บทความอัพเดทล่าสุดเมื่อ October 26, 2023

กระเบื้องปูพื้นห้องน้ำ หลุดล่อนแก้ง่าย ๆ ได้ไม่ยาก

กระเบื้องปูพื้นห้องน้ำ  ลุดล่อนนูนออกมา เป็นปัญหาที่หลายบ้านกำลังประสบปัญหาอยู่ สาเหตุหลักๆเกิดจากกระเบื้องโดนแรงอัด แรงกระแทกอย่างรุนแรงจนแตก ร้าว ส่งผลให้หลุดล่อนในภายหลัง หรือมาจากความชื้นของคอนกรีตที่อยู่ใต้แผ่นกระเบื้อง ความชื้นจากใต้ดิน รวมทั้งปัญหาการรั่วซึมจากผนังซึมไปที่พื้น ปัญหาคราบสกปรกต่างๆที่สะสมกันมาเป็นเวลานนานจนทำให้ยาแนวกระเบื้องหลุดลอกออก หลังจากนั้นคราบสกปรกที่ฝังตามขอบกระเบื้องจะเกิดเป็นเชื้อราดำๆ ทำให

ในความเป็นจริงแล้วปัญหาที่เกิดจากความชื้นเรามีวิธีป้องกันกันตั้งแต่เริ่มก่อสร้างหรือก่อนที่จะทำการปูกระเบื้องคือ ทาน้ำยากันซึมพื้นคอนกรีตกันน้ำ น้ำยาจะช่วยกันความชื้นไม่ให้ขึ้นมาบนพื้นคอนกรีตที่อยู่ใต้แผ่นกระเบื้อง ก่อนที่จะทำการปูกระเบื้องทับลงไปแต่ถ้าเราไม่ได้ทำการป้องกันไว้ตั้งแต่เบื้องต้น ก็มีวิธีแก้ไขปัญหากระเบื้องหลุด กระเบื้องล่อนได้อีกถึง 2 วิธี คือ

1.ปูทับกระเบื้องเดิม

ปูทับกระเบื้องเดิม

ถ้าปัญหาของกระเบื้องแตกร้าวมาจากการถูกกระแทกไม่เกี่ยวกับการรั่วซึมหรือความชื้น แล้วเราไม่อยากที่จะต้องมาเสียเวลาทุบกระเบื้องเก่าออกทั้งหมด เราก็สามารถเลือกวิธีซ่อมแซมบ้านด้วยการปูกระเบื้องทับของเดิมไปได้เลย แต่ก่อนที่จะเริ่มปูควรที่ต้องทำความสะอาด ขัดพื้นให้สะอาดมากที่สุดเสียก่อน แล้วต้องพยายามกวาดไล่น้ำไม่ให้มีน้ำขังหลงเหลืออยู่ ตากพื้นไว้ให้แห้งรอจนกว่าพื้นไม่มีความชื้นค้างอยู่ แล้วทำการเลากระเบื้องที่แตก ร้าว ล่อนออกแล้วเอากระเบื้องแผ่นใหม่ฉาบหลังด้วยกาวซีเมนต์ชนิดที่ระบุว่าใช้ปูทับกระเบื้องเดิม (ซึ่งราคาอาจจะแพงกว่าปูนซีเมนต์ชนิดอื่นประมาณ 4-5 เท่าตัว) ปูทับพื้นเดิมลงไปได้เลย พร้อมทั้งลงยาแนวให้ครบทั้งสี่ด้านเป็นอันเสร็จเรียบร้อยได้กระเบื้องใหม่ดั่งใจของเจ้าของบ้าน การใช้วิธีนี้สะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลา ไม่ต้องไปขนเศษกระเบื้องทิ้ง แต่จะสิ้นเปลืองเสียหน่อย ส่วนใหญ่แล้วการเลือกใช้วิธีนี้จะเป็นบ้านที่ไม่สามารถหากระเบื้องลายเดิมได้ด้วยเหตุผลโรงงานเลิกผลิตไปแล้ว หรือคนที่อยู่คอนโดมีข้อจำกัดในการใช้เสียงหากเป็นการทุบกระเบื้องแน่นอนว่าเสียงจะต้องดังไปรบกวนคนข้างห้องหรือคนที่อยู่ชั้นล่างได้

2.ปูเฉพาะบางแผ่นที่เป็นปัญหา

ปูเฉพาะบางแผ่นที่เป็นปัญหา

ถ้าหากว่ามีการเก็บกระเบื้องสำรองหรือว่าหากระเบื้องลายเดิมที่ใช้อยู่ได้ ก็อาจจะเลือกเปลี่ยนเฉพาะแผ่นที่แตก ร้าว มีปัญหาเท่านั้น จะได้ทำให้พื้นของเราไม่กระโดดลวดลายออกไปจากพื้นที่พื้นทั้งหมด ส่วนวิธีการก็คือสกัดเอาแผ่นที่แตก ร้าวออกแล้วปูกระเบื้องแผ่นใหม่ลงไปทดแทนของเดิม  ถ้าเลือกวิธีนี้จะใช้เวลาซ่อมค่อนข้างนานกว่าวิธีแรก เพราะต้องค่อยๆทำการสกัดเอากระเบื้องที่เกิดปัญหาออกจนหมด ถึงจะเริ่มปูกระเบื้องแผ่นใหม่เข้าไปแทนได้ มีขั้นตอนรายละเอียดปลีกย่อยเยอะกว่า ที่สำคัญจะต้องหาช่างที่มีฝีมือและชำนาญการเข้ามาซ่อมแซม เพราะถ้าช่างไม่มีความชำนาญเป็นไปได้ว่าการปูพื้นอาจจะไม่เรียบเสมอกันกับแผ่นอื่นๆ


วิธีการซ่อมแซมกระเบื้องบางแผ่นที่ชำรุดที่ช่างนิยมทำ

เริ่มแรก ช่างจะทำการขูดปูนยาแนวรอบขอบกระเบื้องที่แตกร้าว ออกทั้งหมดก่อนที่จะนำเครื่องเจียร์(ใส่ใบตัดกระเบื้อง) มาตัดกระเบื้องให้ขาดเป็นแนวรอบ ห่างจากขอบกระเบื้องไปประมาณ 1 นิ้วเพื่อไม่ให้เครื่องเจียร์สกัดไปกระแทกโดนแผ่นอื่น แล้วจะทำให้สกัดได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นก็ใช้ค้อน เหล็กสกัด ค่อยๆสกัดแผ่นกระเบื้องออกจนหมด แล้วทำการสกัดพื้นเดิมให้ลึกลงไปอีกประมาณ 2 มม. เพื่อให้กาวซีเมนต์ยึดเกาะได้ แล้วค่อยทำความสะอาดพื้นผิวที่จะติดกระเบื้องให้สะอาด

เมื่อทำความสะอาดพื้นผิวเสร็จแล้ว ให้ใช้การซีเมนต์ที่เหมาะสมสำหรับติดกระเบื้องทาไปบริเวณด้านหลังแผ่นกระเบื้องจนเต็มแล้วปูกระเบื้องแผ่นใหม่กลับเข้าไปที่เดิม ต้องออกแรงกดเพียงเล็กน้อย เพื่อที่กระเบื้องจะได้ยึดเกาะได้แน่นๆจากนั้นก็ลองตรวจดูระดับของพื้นให้แนวขอบกระเบื้องเท่ากับกระเบื้องแผ่นอื่นๆ

วิธีการซ่อมแซมกระเบื้องบางแผ่นที่ชำรุดที่ช่างนิยมทำ

หากกระเบื้องแผ่นใหม่ปูไม่ได้ระดับกับกระเบื้องแผ่นเดิม อาจจะสูงกว่าของเดิมก็ให้ใช้ค้อนยางตอกเข้าไปเบาๆ เพื่อจะได้ช่วยป้องกันไม่ให้ผิวหน้ากระเบื้องเป็นรอยระหว่างช่วงที่ตอกอยู่ก็ใช้เป็นผ้าหนาๆมารองอีกชั้นหนึ่ง จากนั้นก็รอกาวซีเมนต์ที่ทาไว้หลังแผ่นกระเบื้องแห้งสนิทดีเสียก่อน แล้วค่อยลงมือยาแนวกระเบื้องกัน ช่วงเวลาที่ยาแนวต้องแน่ใจด้วยว่ายาแนวลงไปตามร่องกระเบื้องจนครบทั้งสี่ด้าน และลงไปจนลึกสุด จะได้ไปช่วยให้ยึดเกาะตัวกระเบื้องได้อีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้โดยประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงค่อยๆนำฟองน้ำมาชุบน้ำหมาดๆ เช็คไปตามคราบยาแนวที่อาจจะเกินออกมานอกกระเบื้องอีกครั้ง เมื่อแน่ใจว่าเก็บร่องรอยยาแนวได้หมดแล้วก็นำผ้าแห้งมาเช็ดซ้ำอีกครั้งเป็นการเก็บรายละเอียดความสวยงาม

การเลือกวิธีสำหรับแก้ไขปัญหากระเบื้องแตก ร้าว หลุดล่อน ก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของหน้างานแต่ละบ้านด้วย เพราะบางบ้านอาจจะเลือกใช้วิธีนี้ดีกว่าอีกวิธีนี้หนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ถ้าพบเจอก็ควรต้องรีบดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมทันที หากปล่อยไว้นานแทนที่จะเสียหรือซ่อมเพียงเล็กน้อยปัญหาอาจจะลุกลามจนกลายเป็นเรื่องใหญ่โต แล้วตัวเจ้าของบ้านเองก็จะต้องมานั่งแก้ปัญหาปวดหัวกวนใจ เสียทั้งเงิน และเวลาในการซ่อมแซมออกไปอีกซึ่งถ้าเทียบดูแล้วไม่คุ้มเลยกับการปล่อยทิ้งเอาไว้คะ เข้าทำนอง “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” นั่นเอง


แนะนำวิธีการปูกระเบื้อง และวิธีซ่อมกระเบื้องด้วยตัวเอง

การซ่อมแซมกระเบื้องที่แตกหรือหลุดร่อนออกมาเป็นเรื่องที่สำคัญในการสร้างบ้าน หากไม่รีบแก้ไขอาจทำให้แผ่นอื่นๆแตกร้าวตามไปด้วย แต่สามารถซ่อมแซมด้วยตนเองได้ โดยต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมก่อนเพื่อไม่ให้เกิดการติดขัดระหว่างซ่อมแซม และเมื่อต้องการซ่อมกระเบื้องขั้นตอนการปูกระเบื้องเองก็สามารถทได้ด้วยการเตรียมอุปกรดังนี้ ตรียมเทปกาว, กระเบื้องที่เหมือนกับกระเบื้องชำรุด, ตะปู, ค้อน, สิ่ว, ปูนซีเมนต์, ทราย, เกียงสำหรับโบกปูน, และปูนยาแนวไว้ก่อนเริ่มซ่อมหรือปูกระเบื้อง สำหรับวิธีการเบื้องต้นในการซ่อมกระเบื้องหน่อยครับตัวกระเบื้องก็จะมีดังนี้

  • ใช้เทปกาวแปะบนแผ่นกระเบื้องเพื่อป้องกันไม่ให้แตกร้าวและชำรุด ยกเว้นบริเวณขอบปูนและแผ่นกระเบื้องที่ต้องการซ่อมแซม
  • ในการซ่อมแซมกระเบื้องที่ชำรุด ให้นำปลายตะปูวางลงไปบริเวณกลางแผ่นกระเบื้อง แล้วใช้ค้อนทุบให้กระเบื้องแตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการนำกระเบื้องที่ชำรุดออกมา
  • การแซะกระเบื้องโดยใช้สิ่ว โดยวางสิ่วให้ทำมุมกับพื้นให้ได้ประมาณ 45 องศา และทุบหัวสิ่วลงบนกระเบื้องเพื่อแซะกระเบื้องและปูนเก่าๆออกจนถึงพื้นจริง
  • ในการเตรียมปูนที่จะใช้ปูกระเบื้อง ควรผสมปูนและทรายในอัตรา 1 ต่อ 2 ส่วน โดยไม่ควรผสมปูนเยอะเกินไปเพราะจะทำให้ปูนแข็งตัวเร็วกว่าเวลาที่ใช้ปูนได้ และไม่จำเป็นต้องผสมเยอะจนเกินไปเมื่อตัวกระเบื้องที่ใช้ปูไม่มากนัก

เทคนิคการเลือกกระเบื้องให้เหมาะกับพื้นบ้าน

การเลือกกระเบื้องเป็นส่วนสำคัญของการปูพื้นห้องในบ้าน โดยมีข้อดีคือสามารถทำความสะอาดได้ง่าย หาซื้อได้ไม่ยาก และเปลี่ยนแผ่นได้สะดวก ดังนั้นเราจึงแนะนำเทคนิคการเลือกกระเบื้องให้เข้ากับบ้านอย่างลงตัว ในการเลือกกระเบื้องปูพื้นนอกควรตรวจสอบมาตรฐานของกระเบื้องว่ามีร่องรอยหรือตำหนิ และมีสีเรียบเสมอกันหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้พื้นภายในห้องดูไม่สวยงาม และควรซื้อเพื่อสำรองไว้ด้วยกรณีที่กระเบื้องมีตำหนิหรือว่าชำรุดเสียหายระหว่าการปู และเผื่อต้องมาทำการซ่อมแซมในภายหลัง โดยกระเบื้องก็จะมีให้เลือกอยู่หลายแบบด้วยกันรวมถึงคุณสมบัติของกระเบื้องแต่ละชนิดก็มีแตกต่างกันด้วย ซึ่งจะมีกระเบื้องแบบไหนบ้างที่เหมาะกับบ้านของคุณ ดูได้จากด้านล่างนี้เลย

1. กระเบื้องหนา

เพื่อรองรับน้ำหนักจากการเดินเหยียบได้มากขึ้น ควรใช้กระเบื้องปูพื้นที่หนากว่ากระเบื้องปูผนัง และกระเบื้องที่ใช้ปูบนพื้นผิวควรมีความสากเสียเล็กน้อยหรือเคลือบด้านเพื่อป้องกันการลื่นไถลเวลาเดิน

2. เลือกขนาดของกระเบื้อง

การเลือกกระเบื้องปูพื้นให้เหมาะสมกับการใช้งานในแต่ละห้องเป็นสิ่งจำเป็น เช่น กระเบื้องขนาด 12 x 12 ตารางนิ้วเหมาะสำหรับห้องโถง แต่ในห้องน้ำควรเลือกขนาดเล็กลงเพื่อเพิ่มความถี่และลดอุบัติเหตุการลื่นไถล

3. การเลือกสีของกระเบื้อง

การใช้กระเบื้องสีโทนอ่อนในการปูพื้นภายในอาคารจะทำให้ห้องเล็กๆดูกว้างขึ้น แต่หากนำไปใช้ภายนอกอาคาร กระเบื้องจะเสียง่ายจากแสงแดด ลม และฝน และเกิดริ้วรอยด่างดำขึ้นได้ง่าย ทำให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค และสำหรับสีที่เหมาะสำหรับการปูพื้นที่ภายนอกอาคารที่ต้องโดนแดดและฝนบ่อยๆ หรือในพื้นที่ภายในบ้านที่ต้องวางสิ่งของจำนวนมากๆ เช่นห้องครัว โรงรถ ห้องน้ำ ระเบียง เพราะสีเข้มช่วยให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและไม่ต้องทำความสะอาดอีกด้วย


สำหรับการเลือกสีของกระเบื้องหรือการปูกระเบื้องด้วยตัวเองนั้นวิธีการปูกระเบื้องนั้นในปัจจุบันถือว่าสามารถทำได้ง่าย ด้วยอุปกรณ์ที่มีทั้งแบบสำเร็จรูป รวมถึงพื้นกระเบื้องบางชนิดก็ยังสามารถปูได้ทันทีโดยที่ไม่ต้องทากาว พื้นกระเบื้องยาง ซึ่งพื้นกระเบื้องเหล่านี้จะมีให้เลือกหลากหลายแบบด้วยกันโดยจะมีทั้งเกรดดี และเกรดทั่วไป นั่นแล้วสำหรับการเลือกพื้นกระเบื้องหรือการปูพื้นกระเบื้องนั้นไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ภายในบ้าน หรือปูพื้นกระเบื้องห้องน้ำ สิ่งสำคัญเลยก็คือเรื่องของการเลือกแบบกระเบื้องให้เหมาะกับห้องนั้นๆ สำหรับการซ่อมพื้นกระเบื้องเองก็สามารถซ่อมได้ง่ายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมเฉพาะแผนที่มีรอยแตกร้าว หรือในบางครั้งการเปลี่ยนพื้นกระเบื้องนั้นก็สามารถปูทับพื้นกระเบื้องเก่าได้ด้วยเช่นกัน แต่ต้องเลือกเป็นพื้นกระเบื้องยางทั่วไปที่สามารถแปะได้ด้วยกาวแทนกระเบื้องแบบหน้า

Con Mueangsak

เขียนโดย Con Mueangsak

โฟร์แมนเป็นงานประจำ เขียนบทความเกี่ยวกับช่างและงานก่อสร้างเป็นงานเสริม รักการก่อสร้างเป็นชีวิตจิตใจ สนใจติดต่องานก่อสร้างติดต่อในอีเมลได้เลยครับ ผู้เขียนเว็บไซต์ Constructacon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save