บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ September 30, 2023

บ้านใหม่ มีแล้วแต่ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะไม่มีความรู้ ไม่เคยไปขอเลขที่บ้านใหม่มาก่อนเลย จะถามใครก็ไม่มั่นใจว่าเอกสารจะครบถ้วนหรือไม่ วันนี้แอดมินก็เลยนำความรู้ดี ๆ เรื่อง “การขอเลขที่บ้าน” ให้ได้รู้กัน จะได้เตรียมกันถูกต้อง ไม่ต้องกลับไปกลับมาให้เสียเวลา รวมถึงการตรวจรับบ้านและการขออนุญาตก่อสร้างบ้านด้วย ซึ่งข้อมูลจะมีอะไรบ้าง ไปดูกัน

นับตั้งแต่การสร้างบ้าน เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนเพื่อขอเลขที่บ้านภายใน 15 วัน นับเวลาตั้งแต่วันที่สร้างเสร็จ เมื่อนายทำเบียนตรวจสอบแล้ว ก็จะตรวจสอบว่าเป็นบ้านแบบคงทนหรือไม่ ถ้าถูกต้องจะให้กำนัน หรือนายทะเบียนเป็นผู้กำหนดทะเบียนบ้านให้ภายใน 7 วัน ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล และภายใน 30 วัน ถ้าอยู่นอกเขตเทศบาล


สถานที่ยื่นคำร้องขอเลขที่ บ้านใหม่

– ถ้าบ้านปลูกอยู่ในเขตเทศบาลที่ยังมีผู้ใหญ่บ้านอยู่ในเขตเทศบาล เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้าน แต่ถ้าไม่มีผู้ใหญ่บ้าน ก็ให้แจ้งกับกำนันหรือนายทะเบียน สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องขอเลขที่บ้าน เพื่อแจ้งขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน

– ถ้าบ้านปลูกอยู่นอกเขตเทศบาล เจ้าบ้านจะต้องแจ้งขอเลขที่บ้านต่อผู้ใหญ่บ้าน เพื่อออกใบรับแจ้งเกี่ยวกับบ้านเช่นกัน สำหรับนำไปประกอบการยื่นคำร้องที่งานทะเบียนราษฎรของสำนักทะเบียนอำเภอที่บ้านปลูกสร้างเสร็จตั้งอยู่ และแจ้งขอเลขที่บ้านพร้อมสมุดทะเบียนบ้าน

สถานที่ยื่นคำร้องขอเลขที่ บ้านใหม่


สำหรับเอกสารที่ใช้ขอทะเบียนบ้านและเลขที่บ้าน

สำหรับเอกสารที่ใช้ขอทะเบียนบ้านและเลขที่บ้าน

  • ใบรับแจ้งบ้านหรือ เอกสาร ท.ร.9 ที่ออกโดยราชการส่วนท้องถิ่น (ผู้ใหญ่บ้าน/ อบต.)
  • ใบอนุญาตก่อสร้างหรือใบรับรองอาคารตามกฎหมาย ว่าด้วยการควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือสัญญาซื้อขายบ้าน (ถ้ามี)
  • เอกสารหรือโฉนดที่ดินแสดงการครอบครองที่ดินปลูกสร้าง
  • บัตรประชาชนเจ้าของบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขอจดทะเบียนบ้านหรือผู้รับมอบอำนาจ
  • รูปถ่ายอาคารที่สร้างเสร็จแล้วทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย และด้านขวา

เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

หนังสือมอบอำนาจจะใช้ในกรณีที่เจ้าของบ้านไม่สามารถมาขอเลขที่บ้านหรือทะเบียนบ้านด้วยตนเองได้ และได้มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำขอจดทะเบียนบ้านแทนตน จะมีสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าของบ้าน พร้อมแนบสำเนาเอกสารสำคัญแต่ละฉบับที่ใช้ประกอบหนังสือมอบอำนาจ รายละเอียดในหนังสือมอบอำนาจต้องมีพยาน 2 คนลงนาม เพื่อเป็นสักขีพยานในการมอบอำนาจ

เกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

การขอเลขที่บ้าน มีขั้นตอนอย่างไร

เมื่อผู้สร้างบ้านได้ทำการจัดเตรียมเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะมาถึงขั้นตอนการขอเลขที่บ้าน โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ยื่นคำร้องขอเลขที่บ้านและสมุดทะเบียนบ้าน ณ สำนักทะเบียนบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง
  • นายทะเบียนตรวจเช็กความถูกต้องของเอกสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหากมีข้อมูลใดที่ไม่ถูกต้องหรือผิดปกติ ก็อาจเกิดปัญหาได้ในระยะยาว
  • ออกเลขที่บ้าน รวมทั้งจัดทำสมุดทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน
  • มอบทะเบียนบ้านให้เจ้าของบ้านหรือผู้รับมอบอำนาจ

ระยะเวลาที่ใช้ในการขอเลขที่บ้าน

เมื่อรู้ว่าการขอเลขที่บ้าน มีขั้นตอนอย่างไรแล้ว ขั้นตอนต่อไปยื่นเอกสารขอเลขที่บ้าน ขอทะเบียนบ้านใน 15 วัน หลังจากสร้างบ้านเสร็จ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและเอกสารว่าเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดหรือไม่ หากข้อมูลที่ตรวจเช็กนี้ตรงกับข้อกำหนดทุกประการ เจ้าหน้าที่จะทำการกำหนดเลขที่บ้าน รวมถึงสมุดทะเบียนบ้านให้ผู้แจ้ง กรณีสร้างบ้านในเขตเทศบาล จะใช้เวลา 7 วัน กรณีสร้างบ้านนอกเขตเทศบาล จะขยายระยะเวลาของการขอเลขที่บ้านจนกว่าจะพ้นกำหนด 30 วัน


ข้อมูลเพิ่มเติมของการเป็นเจ้าบ้าน

ข้อมูลเพิ่มเติมของการเป็นเจ้าบ้าน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าเจ้าบ้านกับเจ้าของบ้านนั้นแตกต่างกัน ซึ่งจะแตกต่างอย่างไรบ้างนั้น สามารถกล่าวได้ดังนี้

1. แยกแยะระหว่างเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านกับเจ้าของบ้าน

  • เจ้าบ้าน : เป็นหัวหน้าเคหะสถาน ในฐานะเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น ๆ กรณีที่เจ้าบ้านไม่ปรากฏตัวหรือไม่อยู่ ตาย สูญหาย หรือไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นคือเจ้าของบ้าน
  • เจ้าของบ้าน : เป็นคนที่มีชื่อในโฉนดที่ดินสัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หมายความว่า เป็นเจ้าของบ้านหรือผู้มีอำนาจใช้ จำหน่าย จ่าย โอน ให้เช่า เรียกดอกเบี้ยจากการติดตามทวงคืนซึ่งทรัพย์สินของตน รวมทั้งการป้องกันมิให้ผู้อื่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

2. ขอบเขตหน้าที่เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน

เมื่อเข้าใจความหมายของคำว่าเจ้าบ้านแล้ว มารู้จักหน้าที่ที่เจ้าบ้านต้องทำ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 ระบุไว้ว่า

  • หากภายในบ้านมีเหตุคนเกิดหรือคนตาย เจ้าบ้านต้องแจ้งสำนักทะเบียนทุกครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยแจ้งเกิดภายในเวลา 30 วัน และแจ้งตายใน 24 ชม. และหากไม่ปฏิบัติตามจะต้องเสียค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 1,000 บาท รวมถึงกรณีขนย้าย หรืออื่น ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับบ้าน
  • หากเจ้าของบ้านมีธุระไม่สามารถมารายงานตัวได้ สามารถมอบอำนาจให้สมาชิกในบ้านแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ ทางเจ้าหน้าที่จะกำหนดให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นคนดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านที่ไม่สามารถทำหน้าที่นั้นได้

การขอเลขที่บ้าน มีขั้นตอนอย่างไร

3. เอกสารมอบอำนาจ

เอกสารที่ใช้สำหรับติดต่อมอบอำนาจการดูแล รวมถึงจัดการเรื่องในบ้านหากอยู่ในสถานการณ์ที่เจ้าบ้านไม่อยู่ นั่นคือ หนังสือมอบอำนาจของเจ้าของบ้าน ที่มีเนื้อหาระบุชัดเจนถึงคนที่จะมอบอำนาจในการจัดการ แล้วจะให้จัดการแทนสิ่งใดในบ้าน เวลาใด พร้อมลงนามในหนังสือมอบอำนาจ 1 ฉบับ

  • สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนเจ้าบ้าน
  • บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอนการอนุญาตมีดังนี้

  • ติดต่อยื่นเรื่องได้ที่สำนักทะเบียน
  • นายทะเบียนตรวจเอกสารและดำเนินการตามคำขอให้แล้วเสร็จ
  • คืนหลักฐานที่ใช้ในกระบวนการให้ผู้ยื่นคำร้อง

การขอเลขที่บ้านแต่ละขั้นตอนนั้นล้วนมีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับกฎหมายทั้งสิ้น หากใครก็ตามที่ทำผิดตามข้อตกลงหรือไม่ได้ดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอนให้ครบถ้วน ก็จะได้รับความผิดทางและต้องเสียค่าปรับ ฉะนั้นในการขอเลขที่บ้าน เจ้าของบ้านทุกคนจึงต้องมีความรู้เหล่านี้เพื่อให้สามารถดำเนินการอย่างถูกต้องครบทุกขั้นตอน


บ้านใหม่ ตรวจรับและขออนุญาตก่อสร้างบ้านอย่างไร?

บ้านใหม่เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในชีวิตของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะการสร้างบ้านใหม่เป็นขั้นตอนที่ต้องให้ความสำคัญกับหลายปัจจัย เพื่อให้การสร้างเป็นไปอย่างถูกต้องและสมบูรณ์เป็นที่ต้องการ หลังจากที่ได้กล่าวถึงรายละเอียดการขอบ้านเลขที่ไปแล้ว อย่าลืมนึกถึงกระบวนการสำคัญอย่างการตรวจรับบ้านจากบริษัทรับสร้างด้วยเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต และใครที่กำลังอยากจะสร้างบ้านใหม่มาดูกันว่าการขออนุญาตก่อสร้างบ้านต้องทำอย่างไรบ้าง


การตรวจรับบ้านจากบริษัทรับสร้าง ขั้นตอนสำคัญและเคล็ดลับในการป้องกันปัญหา

การตรวจสอบบ้านก่อนการโอนสิทธิ์เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งการตรวจรับอย่างละเอียดจะช่วยป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะผู้รับเหมาอาจจะละเมิดความรับผิดชอบของตน ดังนั้นควรจัดการตรวจสอบด้วยความระมัดระวัง ต่อไปนี้คือขั้นตอนการตรวจรับบ้านในรูปแบบมืออาชีพหลังจากสร้างบ้านใหม่เสร็จ

  • ตรวจสอบระบบประปา: เปิดก๊อกน้ำทุกตัวเพื่อตรวจจุดรั่ว ทดสอบการระบายน้ำและตรวจสอบว่าอุปกรณ์ในห้องน้ำครบสมบูรณ์ เช่น อ่างล้างหน้า, ก๊อกน้ำ, ชักโครก, และอื่น ๆ
  • ตรวจสอบระบบไฟฟ้า: ทดสอบการเปิดปิดไฟทุกดวง, ตรวจสอบการเดินสายไฟ และตรวจสอบอุปกรณ์เสริมของระบบไฟฟ้า เช่น ยางกันน้ำ, กล่องครอบกันน้ำ
  • ตรวจสอบระบบพื้น: ตรวจสอบด้วยการเดินเท้าเปล่า, ใช้เหรียญเคาะ และลองใช้ลูกแก้วเพื่อตรวจสอบระดับของพื้น
  • ตรวจสอบกำแพง ผนัง: ตรวจสอบความสะอาด, รอยเปื้อน, และวอลเปเปอร์, ตรวจสอบขอบบัวผนังด้วยไม้บรรทัด, ตรวจสอบสีนอกอาคาร, ตรวจสอบประตูและหน้าต่าง และทดสอบการทำงานของกุญแจ
  • ตรวจสอบใต้หลังคา: ควรทำในช่วงฤดูฝน โดยเดินเหยียบโครงเหล็กหลังคาและใช้ไฟฉายส่องเพื่อตรวจสอบความรั่วซึม ตรวจสอบฉนวนกันความร้อนใต้หลังคาว่าติดตั้งได้ถูกต้องและครบถ้วน

การขออนุญาตก่อสร้างบ้าน เตรียมพร้อมด้วยเอกสารและกระบวนการ

การสร้างบ้านใหม่ เริ่มต้นด้วยการเตรียมเอกสารและกระบวนการยื่นขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรทำการสิ่งนี้ล่วงหน้าเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยการขออนุญาตก่อสร้างบ้านประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. กระบวนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน

การขออนุญาตปลูกสร้างบ้านประกอบด้วยขั้นตอนที่ว่าการยื่นคำขออนุญาตที่อำเภอหรือเทศบาล, การตรวจสอบแบบแปลน และการรับเอกสารอนุญาตสร้างบ้าน ทุกประเภทของบ้านจำเป็นต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารก่อนที่จะสามารถเริ่มการก่อสร้าง หากยังไม่ได้รับอนุญาตต้องทำการแก้ไขและขออนุญาตใหม่ ควรจัดเก็บสำเนาเอกสารไว้สำหรับตนเอง, สถาปนิก, วิศวกร, และผู้รับเหมาหรือบริษัทที่เกี่ยวข้อง

2. เอกสารที่จำเป็นในการขออนุญาตสร้างบ้าน

เพื่อยื่นขออนุญาตก่อสร้างบ้านจำเป็นต้องเตรียมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องมา โดยประกอบด้วยคำร้องขออนุญาต, แบบบ้านและรายละเอียดการก่อสร้าง, หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงาน, สำเนาโฉนดที่ดิน, ทะเบียนบ้านของเจ้าของอาคาร หรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และเหตุผลในการขออนุญาตสร้างบ้าน

3. เหตุผลความจำเป็นในการขออนุญาตสร้างบ้าน

การขออนุญาตก่อสร้างบ้านเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อรักษาความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและชุมชน การขออนุญาตนี้มีกระบวนการที่ง่ายกว่าการก่อสร้างบ้านด้วยตนเอง ซึ่งการขยายหรือต่อเติมโครงสร้างเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดโดยไม่ขออนุญาตจะเป็นอันตราย ดังนั้น การขออนุญาตในการก่อสร้างบ้านเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างถูกต้อง


ในบทความนี้ ก็ได้กล่าวถึงเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างบ้านใหม่ โดยเน้นไปที่ขั้นตอนสำคัญอย่างคือการขอเลขที่บ้านและการตรวจรับบ้านจากบริษัทรับสร้าง รวมถึงการขออนุญาตก่อสร้างบ้านด้วย ในส่วนของเลขที่บ้านเมื่อเราสร้างบ้านใหม่แล้วจำเป็นต้องขอเลขที่บ้านเพื่อให้มีการระบุที่ตั้งของบ้าน ซึ่งเอกสารต่างๆ และขั้นตอนในการขอเลขที่บ้านอาจแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่ละเขต หรือแม้กระทั่งแต่ละประเทศ ดังนั้น การติดต่อหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องเช่น เทศบาล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการออกเลขที่บ้าน จึงเป็นสิ่งที่ควรทำก่อนที่จะเริ่มต้นอย่างอื่นๆ เพื่อให้ได้เลขที่บ้านที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับในชุมชน

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon