บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ June 29, 2023

การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเลือกแบบไหนดี

อีกหนึ่งการตัดสินใจที่เจ้าของบ้านจะต้องคิดหนักสักนิด นั่นก็คือการเดินสายไฟ ซึ่งมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ให้คุณได้เลือก นั่นก็คือ การเดินไฟแบบฝังผนัง และการเดินไฟแบบเดินลอย คำถามที่จะเกิดขึ้นก็คือ คุณควรเลือกเดินไฟแบบไหนดี ถึงจะตอบโจทย์กับการใช้งาน การดูแลรักษา ความปลอดภัย และทัศนียภาพที่สวยงามโดยรวมของบ้านหรือภายในห้อง วันนี้เราก็ได้นำ 2 รูปแบบของการเดินไฟในบ้าน หรืออาคารประเภทนี้มาแนะนำให้คุณได้ทำความรู้จักกัน คุณจะได้เลือกการเดินไฟที่ดีมีคุณภาพ และตรงโจทย์กับการออกแบบที่สวยงามตามที่คุณต้องการ


เดินไฟแบบลอย คืออะไร

1_การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเล

จัดเป็นการเดินสายไฟประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนาน เป็นวิธีเดินสายไฟในลักษณะเลื้อยแนบติดชิดกับผนัง ในส่วนของวิธีจัดเก็บสายไฟประเภทนี้ให้เป็นระเบียบ มี 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่….แบบตีกิ๊บและแบบร้อยท่อ สำหรับวิธีตีกิ๊บจะเดินสายไฟแบบเปิด คุณจะเห็นเส้นสายไฟขนาดใหญ่แนบติดชิดไปกับผนัง จนกระทั่งมีการเชื่อมต่อไปยังเต้ารับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอีกรูปแบบแบบหนึ่ง นั่นก็คือ การเดินสายไฟแบบร้อยสายผ่านท่อ PVC หรือท่อเหล็กแบบยึดผนัง วิธีนี้เหมาะมากกับผู้ที่ชื่นชอบการออกแบบบ้านในสไตล์ Loft Industrial Style ให้อารมณ์แบบดิบ เท่ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย และเพื่อให้ได้รูปแบบการเดินไฟแบบลอยให้ตรงตามสเป็กที่วางไว้


จุดเด่นของการเดินสายไฟแบบลอย

2_การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเล

การเดินสายไฟแบบที่เห็นได้จากภายนอกนี้ จะทำให้คุณประหยัดทั้งเวลาและงบประมาณ ใช้เวลาในการติดตั้งอย่างรวดเร็ว ขั้นตอนติดตั้งไม่ยุ่งยาก แค่ยึดสายไฟหรือท่อติดผนังหรือเพดานเท่านั้น ซึ่งสามารถมองเห็นแนวสายไฟได้จากภายนอก และยังสะดวกเมื่อต้องการซ่อมแซมบ้าน เพราะหากเกิดการชำรุดเสียหายก็สามารถตรวจเช็คได้ทันที สามารถปรับปรุง ซ่อมแซม เพิ่ม-ลดสายไฟภายหลังได้อย่างสะดวก ไม่ต้องรื้อผนัง นอกจากนี้การเดินสายไฟในท่อ นอกจากจะเป็นการจัดเก็บสายไฟให้เป็นระเบียบแล้ว ก็ยังป้องกันแมลงหรือหนูกัดแทะสายไฟได้อีกด้วย


สิ่งที่ควรพิจารณา ในการเดินสายไฟแบบลอย

3_การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเล

ต้องมีการวางแผน ในการเดินสายไฟภายนอกให้มีความเป็นระเบียบสวยงาม โดยเฉพาะแบบตีกิ๊บ ในกรณีที่มันของคุณมีเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก หากวางแผนในการเดินสายไฟไม่ดี ก็อาจจะทำให้สายไฟดูรกเต็มผนังบ้าน และการร้อยสายไฟในท่อ ก็ต้องมีการจัดเลี้ยงแบบพอเหมาะ ไม่ยัดสายไฟอย่างเกะกะภายในท่อร้อย ไม่ทำให้สายไฟอึดอัด และต้องมีความยาวที่เหมาะสม เพราะในกรณีที่อาจสายไฟเยอะเกินไปอาจจะทำให้เกิดการลัดวงจรจากการกดทับก็เป็นได้ หรือในกรณีที่มีการใช้ท่อร้อยสายไฟผิดประเภท หรือคุณภาพไม่ดี ก็จะทำให้ เกิดการเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอันตรายจากการใช้งานไฟฟ้าได้


 

เดินสายไฟแบบฝัง คืออะไร

เป็นการเดินสายไฟที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในบ้านทั่วไป หรืออาคารสถานที่ต่าง ๆ เป็นการเดินสายไฟในท่อร้อยสายไฟ (Electrical Conduit) ที่ฝังไว้ในผนัง และฝ้าเพดาน ทำให้ผนังบ้านมีความเรียบไปทั้งผืนไม่มีสายไฟ และไม่มีท่อสายไฟให้เห็น


