บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ July 25, 2023

การสร้างบ้าน ในปัจจุบันนี้มีการพัฒนาก้าวหน้ามากขึ้นไปสู่ยุคแห่งเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เปลี่ยนจากระบบปูนฉาบก่ออิฐมาสู่ขั้นตอนการสร้างบ้านรูปแบบใหม่ “บ้านระบบสำเร็จรูป” แต่เทคนิคแบบนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ เพราะในต่างประเทศนั้นมีการใช้มาเป็นระยะเวลากว่า 100 ปีแล้วในขณะที่ประเทศไทยเพิ่งจะมีการนำมาใช้เมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วนี่เอง ด้วยสาเหตุที่หันมาใช้โครงสร้างบ้านระบบนี้ คือจะได้ลดค่าใช้จ่าย ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว ชิ้นงานมีคุณภาพมาตรฐาน หากคุณศึกษาขั้นตอนในการสร้างบ้านเองคุณก็อาจจะได้พบกับรูปแบบบ้านใหม่ ๆ ที่โดนใจมากขึ้นได้

ส่วนระบบบ้านสำเร็จรูปมีอยู่ด้วยกัน 6 แบบ ซึ่งบางแบบอาจจะยังไม่ได้นำมาใช้ในประเทศไทย แต่เป็นที่นิยมในต่างประเทศ คือ


1. การสร้างบ้าน ระบบ Precast (พรีคาสท์)

การสร้างบ้าน ระบบ Precast (พรีคาสท์)

คือการนำเอาชิ้นส่วนที่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปมาประกอบเป็นชิ้นส่วนหรือติดตั้งเป็นชิ้นงานขึ้นเป็นรูปร่างบ้าน โดยในประเทศไทยที่นิยมกันมากที่สุดจะเป็นระบบ Precast (พรีคาสท์) มีทั้งแบบที่หล่อผลิตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปบริเวณที่ไซต์งาน ซึ่งจะเรียกว่าแบบหล่อกับที่ (Site Cast) และหล่อสำเร็จมาจากโรงงาน (Plant Cast) ดังนั้นการที่จะเลือกรูปแบบใดก็อยู่ที่ความเหมาะสมของลักษณะหน้างานก่อสร้างเป็นหลัก การสร้างบ้านด้วยระบบพรีคาสท์จะใช้หลักการที่สำคัญคือไม่มีเสา ไม่มีคาน แต่จะใช้เป็นระบบโครงสร้างผนังให้ขึ้นมารองรับน้ำหนักแทน และการผลิตผนังสำเร็จรูปก็มีหลากหลายรูปแบบ เช่น ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูปธรรมดา, ผนังคอนกรีตเสริมเหล็กรูปแบบแซนด์วิชที่ต้องเว้นช่องไว้สำหรับใช้เทคอนกรีตเชื่อมกันเป็นต้น


2. การสร้างบ้าน ระบบ Prefab (พรีแฟบ)

การสร้างบ้าน ระบบ Prefab (พรีแฟบ)

เป็นการใช้ระบบการก่อสร้างที่แยกออกมาเป็นระบบย่อยๆ นำมาผลิตนอกไซต์งานก่อสร้างแล้วนำกลับไปประกอบขึ้นที่ไซต์งานก่อสร้างในภายหลัง ซึ่งในระบบนี้จะไม่มีข้อจำกัดที่จะใช้เป็นวัสดุประเภทใด แต่โดยส่วนมากจะนิยมใช้เป็นไม้หรือเหล็ก


3. การสร้างบ้านระบบ Balloon Frame (โคร่งคร่าวรวม)

การสร้างบ้านระบบ Balloon Frame (โคร่งคร่าวรวม)

คือการนำใช้เหล็กรูปหรือไม้เนื้อแข็งมาประกอบขึ้นเป็นโครงข้อแข็งด้วยการใช้โครงคร่าวเป็นตัวอาคารก่อน หลังจากนั้นจึงติดไม้ฝาหรือเป็นแผ่นซีเมนต์เข้าไปทั้ง 2 ด้าน เพื่อที่จะได้บังซ่อนโครงหรือการใช้แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์เพื่อจะได้ช่วยบังโครงคร่าวให้ดูสวยงามขึ้น


4. การสร้างบ้าน ระบบ Framing Walls (โครงคร่าวแยกเป็นผนังทีละผืน)

การสร้างบ้าน ระบบ Framing Walls

การก่อสร้างรูปแบบนี้จะเป็นการใช้เหล็กรูปหรือเป็นไม้เนื้อแข็งประกอบเข้าเป็นโครงสร้างถัก (Truss) เมื่อได้โครงแล้วก็ใส่แผ่นไฟเบอร์ซีเมนต์เข้าไปประกบทั้ง 2 ฝั่ง ให้เป็นผนัง 1 ผืน พอไปถึงหน้างานก็นำผนังแต่ละผืนมาประกบเข้าด้วยกันจนเป็นห้องหรืออาคาร ด้วยการใช้การเชื่อมต่อโดยโลหะก็จะได้ห้องที่สมบูรณ์แบบขึ้น


