ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ต้องทำอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้าง
การสร้างบ้าน นอกจากจะต้องเก็บเงินเพื่อเตรียมกู้ ยังต้องให้ความสำคัญเรื่องเอกสารในการขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน รวมถึง ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ความจริงแล้วขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้ เจ้าบ้านสามารถเตรียมการไว้ก่อนได้ จุดประสงค์เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมา ในบทความนี้จะมากล่าวถึง ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน รวมถึงการเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ดำเนินการ
ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน
สำหรับขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน จะสามารถกล่าวได้อยู่ทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
- ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ในเขตนั้น
- ที่ว่าการอำเภอท้องที่ตรวจสอบแบบแปลน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารหรือกฎหมายว่าด้วยผังเมือง บ้าน หรืออาคาร อาคารทุกประเภทจะต้องมีใบอนุญาตก่อสร้างอาคารก่อน และต้องก่อสร้างตามแบบทีได้รับอนุมัติจึงจะสามารถสร้างบ้านได้ดังที่ต้องการ
- รับเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน หากเป็นกรณีไม่ได้รับอนุญาต อาจมีการแก้ไขในรายละเอียดบางประการ ต้องแก้ไขและขออนุญาตใหม่
- เมื่อได้รับเอกสารขออนุญาตปลูกสร้างบ้านแล้ว ควรทำสำเนา ทั้งเก็บไว้ที่ตนเอง สถาปนิก วิศวกร และผู้รับเหมา หรือบริษัทเพื่อใช้ในการสร้างบ้านต่อไป
- มีหลักฐานอะไรบ้างในการยื่นขออนุญาตสร้างบ้าน
หลักฐานที่ใช้เพื่อยื่นขออนุญาตสร้างบ้านนั้น มีดังนี้
- กรอกคำร้องขอเอกสารขออนุญาตก่อสร้างบ้าน อาคาร รื้อถอนอาคารหรือดัดแปลงอาคาร (ข.1)
- เอกสารแบบบ้านและรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้าง โดยมีสถาปนิกและวิศวกรลงนามรับรองแบบ (หากไม่มีสถาปนิกสามารถขอแบบบ้านมาตรฐานได้จากที่ว่าการอำเภอท้องที่ในจังหวัดนั้น ๆ)
- หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงาน สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน และเอกสารจากวิศวกรก่อสร้าง
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะปลูกสร้างหรือเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น หรือกรณีเช่าที่ดินเพื่อสร้างบ้านจะต้องมีเอกสารสิทธิที่ได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของด้วย
- ทะเบียนบ้านของเจ้าของอาคารหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ถ้าเป็นกรณีนิติบุคคล ให้ใช้หนังสือรับรองการจดทะเบียน
เหตุใดจึงต้องขอเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน
สาเหตุที่จำเป็นต้องดำเนินการยื่นขอเอกสารขออนุญาตสร้างบ้าน ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยและชุมชน เนื่องจากกฎหมายต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ คือ การป้องกันอันตรายจากอาคารทุกรูปแบบ เช่น ความแข็งแรงของโครงสร้าง ระยะห่างจากถนน และ ระยะห่างจากชุมชนโดยรอบ เพื่อไม่ให้มีการสร้างอาคารใหม่กระทบที่อยู่อาศัยเดิมของชุมชน ความแตกต่างการขออนุญาตก่อสร้างของบ้านจัดสรรกับบ้านสร้างเอง
การซื้อบ้านโครงการบ้านจัดสรร : การขออนุญาตจะเป็นหน้าที่เจ้าของโครงการ หรือบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ โครงการจัดสรรจะมีข้อบังคับ กฎระเบียบที่มากกว่าการก่อสร้างบ้านจำนวนน้อย ผู้ที่ซื้อบ้านในโครงการบ้านจัดสรร จะมีขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้านที่ไม่ยุ่งยาก รวมถึงไม่ต้องกังวลเรื่องขอน้ำประปา ไฟฟ้า บ้านเลขที่ เตรียมเงินให้พร้อมกู้ผ่านก็เข้าอยู่ได้เลย แต่ข้อเสียคือ แบบบ้านและพื้นที่ใช้สอยอาจไม่ครบทุกความต้องการ
บ้านสร้างเอง : มีข้อดีตรงแบบบ้านและพื้นที่ใช้สอย ฟังก์ชันบ้านที่ปรับแต่งได้ตามความต้องการมากกว่าเมื่อเทียบกับบ้านจัดสรร แต่ข้อเสียคืออาจจะยุ่งยากกับขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน ตั้งแต่การขออนุญาตก่อสร้างจนถึงการขอน้ำ ไฟ และบ้านเลขที่ หากใช้ผู้รับเหมาทั่วไปในการก่อสร้างขั้นตอนเหล่านี้ เจ้าของบ้านต้องดำเนินการทั้งหมดเอง แต่ถ้าใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้าน มีบริษัทจัดการให้ทุกขั้นตอน เพราะค่าดำเนินการต่าง ๆ เหล่านี้ถูกเก็บรวมกับราคาสร้างบ้าน และสำหรับใครที่ต้องการเลือกดูบริษัทที่ได้มาตรฐาน และน่าเชื่อถือ คุณสามารถเข้าไปเลือกดูได้เลยที่ บริษัทรับสร้างบ้าน
การต่อเติมบ้าน จำเป็นต้องขออนุญาตหรือไม่
ไม่เพียงแค่การสร้างบ้านใหม่ที่ต้องขออนุญาตก่อสร้าง การต่อเติมบ้านก็ต้องขออนุญาตด้วยเช่นกัน การต่อเติมที่ต้องขออนุญาตคือการต่อเติมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างเกิน 5 ตร.ม. แต่ที่ผ่านมาเจ้าของบ้านหลายรายที่ต่อเติมบ้านเกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะไม่ยื่นขออนุญาต และคิดว่าไม่เป็นไร เรื่องนี้มักเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อเพื่อนบ้านหรือชุมชนใกล้เคียง
กรณีต่อเติมโครงสร้างเกิน 5 ตร.ม. ต้องมีใบอนุญาตก่อสร้าง ถ้าเจ้าของไม่ขออนุญาตให้ถูกต้อง หากมีปัญหาที่สร้างความเสียหายให้กับชุมชน เพื่อนบ้านใกล้เคียง ก็จะกลายเป็นเป็นความผิดร้ายแรง ดังนั้นแนะนำว่าควรขออนุญาตให้ถูกต้องหมายเหตุ: มีการปรับปรุงบ้านบางประเภท ที่ถูกยกเว้นไม่ต้องขออนุญาต
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างบ้าน มีความจำเป็นที่ทุกคนซึ่งอยากสร้างบ้านต้องดำเนินการ นอกจากจะต้องขออนุญาตสร้างบ้านแล้ว การต่อเติมบ้านก็ต้องได้รับอนุญาตด้วย เพื่อความปลอดภัยต่อผู้สร้างบ้านและชุมชนใกล้เคียง ไม่ให้เกิดความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อน หากมีปัญหาที่ทำให้ทั้งผู้เกี่ยวข้องและคนอื่นที่ไม่มีความข้องเกี่ยว ทางรัฐจะแก้ปัญหาด้วยการระงับก่อสร้างหรือหยุดสร้างถาวร