จุดเด่นของการเดินสายไฟแบบฝัง

4_การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเล

จุดเด่นที่สำคัญประการแรกคือความสวยงาม และในส่วนของคุณภาพ ในกรณีที่ช่างทำงานได้อย่างเรียบร้อย มีมาตรฐาน ก็จะมีความทนทานในการใช้งานยาวนานนับสิบปี ปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้ารั่วไหล และเหมาะมากกับบ้านที่เลือกใช้ผนังเบา เพราะขั้นตอนในการติดตั้งจะมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก เนื่องจากว่าผนังชนิดนี้ภายในจะมีโครงที่ทำให้เดินสายไฟได้ง่าย สามารถติดตั้งท่อร้อยสายไฟระหว่างติดตั้งโครงคร่าว ๆ ได้เลย


สิ่งที่ควรพิจารณา การเดินสายไฟแบบฝัง

5_การเดินไฟแบบฝังผนัง และ การเดินลอย ควรเล

ในกรณีที่บ้านของคุณเป็นผนังก่ออิฐ การซ่อนสายไฟไว้ในผนังอิฐเป็นเรื่องที่ทำได้แต่ว่ายุ่งยาก ดังนั้นต้องวางแผนการก่อสร้างเป็นอย่างดี และต้องใช้ช่างผู้ชำนาญเท่านั้น ในกรณีที่คุณเลือกการเดินสายไฟในรูปแบบนี้ แนะนำว่าควรที่จะต้องเช็กงาน และตรวจตราระหว่างการฝั่งสายไฟอย่างต่อเนื่องด้วยตนเอง

เพราะในกรณีที่คุณจ้างช่างที่ไม่มีความเป็นมืออาชีพ หรือทำงานอย่างชุ่ย ๆ ก็อาจจะมีการฝังสายไฟไว้แบบมักง่าย และไม่มีการเดินท่อร้อยสายไฟอย่างเหมาะสม ซึ่งก็จะเป็นเหตุให้ทำให้ไฟรั่วง่ายไฟช็อตง่าย และจะส่งผลอันตรายต่อการใช้งานอย่างแน่นอน และอีกหนึ่งข้อเสีย ที่คุณจะต้องทำความรู้จักก่อนที่จะตัดสินใจเลือกการเดินสายไฟประเภทนี้ก็คือ สายไฟอาจเกิดการชำรุดในจุดที่มองไม่เห็นได้ ดังนั้นการซ้อมสายไฟชำรุดที่ซ่อนอยู่ในผนังครั้งหนึ่งจะต้องใช้แรงงานอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

สุดท้ายนี้ การที่คุณจะตัดสินใจว่า จะเลือกเดินสายไฟแบบฝังผนังหรือการเดินลอย ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณความสวยงามการออกแบบบ้าน และความต้องการของคุณ ซึ่งทั้ง 2 วิธีที่เรานำมาแนะนำนี้ ก็มีข้อดีและมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นคุณควรที่จะต้องศึกษาระบบการทำงานเพิ่มเติมอีกสักนิด และต้องเลือกช่างไฟฟ้าที่มีคุณภาพไว้ใจได้ ทำงานอย่างเป็นระเบียบและใส่ใจในทุกขั้นตอน ซึ่งนอกจากการเดินสายไฟของคุณจะมีความสวยงามแล้ว ก็ยังมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัย การใช้งานที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคตอีกด้วย


ผนังสมาร์ทบอร์ด คืออะไร และมีคุณสมบัติอย่างไร

การใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์ในการทำผนังสมาร์ทบอร์ดในบ้านรุ่นใหม่นั้นมีข้อดีเช่น ความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี กันเสียงได้ดี ทนต่อสภาวะอากาศที่ผันแปรตลอดเวลา และความปลอดภัยจากเหตุการณ์ต่างๆ เช่น ขโมย และเพลิงไหม้ สำหรับการเลือกใช้วัสดุในการก่อสร้างผนังบ้านมีข้อเปรียบเทียบระหว่าง “ผนังสมาร์ทบอร์ด” และ “อิฐ” โดยการใช้ผนังสมาร์ทบอร์ดจะช่วยลดการใช้แรงงานช่างที่มีฝีมือ แต่การใช้อิฐจะต้องอาศัยแรงงานช่างที่มีฝีมือ และยังมีข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกวัสดุในการก่อสร้างผนังบ้านประเภทอิฐ โดยจะเปรียบเทียบระหว่างอิฐมอญ หรือ อิฐคอนกรีต รวมถึงวิธีดูแลผนังบ้านอย่างไรไม่ให้ขึ้นรา โดยคุณสมบัติของผนังสมาร์ทบอร์ด ก็จะมีดังนี้

1. มีความทน และแข็งแรง

การก่อผนังด้วยอิฐสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าการใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ด และสามารถรองรับน้ำหนักของเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน หรือของที่จะนำมาแขวนผนังได้ โดยไม่ต้องกังวลว่าจะทำให้ตกหล่นลงมา น้ำหนักต่อจุดที่ผนังก่ออิฐจะสามารถรับได้อยู่ที่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ในขณะที่การแขวนของบนผนังสมาร์ทบอร์ดสามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุดถึง 80 กิโลกรัมต่อจุด โดยใช้พุกพลาสติกผีเสื้อ PT-13 ควบคู่กับตะปูเกลียว

2. เก็บเสียงรบกวนได้ดี

ในการกั้นห้องภายในทั่วไปควรมีค่า STC 38-40 โดยใช้แผ่นสมาร์ทบอร์ดหนา 8 มม.จะมีค่า STC 39 แต่หากใช้ผนังก่ออิฐมอญครึ่งแผ่นฉาบปูนสองด้าน ค่า STC จะอยู่ที่ 38 ซึ่งนับว่าเป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติในการเก็บเสียงได้ดีอีก 1 ชนิด


วิธีการซ่อมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

ระบบไฟฟ้าภายในบ้านเป็นสิ่งจำเป็นที่ควรใส่ใจ เนื่องจากเมื่อใช้อุปกรณ์ไฟฟ้านานๆ จะเกิดการชำรุดเสียหายได้ง่าย และอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้หรือทรัพย์สิน ดังนั้นควรดูแลรักษาระบบไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด และเพื่อให้เจ้าของบ้านได้รับความรู้ในการซ่อมแซมพวกไฟฟ้าภายในบ้านที่ถูกต้อง และนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง และช่วยเหลือผู้อื่น มีแนวทางในการตรวจสอบและซ่อมแซมระบบไฟฟ้า โดยวิธีการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าเบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้

  • วิธีซ่อมสายไฟขาด : กรณีพบสายไฟขาดหรือฉีกขาดให้ทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสายไฟใหม่ โดยการต่อให้ถูกวิธีและตรวจสอบแน่นหนา เพราะการใช้สายไฟเก่าเสี่ยงต่อการเกิดสายไฟช๊อตหรือเส้นทองแดงภายในมีการฉีกขาดได้
  • วิธีซ่อมหลอดไฟ : หากหลอดไฟไม่ติดหรือดับ อาจมาจากหลอดขาด ให้เปลี่ยนหลอดใหม่ แต่ถ้าหลอดไม่ขาด ตรวจสอบสวิทช์ไฟว่าเสีย สายขาด หรือวงจรลัด หากไม่เกิดจากสาเหตุเหล่านี้ ให้เช็ควงจรและไล่สายใหม่อีกครั้ง
  • วิธีซ่อมปลั๊กไฟหรือเต้ารับ : ถ้าปลั๊กหรือเต้ารับไม่มีไฟ อาจเกิดจากสายข้างในขาดหรือการลัดวงจร ตรวจสอบแล้วถ้าพบให้ต่อวงจรใหม่ แต่ถ้าไม่ใช่ ควรตรวจสอบคัทเอ้าท์และฟิวส์ที่แผงควบคุม เพราะอาจเป็นที่ฟิวส์ขาด หรือถ้าใช้เป็นเซอร์กิตเบรคเกอร์ก็ลองสับสวิทช์ดูใหม่

การตัดสินใจเดินสายไฟในบ้าน ควรพิจารณาความปลอดภัย การใช้งาน การดูแลรักษา และทัศนียภาพที่สวยงาม โดยมี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ให้เลือกคือการเดินไฟแบบฝังผนัง และการเดินไฟแบบเดินลอย เคยคุณสมบัติของการเดินสายไฟทั้งสองชนิดนี้จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป แต่หากมองในเรื่องของความสวยงามแล้วการเดินสายไฟแบบฝังผนังนั้นจะมีความสวยงามมากกว่ากันกระแสไฟแบบลอย แต่ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งอยู่ที่สไตล์ในการตกแต่งบ้านสำหรับการเดินสายไฟแบบลอยก็สามารถตกแต่งให้สวยได้ด้วยเช่นกัน หากจัดวางให้ดีหรือใช้ท่อเหล็กในการเดินสายไฟและเป็นการวางท่อสายไฟแบบรอยในบริเวณที่มีการเปลือยปูน ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะควรทำตั้งแต่การเริ่มต้นงานก่อสร้างทั้งระบบไฟฟ้าไปจนถึงระบบการก่อผนัง โดยการเดินสายไฟแบบผังผนังก็จะมีการวางวงจรไว้ภายในบริเวณผนังซึ่งจะมีการกำกับจุดไว้สำหรับการแก้ไข เมื่อเกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save