคอนกรีตทับเพื่อเพิ่มระดับให้กับพื้น (กรณีเพิ่มระดับเกิน 15 ซม.ให้ถมทรายปรับระดับก่อนเทคอนกรีต) จากนั้นก็ให้เลือกวิธีตกแต่งผิวหน้าตามใจชอบ เช่น คอนกรีตพิมพ์ลาย ปูบล็อกคอนกรีต ปูกระเบื้อง เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าพื้นค.ส.ลเดิมเกิดยุบเสียหายแตกร้าว ก็ต้องทุบแล้วรื้อออกหลังจากนั้นถมทรายให้ได้ระดับก่อนเทคอนกรีตลงไปอีกครั้ง หรือจะเปลี่ยนเป็นตกแต่งอย่างอื่น เช่น ปูหญ้า วางบล็อกคอนกรีตเสริมเป็นลวดลายแทน อย่างไรก็ดีกรณีที่เทพื้น ค.ส.ล ใช้ประโยชน์อย่างอื่นที่ไม่ใช่แค่ทางเดินทั่วไป เช่น พื้นลานซักล้าง พื้นที่นั่งเล่นพักผ่อน ควรลงเสาเข็มแบบฐานเข็มปูพรมด้วย เพื่อป้องกันการทรุดตัวลงในอนาคต แต่อย่าลืมว่าพื้นที่ใต้บริเวณนี้จะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง เช่น อุปกรณ์งานระบบอย่างถังน้ำ ถังดักไขมัน เป็นต้น
ซึ่งถ้าเป็นกรณีที่พื้นรอบบ้านเกิดการทรุดตัวลงอย่างรวดเร็ว (ทรุดเกิน 10 ซม.ภายใน 1 ปี) การเลือกใช้วิธีแก้ไขแบบระยะยาวถาวรตามวิธีการข้างต้นอาจดูไม่ค่อยคุ้มค่ากับขั้นตอนและค่าใช้จ่าย เพราะผ่านไปไม่นานก็จะมีการทรุดตัวจนเกิดช่องโพร่งขึ้นอีก หากเป็นเช่นนี้แนะนำให้ทำการปิดโพรงแบบชั่วคราวไปก่อนจะดีกว่า เช่น หากระถางต้นไม้ลักษณะทรงสี่เหลี่ยมมาวางเรียงเป็นแนวเพื่อบังโพรง หรือจะก่ออิฐปิดทับโดยใช้แผ่นโฟมคั่นระหว่างก้อนอิฐกับตัวบ้านหรือจะเลือกใช้เป็นขอบคันหินก็ได้
“ขอบคันหิน” ก็คือขอบคอนกรีตสำเร็จรูปที่เรามักพบเห็นได้ตามทางเท้าข้างถนน ทั้งในส่วนที่เป็นขอบฟุตบาท และขอบกระบะต้นไม้ โดยเจ้าของบ้านมักไม่ค่อยนิยมนำมาใช้กับบ้านเพราะมองว่าเหมาะสำหรับงานสาธารณะเท่านั้น ด้วยหน้าตาของขอบคันหินดูธรรมดา ไมมีลวดลายหรือสีสันมากเท่าไหร่ ในความเป็นจริงแล้วเราก็สามารถนำขอบคันหินมาใช้ประโยชน์ให้กับบ้านได้ แถมยังทำได้ตั้งหลายอย่างโดยเฉพาะการนำมาปิดโพรงใต้บ้าน
ขนาดของขอบคันหินที่แนะนำมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ขนาดคือ ขนาดความสูง 20 และ 30 ซม. โดยต้องมีความยาวและความหนาตามสัดส่วน ดังนั้นจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ได้กับบ้านที่ดินรอบบ้านทรุดตัวลงไม่เกินความสูงของขอบคันหิน อาทิเช่น ขอบคันหินที่สูง 20 ซม.จะเหมาะกับบ้านที่ดินรอบบ้านทรุดลงไม่เกิน 13 ซม. ส่วนขอบคันหินที่สูง 30 ซม.ก็จะเหมาะกับบ้านที่ดินรอบบ้านทรุดลงไม่เกิน 23 ซม.นั่นเอง อีกทั้งพื้นที่ที่อยู่บริเวณโดยรอบควรที่จะเป็นสนามหญ้าหรือเป็นดิน เพราะการนำขอบคันหินไปวางเรียงต่อกันเพื่อปิดโพรงบ้านนั้น ด้วยน้ำหนักที่มากของขอบคันหิน ดินที่มีความยุบตัวก็จะช่วยพยุงขอบคันหินไม่ให้ล้มได้ง่ายๆ และหากว่าใครต้องการจะทาสีขอบคันหินให้เป็นสีเดียวกับตัวบ้านเพื่อให้เกิดความกลมกลืนก็สามารถทำได้เช่นกัน และยังสามารถสร้างลูกเล่นต่างๆ เช่น วางขอบคันหิน 2 แถวล้อมเป็นกระบะปลูกต้นไม้พวกไม้ดอกไม่ประดับก็จะดูสร้างบรรยกาศรอบๆบ้านได้สวยงามยิ่งขึ้น แถมยังเป็นงานอดิเรกให้กับคนในบ้านได้เพลิดเพลิน ซึ่งหากว่าในอนาคตพบว่าอัตราการทรุดตัวของบ้านเริ่มลดลงจนถึงขั้นไม่ทรุดตัวลงแล้ว ค่อยเปลี่ยนมาแก้ไขแบบถาวรโดยการปรับระดับพื้นดินเพิ่มอีกครั้ง
ดังนั้นเมื่อเกิดโพรงใต้บ้านขึ้นก็สามารถใช้วิธีที่เราแนะนำมาในข้างต้นได้ แต่สำหรับบ้านที่ยังไม่ได้สร้างหรืออยู่ระหว่างการก่อสร้างก็สามารถป้องกันไว้ก่อนตั้งแต่แรกด้วยการทำครีบค.ส.ลต่อจากใต้ท้องคานลงมา วิธีนี้ใช้ได้ในกรณีที่ระดับพื้นชั้นล่างต่างจากระดับดินไม่เกิน 1 ม. หากเกินกว่านี้ควรใช้เป็นวิธีก่อผนังกันดินใต้คาน (ผนังก่ออิฐฉาบปูน) โดยจะต้องเสียบเหล็กหนวดกุ้งเพื่อจะได้ยึดผนังคานและเสาเข้าด้วยกัน การเลือกใช้วิธีนี้อาจจะดูยุ่งยากแต่ก็ช่วยแก้ปัญหาโพรงใต้บ้านในอนาคตได้เป็นอย่างดีค่ะ
วิธีแก้ไขปัญหาพื้นบ้าน และโรงจอดรถทรุดตัว
บ้านทรุดเป็นปัญหาใหญ่ในกรุงเทพฯและปริมณฑลเนื่องจากพื้นที่นี้เป็นแอ่งกะทะที่มีการทรุดตัวของผืนดินอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังนั้นการซ่อมแซมปัญหาบ้านทรุดนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยต้องหาสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหานี้ก่อนเพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาที่ตรงจุดมากที่สุด การวางโรงจอดรถบนพื้นที่ Slab on Ground โดยไม่มีการตอกเสาเข็มเพื่อรองรับชั้นดินอื่นๆ อาจทำให้พื้นที่ทรุดตัวได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะถ้าพื้นที่นั้นเคยมีการทำนาหรือทำไร่มาก่อน และกรณีที่โรงจอดรถทรุดตัวจึงอาจเสียหายตามขอบพื้นและรอยต่อกับตัวบ้านด้วย
และสำหรับวิธีที่ดีที่สุดในการก่อสร้างเสาเข็มคือให้มีความยาวใกล้เคียงกับตัวบ้านมากที่สุด เพื่อให้เวลาที่บ้านและที่จอดรถทรุดตัวพร้อมกัน แต่จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สูงขึ้น และต้องแก้ไขรอยต่อที่อยู่ระหว่างถนนหน้าบ้านกับโรงจอดรถด้วยการเทพื้นที่เป็นลาด (Ramp) เพื่อป้องกันการเกิดรอยแตกขึ้นจากสาเหตุของถนนที่ทรุดตัว โดยทั่วไปแล้วเสาเข็มสั้นเช่นเสาเข็มหกเหลี่ยมและเสาเข็มรูปตัวไอมีความยาวประมาณ 2-6 เมตร และต้องตอกแบบปูพรมทุกระยะ 1 เมตร เพื่อช่วยชะลอการทรุดตัวของพื้นที่จอดรถ แต่การใช้วิธีการตอกเสาเข็มไม่สามารถแก้ปัญหาได้ 100% เพราะพื้นก็ยังคงทรุดตัวเหมือนเดิม
วิธีแก้ไขปัญหาท่อประปาแตก โดยมีสาเหตุมาจากบ้านทรุด
