บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 26, 2023

“ดีดบ้าน” กับ 5 ข้อควรระวังก่อนตัดสินใจ จะได้ไม่เสียใจภายหลัง

ดีดบ้าน หรือ ยกบ้าน เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากหลังจากเหตุการณ์ปี 54 น้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด และยังคงเป็นฝันร้ายที่บางคนจำได้ไม่ลืม เพราะเกิดผลกระทบทำให้เสียทรัพย์สินจากน้ำท่วมเข้าบ้าน ประกอบกับสภาพภูมิประเทศของกรุงเทพฯและพื้นที่ชานเมืองโดยรอบเป็นที่ลุ่มต่ำแล้วยังถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ส่งผลให้เมื่อถึงฤดูมรสุมฝนตกหนัก บ้านที่อยู่ใกล้ริมน้ำมักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเฉียบพลัน บางครั้งยังไม่ทันได้เก็บข้าวของน้ำก็เข้าถึงตัวบ้านแล้ว จากเหตุนี้เจ้าของบ้านหลายหลังจึงพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีการ “ดีดบ้าน” หรือ “ยกบ้าน” ขึ้นนั่นเองเพราะเชื่อว่าจะสามารถแก้ปัญหาได้ในระยะยาวและเป็นทางออกที่คิดว่าดีที่สุด แต่ก่อนที่คุณจะไปว่าจ้างผู้รับเหมามาดีดบ้าน ควรที่จะศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการดีดบ้านอย่างถ่องแท้และละเอียดรอบคอบเสียก่อน มิเช่นนั้นอาจจะมาเสียใจในภายหลัง


1.ก่อนวางแผนจะดีดบ้าน ต้องรู้สภาพความพร้อมของบ้านให้ดี

ดีดบ้าน

เจ้าของบ้านบางคนคิดว่าถ้าต้องการดีดบ้านก็สามารถทำได้ง่ายๆ แค่จ้างช่างมายกแล้วก็เสริมเสาก็จบเรื่องแล้ว ในความเป็นจริงควรจะต้องพิจารณาถึงโครงสร้างบ้านเป็นอันดับแรกรวมทั้งต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อเป็นการป้องกันและซ่อมแซมบ้านไม่ให้บ้านได้รับความเสียหาย หรือก่อให้เกิดอันตรายขึ้นในช่วงขณะที่ดีดบ้าน ซึ่งเรามักจะได้ยินข่าวบ่อยๆ ฉะนั้นถ้าทำการตรวจสอบแล้วพบว่ามีร่องรอยของการผุกร่อนในจุดใหญ่ๆ หรือมีปลวกกินหลายแห่ง แนะนำว่าไม่ควรที่จะดีดบ้านเด็ดขาด เพราะอาจส่งผลเสียหายอย่างมหาศาลบ้านพังถล่มลงมาในขณะที่กำลังดีดบ้านได้ ทางที่ดีคือรื้อบ้านแล้วสร้างบ้านใหม่ด้วยการยกพื้นสูงขึ้นจะคุ้มกว่า ส่วนถ้าพบว่าเสาเข็มมีการทรุดอยู่ จำเป็นต้องลงเสาใหม่ก่อนทำการดีดบ้านด้วย


2.ก่อนดีดบ้าน วางแผนเรื่องงบประมาณเสียก่อน

ดีดบ้าน

หลายบ้านที่ต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำท่วมบ้านบ่อยๆเรียกได้ว่าฝนตกทีไหร่น้ำรอการระบายไหลเข้าบ้านเสียทุกที จะขายบ้านหนีก็ไม่ได้ ทางออกที่ดีที่สุดก็คือซ่อมแซมต่อเติมบ้านให้สูงขึ้นแต่อาจยังตัดสินใจไม่ได้เกิดความลังเลว่าจะรื้อบ้านแล้วสร้างใหม่ดีหรือจะดีดบ้านให้สูงขึ้นอะไรจะเหมาะสมมากกว่า ซึ่งแน่นอนอยู่แล้วว่าเรื่องของค่าใช้จ่ายหรืองบประมาณคือตัวแปรสำคัญ โดยส่วนใหญ่แล้วการจ้างเหมาราคาดีดบ้านที่เจ้าของบ้านจะต้องเตรียมเงินไว้ราวๆหลักแสน(ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพและความยากง่ายของการดีดบ้านแต่ละกรณีราคาก็จะไม่เท่ากัน)ซึ่งราคานี้จะบวกรวมกับค่าแรง ค่าวัสดุก่อสร้าง ยังมีค่ารายละเอียดปลีกย่อยที่ต้องต่อเติมเพิ่มขึ้นหลังจากดีดบ้าน เช่น การสร้างบันได้ขึ้นบ้านหรือเทพื้นให้สูงขึ้นตาม เป็นต้น แต่ถึงแม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณค่อนข้างสูง แต่เมื่อเทียบกับการรื้อแล้วสร้างใหม่ย่อมถูกกว่าอย่างแน่นอน บางครั้งการรื้อสร้างใหม่อาจจะต้องเตรียบงบถึงหลักล้าน ดังนั้นหากใครมีงบประมาณจำกัด วิธีการดีดบ้านก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว


3.ก่อนดีดบ้าน อย่าลืมขออนุญาตให้ถูกต้อง

ดีดบ้าน

การดีดบ้านตามกฎหมายจะถือว่าเป็นเรื่องของการดัดแปลงบ้านหรืออาคาร เพราะฉะนั้นก่อนเริ่มทำการใดๆจึงมีความจำเป็นที่ต้องขออนุญาตกับทางเขตที่อยู่อาศัยเสียก่อน เพื่อเป็นการป้องกันหากเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันขึ้น สามารถหาผู้ที่จะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่ระบุไว้ ซึ่งก็คือวิศวกรออกแบบและผู้ควบคุมงานนั่นเอง


4.ก่อนดีดบ้าน จะดีดอย่างไรให้ปลอดภัย

ดีดบ้าน

หลายครั้งที่มักจะมีข่าวไม่ดีเกี่ยวกับการดีดบ้าน เช่น การเกิดอุบัติเหตุบ้านตกลงมาทับคนงานเสียชีวิต หรือดีดบ้านแล้วบ้านพังถล่มลงมาสร้างความเสียหายต่อบ้านทั้งหลังอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ด้วยการใช้ระบบหรือวิธีการเก่าๆหรือคิดวิธีเอง อย่างแม่แรง รอก หรืออุปกรณ์ที่ไม่ได้มาตรฐานมาใช้ในการดีดบ้าน ดังนั้นการดีดบ้านไม่ควรจ้างบริษัทที่ไม่มีวิศวกรควบคุม เพราะวิศวกรจะมีวิธีการเพิ่มความปลอดภัยโดยสร้างฐานรองรับอุปกรณ์ดีดบ้านอย่างเช่นระบบแม่แรงไฮโดรลิค ซึ่งก่อนที่จะนำมาใช้ต้องตรวจสอบทุกครั้งว่ามีสภาพพร้อมที่จะนำมาใช้งาน อีกทั้งข้อดีของแม่แรงไฮโดรลิคคือ สามารถที่จะยกทุกจุดในบ้านได้พร้อมกัน แล้วยังเช็คระดับความสูง ฐานราก ความลาดเอียงได้อีกด้วย จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ได้มีแค่มาตรฐานของอุปกรณ์เพียงอย่างเดียว แต่ต้องรวมไปถึงการคิดคำนวณ วางแผน ความสูงของบ้านเป็นสิ่งสำคัญ


5.เตรียมรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากดีดบ้าน

ดีดบ้าน

หลังจากดีดบ้านขึ้นแล้วตัวบ้านก็จะสูง สิ่งที่ต้องเตรียมเพิ่มเติมมาก็คือระบบงานบันไดซึ่งต้องออกแบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้สูงอายุ รวมทั้งเรื่องของระบบไฟฟ้า และน้ำ เท่ากับว่าต้องวางระบบใหม่เกือบทั้งหมด เพราะในช่วงที่คนงานเริ่มทำการดีดบ้านช่างจะต้องตัดระบบน้ำ ไฟ ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อทำการดีดบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องเดินสายใหม่จึงต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษเพราะหากเดินระบบได้ไม่ดี อาจส่งผลให้เกิดปัญหาอย่างไฟช็อตหรือน้ำไหลรั่วซึมได้


สำหรับผู้ที่ซื้อบ้านใหม่อยู่ในโซนจุดเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม ไม่ว่าจะเป็นที่ลุ่ม หรือบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วต้องการหาทางออกด้วยวิธีการดีดบ้าน แนะนำว่าก่อนที่จะเริ่มดำเนินการควรติดต่อผู้รับเหมาที่ไว้ใจได้และมีประวัติผลงานที่ดี ที่สำคัญควรศึกษาเรื่องที่ต้องทราบก่อนอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพราะอันตรายมักจะเกิดขึ้นได้อย่างเสมอค่ะ


วิธีออกแบบบันไดบ้าน ให้ได้พื้นที่เพิ่ม

การตกแต่งบันไดในบ้านเล็กๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะบันไดเป็นพื้นที่ที่มักจะไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ การวางแผนล่วงหน้าเพื่อให้บันไดสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ โดยเทคนิคออกแบบบันไดบ้านส่วนใหญ่แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ บันไดทึบ และ บันไดโปร่ง ซึ่งแต่ละประเภทก็มีความสวยงามและการใช้งานที่แตกต่างกัน อีกทั้งสองรูปแบบนี้ก็สามารถนำไปปรับเปลี่ยนรูปแบบเป็นแบบบันไดสวย ๆ เพื่อเพิ่มลูกเล่นให้กับบ้านได้อีกด้วย

1. บันไดแบบทึบ

บันไดทึบมีทั้งลูกตั้งและลูกนอน แต่ไม่สามารถมองทะลุขึ้นหรือลงได้ มีความเหมาะสมในการใช้พื้นที่ใต้บันได แต่ต้องระวังช่วงใต้ท้องบันได เช่นบันไดแบบพับผ้าจะมีหยักมุมแหลม ไม่ควรนำมาใช้เป็นพื้นที่ที่คนเข้าออก

2. บันไดบ้านแบบโปร่ง

บันไดโปร่งคือบันไดที่มีแต่ลูกนอนบันไดเดียว สามารถมองทะลุลงไปได้จนเห็นพื้นข้างล่าง แบ่งเป็นบันไดด้านข้างและแบบบันไดข้างใต้ที่รองรับลูกนอนบันได ไม่เหมาะแก่การกั้นห้องหรือใช้งานข้างใต้ แต่เหมาะสำหรับการโชว์ความสวยงาม สามารถทำเป็นชั้นวางของเล็กๆน้อยๆได้

การออกแบบการใช้พื้นที่ใต้บันไดในบ้าน สามารถใช้เป็นพื้นที่เก็บของได้โดยการทำเป็นชั้นวางหรือตู้ Built-in และสามารถออกแบบให้เป็นห้องผนังปิดทึบและติดประตูเพื่อความเป็นระเบียบของบ้าน หรือออกแบบเป็นตู้รางเลื่อนซึ่งสามารถดึงชั้นวางของออกมาได้เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บของให้มากขึ้น


วิธีซ่อมแซมบ้านง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การดูแลบ้านเปรียบเสมือนการดูแลรักษาร่างกายของคน โดยควรตรวจสอบสายไฟชำรุด หลังคารั่ว และท่อระบายน้ำเสมอ เพื่อลดค่าใช้จ่ายและป้องกันอันตรายต่อผู้อยู่อาศัย โดยเคล็ดลับการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเองได้ด้วยเคล็ดลับง่าย ๆ โดยสามารถทำได้ดังนี้

1. การตรวจสอบพื้น และผนังบ้าน

สำหรับเจ้าของบ้านควรตรวจสอบและซ่อมแซมบ้านอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนของพื้นหรือผนังเพื่อหารอยร้าว เพื่อป้องกันปัญหาโครงสร้าง หากพบรอยร้าวใหญ่ควรแจ้งช่างหรือผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบและซ่อมแซมบ้าน แต่ถ้าเป็นรอยเล็กน้อยก็สามารถใช้คอนกรีตฉาบปิดได้ สำหรับบ้านไม้ควรทาสีเคลือบดูแลเนื้อไม้เพื่อรักษาความยืนหน้าของบ้าน การตรวจสอบพื้นและผนังเป็นประจำจะช่วยป้องกันปัญหาโครงสร้างได้เป็นอย่างดี

2. ตรวจเช็คระบบไฟอย่างสม่ำเสมอ

เพื่อป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝันอย่างไฟไหม้ในบ้าน ควรตรวจสอบหลอดไฟทุกดวงและสายไฟตามจุดต่างๆให้บ่อยครั้ง และติดตั้งสวิทช์ไฟที่อยู่นอกบ้านพร้อมกั้นน้ำป้องกันฝนตก หากมีการตรวจสอบแล้วพบว่ามีไฟรั่วให้เรียกช่างเข้ามาดูแลและซ่อมแซมโดยเร็ว


สำหรับการตรวจเช็คและซ่อมแซมสภาพบ้านมันสามารถดูได้จากหลายรูปแบบด้วยกันและก็ดูจากรอยร้าวที่จุดขึ้นของตัวบ้านหรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้ารวมถึงระบบน้ำประปาที่ใช้ภายในบ้าน ถ้าสำหรับใครที่มีแผนจะดีดบ้านให้สูงขึ้นหรือการโดนตัวบ้านเลขที่สูงมากกว่าระดับปกติ สิ่งที่ต้องคำนวณและคนตรวจสอบในเรื่องของความ เพื่อที่จะทำการดีดบ้านได้อย่างไม่มีปัญหา สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ รวมถึงการตรวจสอบเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญด้วยเช่นกันรวมถึงวัสดุก่อสร้างที่ติดผนังไม่ว่าจะเป็นการ Built In ตู้เสื้อผ้าเพิ่งจะถึงบันไดบ้าน ควรตรวจเช็คสภาพพัสดุแถวนี้ให้ดีก่อนที่จะต้องทำการดีดบ้าน

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save