5. การสร้างบ้าน ระบบ Modular (โมดูลาร์)

การสร้างบ้าน ระบบ Modular

เป็นวิธีการก่อสร้างบ้านด้วยการแยกสร้างเป็น Module หลายๆยูนิต ซึ่งสามารถที่จะสร้างพร้อมตกแต่งเสร็จ 100% เลยก็ได้ แล้วถึงค่อยนำแต่ละยูนิตไปประกอบรวมเข้าด้วยกันจนสมบูรณ์ หรือบางวิธีจะใช้เป็นการสร้าง โครงข้อแข็งสมบูรณ์ ขึ้นมาทีละโมดูลแล้วจึงค่อยนำมาประกอบร่วมกันเป็นโครงสร้างอาคารที่ได้ขนาดจริง เมื่อเรียบร้อยหมดแล้วจึงปิดผิว-ตกแต่งในภายหลัง


6. การสร้างบ้านบ้านทรงไทย

การสร้างบ้านบ้านทรงไทย

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมคะว่าบ้านทรงไทยของเรา ก็เป็นการสร้างบ้านด้วยรูปแบบพรีแฟบอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยโบร่ำโบราณ ด้วยการผลิตชิ้นส่วนอย่างเช่น จั่ว, เสา, คาน, ฝาบ้าน แล้วถึงนำมาประกอบกันโดยการใช้วิธีขัดร่วมกับระบบลิ่มให้ขึ้นเป็นโครงบ้านที่สวยงามและคงคุณค่า

ดังนั้นหากเราเปรียบเทียบบ้านที่สร้างด้วยระบบพรีคาสท์ทั้งสองแบบ ผู้เชี่ยวชาญได้ให้ความเห็นไว้ว่าบ้านที่หล่อแล้วจึงเทคอนกรีตเพื่อเชื่อมให้เป็นเนื้อเดียวกันจะมีความแข็งแรงกว่าแบบพรีคาส์ทที่หล่อจากโรงงาน แต่พรีคาสท์ที่หล่อสำเร็จมาจากโรงงานจะมีประโยชน์เรื่องความรวดเร็วและควบคุมมาตรฐานการผลิตได้ดีกว่า ทั้งนี้ไม่ว่าการจะก่อสร้างด้วยระบบพรีคาส์ทหรือแบบไหนก็ย่อมมีความแตกต่างเรื่องของการเชื่อมต่อของชิ้นงานแต่ละชิ้น บางพื้นที่อาจจะใช้การเชื่อมต่อด้วยคอนกรีต, ซิลิโคลน, แบบล็อคได้ในตัว หรือแผ่นคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดเข้าลิ้น เป็นต้น


นวัตกรรมและเทคโนโลยีสร้างบ้านใหม่ในสมัยใหม่

บ้านเป็นที่พักอันสำคัญที่ทุกคนต้องการให้มีความสะดวกสบาย เป็นที่อยู่อันปลอดภัย และน่าอยู่ให้กับครอบครัว ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาการสร้างบ้านได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผู้สร้างบ้านและนักออกแบบได้นำเอานวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการสร้างบ้านเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บ้านที่หลากหลาย และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง ต่อไปมาดูกันว่านวัตกรรมและโครงสร้างบ้านที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยในการเลือกใช้วัสดุในกระบวนการสร้างบ้านใหม่จะมีอะไรบ้าง รวมถึงคุณจะได้เรียนรู้ถึงกระบวนการและขั้นตอนที่สำคัญในการสร้างบ้านใหม่ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับกระบวนการสร้างบ้านในอดีต ซึ่งอาจมีผลทั้งในเรื่องของความรวดเร็ว ความปลอดภัยได้


โครงสร้างบ้านที่นิยมใช้ในไทย

บ้านเป็นเหมือนร่างกายของมนุษย์ที่มีโครงสร้างเป็นโครงกระดูกที่รองรับส่วนต่าง ๆ อยู่ด้วยกัน โดยโครงสร้างบ้าน เสา และคานนั้นมีหลากหลายประเภท แต่ในปัจจุบัน โครงสร้างไม้, เหล็ก และคอนกรีตเสริมเหล็ก คือที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากแต่ละประเภทนั้นมีคุณสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. โครงสร้างไม้: การหาไม้ที่เหมาะสมสำหรับการสร้างโครงสร้างไม้เป็นสิ่งที่ยากขึ้น เพราะราคาของไม้ที่สูงขึ้นและความยากลำบากในการบำรุงรักษา ทำให้ไม้ถูกนำมาใช้ในการสร้างบ้านน้อยลง
  2. โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.): คอนกรีตเป็นวัสดุก่อสร้างที่ประกอบด้วยปูนซีเมนต์, หิน, กรวดหรือทราย และน้ำ แต่การรับแรงดึงของคอนกรีตนั้นต่ำ ทำให้ต้องใช้เหล็กเสริมเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรงดึง ค.ส.ล. ได้รับความนิยมในประเทศไทย เนื่องจากมีสถาปนิกและวิศวกรที่มีความชำนาญ และช่างก่อสร้างที่ถนัดงานก่อสร้างด้วยคอนกรีต อย่างไรก็ตาม คอนกรีตต้องใช้เวลาในการก่อสร้างและเทคอนกรีตให้มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งนั่นเป็นข้อเสียของโครงสร้างนี้
  3. โครงสร้างเหล็ก: การใช้เหล็กในการสร้างบ้านมีข้อดีเช่น การผลิตที่มีมาตรฐานและระยะเวลาในการก่อสร้างที่สั้นกว่า โครงสร้าง ค.ส.ล. แต่ก็ต้องมีการตรวจสอบและการป้องกันเหล็กจากการสนิม ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและป้องกัน และเมื่อเทียบกับราคาการสร้างโครงสร้างเหล็กอาจจะมีราคาสูงกว่า โครงสร้าง ค.ส.ล. ในบางครั้ง

กระบวนการและขั้นตอนในการสร้างบ้านใหม่ สู่การประสบความสำเร็จของการสร้างบ้านในฝัน

การสร้างบ้านใหม่เป็นความฝันที่หลายคนหวังว่าจะทำให้เป็นจริง แต่มันจะต้องไปผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนและขั้นตอนหลากหลาย ทั้งนี้ต้องอาศัยการร่วมมือระหว่างเจ้าของบ้านและผู้เกี่ยวข้องหลายคน เพื่อให้การสร้างบ้านสามารถดำเนินตามแบบที่ต้องการได้ มาดูกันว่าขั้นตอนในการสร้างบ้านเองเป็นอย่างไร

  • การออกแบบบ้าน
    การออกแบบบ้านนั้นเริ่มด้วยการรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างแบบแปลนที่ตรงกับสไตล์และความต้องการของเจ้าของบ้านในระดับสูงสุด นอกจากนี้ สถาปนิกยังมีบทบาทในการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง และช่วยประมาณงบประมาณการก่อสร้างให้เข้ากับงบประมาณที่เจ้าของบ้านกำหนดไว้
  • การขออนุญาตปลูกสร้างบ้าน
    การขออนุญาตปลูกสร้างบ้านในประเทศไทย คุณสามารถยื่นคำขอด้วยตัวเองหรือมอบหมายให้สถาปนิกไปยื่นให้ก็ได้ ถ้ามีการแก้ไขใด ๆ สถาปนิกจะช่วยในการประสานงานเพื่อทำการแก้ไขให้เร็วและเป็นที่ต้องการของเจ้าของบ้าน ซึ่งจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้
  • การก่อสร้างบ้าน
    ในการก่อสร้างบ้าน ควรคัดเลือกบริษัทหรือผู้รับเหมาที่มีประวัติด้านคุณภาพงานที่ดี มีความรับผิดชอบ และไม่เคยปล่อยงานล้มละลาย สถาปนิกอาจช่วยในการคัดเลือก และหากมีทีมงานของเจ้าของบ้านจะทำให้การติดต่อประสานงานเป็นไปอย่างง่าย
  • การสร้างบ้านและการรับมอบบ้าน
    เจ้าของบ้านควรขอสถาปนิกมาร่วมตรวจรับบ้านพร้อมกับบริษัทรับสร้างบ้านหรือผู้รับเหมาเพื่อค้นหาและแก้ไขจุดบกพร่องที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ คุณยังสามารถจ้างบริษัทที่มีความชำนาญในการตรวจบ้านก่อนการรับมอบบ้านได้เช่นกัน สำหรับการติดตั้งมิเตอร์น้ำและไฟควรขอตั้งแต่ช่วงก่อสร้างบ้านใหม่ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินการ

การสร้างบ้านในเมืองไทยนั้นถึงแม้ว่าจะมีการนำระบบพรีคาสท์เข้ามาใช้แต่ก็ยังได้ไม่ถึง 100% จะใช้การสร้างแบบซ่อนรูปเสียมากกว่า โดยเฉพาะรูปของบ้านที่ต้องมีบัว, คิ้ว, หรือเชิงชาย ถ้ามองในความเป็นจริงก็ไม่ค่อยมีความจำเป็นเสียเท่าไหร่ เพราะนอกจากส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นถึง 40% แล้ว ยังเป็นแหล่งอาศัยของปลวกชั้นดี เมื่อเทียบกับบ้านผนังเรียบๆสไตล์บ้านโมเดิร์นที่ให้ความสวยงามโล่งตามากกว่า จึงสามารถสรุปได้ว่าการสร้างบ้านด้วยนวัตกรรมใหม่แบบพรีคาสท์ เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาแรงงานขาดแคลน รวมทั้งคุณภาพของแรงงานที่นับวันยิ่งหาผู้รับเหมาที่มีฝีมือได้น้อยเต็มที นอกจากนี้ยังช่วยตัดปัญหาเรื่องโครงสร้างที่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของการสร้างบ้าน ทั้งนี้การที่คุณจะตัดสินใจเลือกซื้อบ้านในรูปแบบใดก็ตามคุณควรตรวจสอบและเปรียบเทียบวิธีการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง และศึกษาขั้นตอนให้ดีก่อนเพื่อให้ได้บ้านตามที่ตรงกับความต้องการให้ได้มากที่สุด

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save