ท่อประปาแตกเนื่องจากโครงสร้างบ้านทรุดตัว อาจไม่ส่งผลกระทบใหญ่แต่ส่งผลกระทบไปยังจุดเล็กๆ เช่น ท่อน้ำแตกร้าวหรือรั่วซึมที่บริเวณข้อต่อ เพราะท่อพีวีซีมักจะเกิดการขยับตัวหรือคลายตัวจากสาเหตุต่างๆ ถ้าไม่ตรวจสอบบ่อยๆ อาจไม่ทราบว่าท่อน้ำมีการแตกร้าวและรั่วซึม การตรวจสอบการรั่วซึมของท่อที่อยู่ในโครงสร้างบ้านยากเนื่องจากเป็นภายในโครงสร้าง แต่สามารถสังเกตได้จากปริมาณการใช้น้ำประปา หากมีแนวโน้มค่าน้ำสูงขึ้นเราสามารถสันนิษฐานได้ว่าท่อน้ำมีปัญหา วิธีการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเองได้แก่การตรวจสอบและซ่อมแซมท่อน้ำแตก และการตรวจสอบและทำความสะอาดรูระบายน้ำทิ้งที่อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นเหม็นอีกด้วย โดยวิธีแก้ไขก็จะสามารถทำได้ดังนี้
1. สำรวจพื้นที่บริเวรบ้านโดยรอบ ไม่รู้จุดที่มีน้ำรั่วซึม
ใช้ค้อนหรือสว่านไฟฟ้าแบบเจาะกระแทกเข้าไปตามแนวท่อเพื่อสกัดบนพื้นผิว แต่ต้องระมัดระวังไม่กระทบโครงสร้าง หากกังวลว่าโครงสร้างข้างเคียงจะเสียหาย ให้ใช้เครื่องตัดไฟเบอร์แทน แต่ข้อเสียคือฝุ่นละอองจะกระจายออกไปมาก ควรใช้ผ้าพลาสติกมารองและพรมน้ำช่วยป้องกันฝุ่นละอองไม่กระจายไปทั่วบ้าน
2. เปิดพื้นผิวคอนกรีต ซ่อมแซมจุดที่เสียหาย
การเปลี่ยนท่อพีวีซีเป็นท่อพีอีไม่สามารถแก้ไขปัญหาโครงสร้างบ้านที่ทรุดตัวได้ เพราะปัญหาจะกลับมาเกิดขึ้นอีกในอนาคต แต่การใช้ท่อพีอีจะช่วยลดความเสียหายได้เมื่อโครงสร้างบ้านเกิดการทรุดตัว โดยท่อพีอีจะมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นมากกว่าท่อพีวีซี
3. หนังซ่อมแซมทดสอบด้วยการปล่อยน้ำเข้าท่อ 2-3 วัน
ทดสอบปล่อยน้ำเข้าท่อเพื่อเช็คว่าการซ่อมแซมได้รับการปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว จากนั้นใช้ปูนซ่อมแซมอุดฉาบและตกแต่งผนังที่ได้ทำการสกัดไว้เรียบร้อย และเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นจากการแตกของท่อน้ำ ควรติดตั้ง P-Trap หรือถ้วยดักกลิ่น เพื่อดักจับกลิ่นเหม็นที่ออกมาจากท่อน้ำ และป้องกันการรบกวนในบริเวณนั้นๆ
สำหรับปัญหาที่เกิดจากบ้านทรุดตัวนั้นถือว่ามีผลกระทบต่อตัวบ้านอย่างร้ายแรง และส่งผลต่อรายส่วนด้วยกันว่าจะเป็นในเรื่องของระบบน้ำประปา ซึ่งหากมีการฝังท่อประปาไว้บริเวณพื้นที่โดยรอบบ้านหรือมีปัญหาบ้านทรุดตัวในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีท้องฟ้าฝังอยู่ ก็อาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำรั่ว โดยมีสาเหตุมาจากท่อประปาแตก ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัญหาบ้านทรุดตัวนั่นเอง วิธีการแก้ไขปัญหาบ้านทรุดตัวนั้นสามารถทำได้อยู่หลายวิธีด้วยกัน ซึ่งสำหรับปัญหาบ้านทรุดตัวสามารถแยกออกมาได้หลายประเภท เช่นผ้าเช็ดตัวแบบทั่วไป หรือบ้านสุดตัวที่อาจส่งผลอันตรายเกี่ยวกับตัว ปัญหาเหล่านี้หากไม่มีความเชี่ยวชาญแต่ยังไม่มีความรู้มากพอ ควรจะติดต่อเรียกทีมงานช่างหรือผู้ที่มีความรู้หรือประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องของการซ่อมแซมบริเวณพื้นบ้านที่มีปัญหาการทรุดตัวนั่นเอง
โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon